Lifestyle

โตโยต้า "ซี-เอชอาร์ ไฮบริด" คล่องตัว สนุก ประหยัด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โตโยต้า "ซี-เอชอาร์ ไฮบริด" คล่องตัว สนุก ประหยัด : คอลัมน์... ยานยนต์

 

 

          โตโยต้า “ซี-เอชอาร์” เพิ่งคว้ารางวัล รถยนต์แห่งปี 2561 จากสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย หรือ สรยท. ไปสดๆ ร้อนๆ เอาชนะเพื่อนๆ ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายอีก 5 คัน คือ มาสด้า ซีเอ็กซ์-5, มิตซูบิชิ เอ็กซ์แพนเดอร์, เอ็มจี แซดเอส, ซูซูกิ สวิฟท์ และ นิสสัน เทอร์ร่า ไปอย่างสนุก

 

 

          ก็ถือว่าเหมาะสม เพราะในความคิดเห็นของผม ใน 6 คันนี้ใครได้ก็ไม่น่าเกลียด เพราะรางวัลนี้มีเพียงคันเดียว ไม่แบ่งแยกย่อย ดังนั้นต้องมองในภาพรวม ทั้งสมรรถนะ ความสามารถในการใช้งาน ราคา หรือความคุ้มค่า เป็นต้น ซึ่งแต่ละคันก็มีส่วนผสมที่ดีทั้งหมด เพียงแต่ ซี-เอชอาร์ อาจจะกลมกล่อมที่สุดในมุมมองของกรรมการตัดสิน


          ซี-เอชอาร์ เป็นที่รู้กันว่า เป็นรถจากผลพวงของโครงการส่งเสริมการผลิตรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งโตโยต้า ยื่นขอ และได้รับอนุมัติเป็นค่ายแรก ก่อนจะผลิตรถและเปิดตลาดเป็นค่ายแรกเช่นกัน ในรูปแบบของรถไฮบริด


          แต่ว่าจริงๆ แล้ว ซี-เอชอาร์ นั้น ผลิตออกมา 3 รุ่นย่อย คือ รุ่นที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1.8 ลิตร 140 แรงม้าที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 175 นิวตันเมตรที่ 4,000 รอบ/นาที ที่มี 2 รุ่นย่อย ส่วน ไฮบริด ที่ใช้เครื่องยนต์ 1.8 ลิตรเช่นกัน แต่คนละรหัส ให้กำลังสูงสุด 98 แรงม้าที่ 5,200 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 142 นิวตันเมตรที่ 3,600 รอบ/นาที และมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ให้กำลัง 72 แรงม้า และแรงบิด 163 นิวตันเมตร เมื่อทำงานร่วมกันได้กำลังสูงสุด 122 แรงม้า ส่งกำลังผ่านเกียร์ อี-ซีวีที

 

          ผมเอา ซี-เอชอาร์ มาลอง ขับแบบใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน มีทั้งใช้ในเมือง และเดินทางต่างจังหวัด เบ็ดเสร็จแล้วมากกว่า 1,100 กม. ดูซิว่ามันเป็นรถที่น่าใช้งานทั่วๆ ไปไหม




          ซึ่งก็ได้คำตอบว่าน่าใช้ครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสะดวก ความคล่องตัว หรือว่าอัตราสิ้นเปลืองก็ตาม


          อย่างเรื่องอัตราสิ้นเปลืองนั้น ตลอดการใช้งานที่หลากหลายรูปแบบทั้งรถติดในกรุงเทพฯ ทั้งใช้ความเร็วในต่างจังหวัด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 19 กม./ลิตร น่าพอใจทีเดียว ซึ่งชุดไฮบริดที่เป็นไฮบริดเจนเนอเรชันที่ 4 พัฒนาการทำงานขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นผลลัพธ์ที่ได้ในเรื่องอัตราสิ้นเปลือง ส่วนหนึ่งมาจากการใช้พลังงานช่วยเหลือในการขับขี่มากขึ้น เป็นผลพวงมาจากการชาร์จกลับเข้าแบตเตอรีที่ทำได้เร็วเมื่อเบรก หรือเมื่อชะลอความเร็ว


          โตโยต้า พัฒนาแบตเตอรี่ นิกเกิล เมทรัล ไฮดราย จากรุ่นก่อนหน้านี้ โดยมันเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้มันมีขนาดที่เล็กลง ซึ่งมีประโยชน์ตามมาคือ การติดตั้งจัดวางที่ไม่รบกวนพื้นที่ห้องโดยสาร และยังทำให้มีน้ำหนักที่ลดลงด้วย ซึ่งก็ช่วยให้ประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น โดยน้ำหนักรวมของรถอยู่ที่1,455 กก. มากกว่ารุ่นเครื่องยนต์เบนซินไม่มากมนัก โดยรุ่นเบนซินน้ำหนัก 1,380-1,385 กก.


          นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงระบบระบายความร้อนให้ระบายได้ดีขึ้น รองรับกับการใช้งานในสภาพอากาศที่ร้อนของเมืองไทย ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้านั้น โตโยต้าบอกว่ากินกำลังไฟน้อยลงจากเดิม650 โวลต์ เหลือ 201.6 โวลต์


          ส่วนการขับขี่ แรงจากเครื่องยนต์กับมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยกันทำงาน ทำให้การออกตัวทำได้ดี ไม่ถึงกับร้อนแรง แต่ก็ขับได้สบายใจ เมื่อต้องเร่งออกจากตรอกซอกซอย หรือว่าเข้า-ออก ทางหลัก ทางขนาน โดยการค่อยๆ กดคันเร่งลงไป อย่างนุ่มนวล ค่อยๆเพิ่มน้ำหนัก เนื่องจากมันใช้เกียร์ ซีวีที ที่ชอบเท้าคนขับที่นุ่มนวลมากกว่า การขับแบบกดคันเร่งหนักๆ หรือ คิกดาวน์ ซีวีที อาจจะไม่ยอมตอบสนองดีนัก

 

          แต่เมื่อขับขี่ไกลๆ มีพื้นที่โล่งๆ อย่างต่างจังหวัด เป็นรถที่นั่งสบาย และขับขี่ได้สนุกครับ การเปลี่ยนความเร็วไม่ว่าจะลด หรือเพิ่มทำได้ลื่นไหล หรือจะทำความเร็วสูงๆ ก็ไม่ยากอะไร


          จุดเด่นอีกสิ่งของ ซี-เอชอาร์ คือ ช่วงล่างที่เกาะถนนดี ให้ความรู้สึกที่ดีกว่าหลายๆ รุ่นก่อนหน้านี้อย่างชัดเจน ทำให้ซี-เอชอาร์ มีการขับขี่ที่โดดเด่นกว่ารุ่นอื่นๆ ก่อนหน้านี้หลายๆ รุ่นครับ

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ