Lifestyle

คลอดบริการ 5จี สะเทือนถึงดาวเทียม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ในส่วนของผู้ให้บริการดาวเทียมทั่วโลก ก็กำลังเตรียมใจกับการแข่งขันบนอวกาศที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคตอันใกล้

          ระหว่างในประเทศไทย กำลังคึกคักรอรับ (การทดสอบ) บริการมือถือ 5จี และโอเปอเรเตอร์ใหญ่ก็เริ่มทยอยประกาศชิงพื้นที่ข่าวกันไปแล้ว แต่ในระดับโลกมีข่าวที่น่าสนใจอย่างมาก และสร้างความแปลกใจอย่างไม่คาดคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง 5จี (ระบบสื่อสารภาคพื้นดิน) และดาวเทียม (ระบบสื่อสารบนท้องฟ้า) โดยเมื่อไม่นานนี้กลุ่มผู้ให้บริการดาวเทียมทั่วโลกประกาศร่วมเป็นพันธมิตร เพื่อการป้องกันการใช้งานแถบความถี่ 3.7-4.2 GHz ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่รู้จักกันในชื่อว่า FCC (Federal Communications Commission) ได้มีมติให้ศึกษาสำหรับบริการ 5จี

          เหตุที่ทำให้ผู้ประกอบการดาวเทียม ซึ่งที่ผ่านมาทำธุรกิจกันอย่างเงียบสงบต้องออกโรงประท้วง และเกิดการรวมกลุ่มในชื่อ The C-Band Alliance หรือ CBA ซึ่งประกอบด้วยผู้ให้บริการดาวเทียมรายใหญ่ Intelsat, SES, Eutelsat และ Telesat เพราะปัจจุบันคลื่นความถี่ย่านดักงกล่าง ตรงกับคลื่นความถี่สำหรับบริการดาวเทียมในย่านความถี่ C-Band สำหรับการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไปยังผู้ใช้บริการมากกว่า 100 ล้านรายทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา

          และแม้แต่ในประเทศไทย ทุกวันนี้ผู้ชมทีวีดาวเทียมหลักๆ ก็ยังใช้จานรับสัญญาณขนาดใหญ่เพื่อรับย่านความถี่นี้เช่นกัน สัญญาณไปยังผู้ใช้บริการมากกว่า 100 ล้านรายทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา

          จึงได้เกิดการรวมกลุ่มในชื่อ The C-Band Alliance หรือ CBA ประกอบไปด้วยผู้ให้บริการดาวเทียมรายใหญ่ Intelsat, SES, Eutelsat และ Telesat ที่มีจุดยืนเดียวกันในการให้บริการ C-Band บนคลื่นความถี่เดิม

 

คลอดบริการ 5จี สะเทือนถึงดาวเทียม

          ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก็ออกมายอมรับเช่นกันว่า ได้พิจารณาคลื่นความถี่ย่านที่มีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ในเรื่องของ 5จี เบื้องต้นได้เสนอคลื่นความถี่ในย่านหลัก คลื่น ได้แก่ ย่านความถี่ 3.4-3.6 GHz, 26-28 GHz และ 7-9 GHz โดยจากนี้จะร่วมมือกันทดสอบคลื่นย่านต่างๆ ว่าส่งสัญญาณรบกวนกับบริการเดิมที่มีอยู่หรือไม่ เช่น สัญญาณดาวเทียมโดยเฉพาะในย่านความถี่ C-Band โดยกำหนดระยะเวลาไว้ราว 6-9 เดือน เพื่อให้ได้คลื่นความถี่ย่านที่เหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยี 5G สำหรับประเทศไทย

          กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดเวทีเสวนากิจการดาวเทียมในยุค Disruption และธุรกิจรูปแบบใหม่ สอดรับนโยบายให้ดาวเทียมต่างชาติเข้าตลาดไทยได้ หวังกระตุ้นการลงทุน รองรับธุรกิจในอนาคต ด้านบริษัทผู้ให้บริการประกันภัยดาวเทียมระดับโลก มั่นใจนโยบายนี้ช่วยหนุนจีดีพีประเทศขยายตัว จากการเพิ่มโอกาสคนในชนบทเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทั่วถึง

 

สงครามน่านฟ้าระอุดาวเทียมใหม่จ่อยิงนับหมื่นดวง

 

          นอกจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างเทคโนโลยี 5จี และฟากดาวเทียมกำลังเด่นชัดขึ้น ในส่วนของผู้ให้บริการดาวเทียมทั่วโลก ก็กำลังเตรียมใจกับการแข่งขันบนอวกาศที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคตอันใกล้ จากตัวเลขคาดการณ์จำนวนดาวเทียมใหม่ๆ ที่จะจ่อยิ่งสู่ท้องฟ้าภายใน 10 ปีข้างหน้า เดิมคาดไว้แล้ว 3,300 ดวง แต่ล่าสุด FCC เพิ่งอนุมัติเพิ่มไปอีก 8,000 ดวง เป็นการเร่งอัตราความเร็วของจำนวนดาวเทียมที่จะออกมาให้บริการใหม่ ซึ่งสาเหตุที่ความสามารถสร้างดาวเทียมทำได้ง่ายและเร็วขึ้นกว่าอดีต ก็เป็นจากแรงกระทบของ Disruptive Technology นั่นเอง

 

คลอดบริการ 5จี สะเทือนถึงดาวเทียม

 

          โดยในประเทศไทยเองก็เกาะติดเทรนด์นี้อย่างใกล้ชิด และเริ่มปรับกฎเกณฑ์ที่จะชิงความได้เปรียบและประโยชน์จากเทรนด์ใหม่นี้

          นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้กิจการดาวเทียมยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสร้างบริการและโอกาสธุรกิจใหม่ๆ จากเดิมที่บริการส่วนใหญ่มาจากดาวเทียมที่มีวงโคจรประจำ (Geostationary Satellite Orbit: GSO) ในปัจจุบัน แนวโน้มของโลกมุ่งไปสู่การลงทุนในบริการที่เกิดจากดาวเทียมแบบวงโคจรไม่ประจำที่ (Non-Geostationary Satellite Orbit: NGSO) เช่น ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit: LEO) และดาวเทียมวงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่มีขนาดเล็กและสามารถส่งขึ้นไปบนฟ้าได้ครั้งละหลายพันดวง ดาวเทียมเหล่านี้สามารถให้บริการได้หลากหลาย เช่น การส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูง การส่งสัญญาณโทรทัศน์ด้วยเทคโนโลยีภาพที่คมชัดมากขึ้น รวมถึงการสำรวจ การนำทาง และการถ่ายภาพที่มีความชัดเจนในระดับสูงมาก

          "ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ดาวเทียม NGSO สามารถให้บริการส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตและข้อมูลแบบความเร็วสูง (Low Latency) ซึ่งทำให้ภาคพื้นดินสามารถรับสัญญาณได้ในเวลาต่ำกว่าเสี้ยววินาที การรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วในระดับที่ไม่มีดาวเทียมสมัยก่อนทำได้ ดาวเทียม NGSO จึงเป็นเครื่องมือทำให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ที่ต้องใช้การรับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด อาทิ ยานยนต์ไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) การส่งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในที่ทุรกันดารเพื่อให้คนที่อยู่นอกเมืองเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และโดรนสำรวจในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก เป็นต้น”

          ในส่วนของประเทศไทย รัฐบาลเตรียมพร้อมรับแนวโน้มใหม่นี้ และล่าสุดคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ผ่านความเห็นชอบ (ร่าง) แนวทางการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการดาวเทียมวงโคจรประจำที่ (Geostationary-Satellite Orbit : GSO) ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบ เพื่อมุ่งเน้นให้ประเทศไทยมีนโยบายที่กำหนดแนวทางในการรักษาตำแหน่งวงโคจรและข่ายงานดาวเทียมของประเทศที่ชัดเจน เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 60 ที่กำหนดให้ รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน

          และเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายการพิจารณาอนุญาตให้ดาวเทียมต่างชาติให้บริการในประเทศ (Landing Right) เนื่องจากที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายอนุญาตให้ใช้งานดาวเทียมต่างชาติในเชิงพาณิชย์ ในขณะที่ผู้ประกอบการและผู้ใช้งานดาวเทียมสื่อสารมีความต้องการใช้งานดาวเทียมต่างชาติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้คือ รอนำเสนอเข้า ครม. และรับมติมาดำเนินการต่อโดยออกเป็นประกาศหรือเป็นนโยบาย

          รองศาสตราจารย์สุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการกำกับกิจการพลังงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวว่า ประเทศไทยควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับประเด็นเรื่องนโยบายความถี่ (Spectrum) ที่ประเทศใหญ่ๆ ของโลกอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป เริ่มมีการกำหนดนโยบายเพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5จี ที่จะเป็นตัวขับดันเศรษฐกิจของโลกในอนาคตอันใกล้

 

คลอดบริการ 5จี สะเทือนถึงดาวเทียม

 

 

 

ดาวเทียมหนุนจีดีพีประเทศโต

 

          ด้านนาย Jan Schmidt หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอวกาศ บริษัท Swiss Re Corporate Solutions จำกัด กล่าวว่า จากผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันยังมีคนอีก 3.5 พันล้านคนทั่วโลก ที่ยังไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ขณะที่มีการประมาณการณ์ว่า ถ้าประเทศใดสามารถทำให้ประชากรเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น 10% จะสร้างการเติบโตให้กับจีดีพีของประเทศอีก 1.5%

 

คลอดบริการ 5จี สะเทือนถึงดาวเทียม

 

          นโยบายเปิดเสรีตลาดดาวเทียมของประเทศไทยมีความสำคัญกับประเทศ เพราะโครงสร้างพื้นฐานด้านดาวเทียม เป็นสิ่งที่จะช่วยให้คนทั่วทุกส่วนของประเทศที่สายไฟเบอร์ออฟติกเข้าไม่ถึง สามารถเชื่อมต่อกับทั้งโลกด้วยอินเทอร์เน็ต เข้าถึงการศึกษา การเกษตรเชิงพยากรณ์ บริการสาธารณสุข และโอกาสทางธุรกิจ เป็นต้น อีกทั้งกฎหมายที่เปิดกว้าง จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของไทย และเร่งความเร็วในการบรรลุนโยบายไทยแลนด์ 4.0”

///////////

          จากคอลัมน์ อินโนสเปซ โดย บัซซี่บล็อก หนังสืิพิมพ์ คมชัดลึกฉบับวันที่ 24-25 ..2561

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ