Lifestyle

ส่องสเตตัส 5จี ในเวทีโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทวีปเอเชีย คืออีกหมุดหมายสำคัญของเทคโนโลยี 5จี ด้วยปัจจัยหนุนทั้งจากขนาดประชากรรวมกันที่เกิดครึ่งหนึ่งของโลก

         ปี 2563 ประเทศไทยจะได้ใช้เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายใหม่ล่าสุดคือ 5จี ตามเป้าหมายของรัฐบาล แต่ในระดับโลกแล้วจะทวีความน่าตื่นเต้นขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งเตรียมถูกยกให้เป็น “เป็นปีแห่ง 5จี” เพราะผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเตรียมปรับสายการผลิตให้รองรับความสามารถใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้จากความล้ำของ 5จี ขณะที่ในฝั่งผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งรวมถึงองค์กรรัฐซึ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย ต่างก็เร่งไฟเขียวให้มีการทดสอบการใช้งานนำร่องกันตั้งแต่ปีนี้แล้ว ขณะที่ บริษัทเทเลคอมยักษ์ใหญ่ของเกาหลี ได้แก่ โคเรีย เทเลคอม ก็ประกาศแผนความพร้อมส่งบริการถึงมือผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้

ส่องสเตตัส 5จี ในเวทีโลก

          ความโดดเด่นของ 5จีที่เหนือชั้นกว่า 4จี ตามคำอธิบายของ “เอก จินดาพล” ผู้อำนวยการและผู้เชี่ยวชาญพิเศษฝ่ายกลยุทธ์เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร ของดีแทค ถึงประสบการณ์จาก 5จี ที่จะดีขึ้นว่า แบ่งเป็น 3 เรื่อง ได้แก่

          1.แบนวิธสูงกว่า 4จี ถึง 10 เท่า คือมีความเร็วในระดับ Gbps ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ด้านความเร็วในการใช้งาน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ 4K ได้ภายในระยะไม่กี่วินาที 2.ใช้ระยะเวลาในการับส่งชุดข้อมูล (Latency) ต่ำ ทำให้การตอบสนองต่อการสื่อสารหรือรับส่งข้อมูลทำได้รวดเร็ว และ 3.ปริมาณเชื่อมต่อ มีศักยภาพในการเตรียมรองรับอุปกรณ์ที่คาดว่าในอนาคตจะมีปริมาณสูงมาก

          ทางด้านสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) หน่วยงานกำกับดูแลคลื่นความถี่สำหรับกิจการสื่อสารของโลก ได้เริ่มส่งสัญญาณเตือนผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้ว่า “ความเร็ว” ในการรับส่งข้อมูล 5จี ต้องไม่ต่ำกว่า 21Gbp สำหรับการดาวน์โหลด และ 10 Gbps สำหรับการอัพโหลด ส่วนค่า latency สูงสุดกำหนดไว้ที่ 4 นาที

ส่องสเตตัส 5จี ในเวทีโลก

+++5จี มี(ทดสอบ)ที่ประเทศใดบ้าง

          เว็บไซต์ไลฟ์ไวร์ www.lifewire.com ได้ทำการอัพเดทข้อมูลความพร้อมของเทคโนโลยี 5จีทั่วโลกไว้อย่างน่าสนใจ โดยล่าสุดมีจำนวนประเทศในลิสต์นี้แล้ว จำนวน 23 ประเทศ ครอบคลุมทุกทวีปของโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งแอฟริกา ซึ่งมีผู้ให้บริการรายใหญ่ระดับโลกที่เข้าไปลงทุนให้บริการมือถือ เริ่มนำร่องการทดสอบ 5จี ในประเทศเลโซโทแล้ว

          ไลฟ์ไวร์ ได้จัดหมวดหมู่พื้นที่มีการทดสอบบริการในเทคโนโลยี 5จี ไว้เป็นรายทวีป ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ มีประเทศสหรัฐ เริ่มนำร่องการทดสอบแล้วในส่วนบรอดแบนด์ 5จี บางเมือง และจะขยายไปยังมือถือและการใช้งานที่บ้าน ช่วงปลายปีนี้ และต้นปีหน้า ขณะที่อีก ประเทศในภูมิภาคนี้ ได้แก่ แแคนาดา เม็กซิโก ก็ไม่ยอมน้อยหน้าเช่นกัน โดย Rogers Communications ผู้ให้บริการในแคนาดา เตรียมเปิดสนามทดสอบการใช้งานในมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ต้นปีหน้าอีกด้วย

          ส่วนทวีปอเมริกาใต้ ทั้งชิลี อาร์เจนติน่า และบราซิล เมื่อรวมขนาดจำนวนประชากรเข้าด้วยกัน เป็นตลาดที่ใหญ่พอตัว ดังนั้นน่าจะเห็นการใช้งานอย่างแพร่หลายได้ไม่ยากตั้งแต่ปลายปี 2562

          ทวีปยุโรป ก็ได้รับการคาดหมายว่าจะเปิดบริการ 5จีได้ภายในปี 2563 แน่นอน ที่มีความพร้อมแล้วได้แก่ ประเทศนอร์เวย์ เยอรมนี อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ สเปน ฟินแลนด์ และรัสเซีย ซึ่งมีตัวเลขคาดการณ์จากสมาคม GSMA ว่า โครงข่าย 5จี จะเข้าถึงประชากรชาวรัสเซียมากกว่า 80% ภายในปี 2568

          นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มประเทศโอเชียเนีย ซึ่งประเทศหมู่เกาะหลักๆ ของภูมิภาคนี้จะเริ่มมีการทดสอบในวงจำกัดในปีหน้า และพร้อมให้บริการเต็มตัวปี 2563 ขณะที่ประเทศพี่ใหญ่ของกลุ่มนี้อย่าง ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ก็ไม่หลุดผังบริการ 5จีอย่างแน่นอน

ส่องสเตตัส 5จี ในเวทีโลก

 

+++เอเชีย คึกคักรับเทคโนโลยี 5จี

          แน่นอนว่า ทวีปเอเชีย คืออีกหมุดหมายสำคัญของเทคโนโลยี 5จี ด้วยปัจจัยหนุนทั้งจากขนาดประชากรรวมกันที่เกิดครึ่งหนึ่งของโลก และความ “เอาจริง” ของบรรดาผู้ให้บริการท้องถิ่น (แต่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในระดับโลก)

          ชื่อต้นๆ ที่ต้องพูดถึงเรื่องเทคโนโลยีสื่อสาร คือ เกาหลีใต้ ซึ่งถูกจับตามองว่าจะเห็นความแพร่หลายของโครงข่าย 5จี ได้ตั้งแต่ปี 2562 โดยเอสเค เทเลคอม เริ่มนำร่องการทดสอบบริการแล้วเมื่อปี 2560 และประสบความสำเร็จกับการใช้งานในพื้นที่ทดสอบ K-City ขณะที่คู่แข่งอย่าง โคเรีย เทเลคอม ก็มีความร่วมมือกับอินเทล สำหรับการเปิดโชว์เคส 5จีอย่างยิ่งใหญ่ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ที่เมืองพย็องชัง

          อีก 3 ตลาดสำคัญของเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ก็เกาะติดเตรียมโดดเข้าสู่ 5จี อย่างมั่นใจเช่นกัน โดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (MIIT) ของจีน ประกาศชัดว่า พร้อมนำร่องเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ทันทีที่มีการประกาศมาตรฐานแรกออกมา และไชน่า ยูนิคอม ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลจีน ก็เตรียมลุยโครงการนำร่อง 5จี ใน 16 เมืองทั่วประเทศ

          ในเอเชีย ยังมีอีก 3 ประเทศที่เกาะติดเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดให้บริการ 3จี ในปี 2563 ได้แก่ อินโดนีเซีย คูเวต และการ์ตา ซึ่งรายหลังนี้เริ่มทำงานในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2559 โดยเชื่อว่าผู้ให้บริการรายใหญ่ของที่นี่ Ooredoo จะเป็นรายแรกของโลกที่เปิดให้บริการ 5จี เชิงพาณิชย์

ส่องสเตตัส 5จี ในเวทีโลก

ไทย’ เตรียมทดสอบ 5จี นำร่องอีอีซี ม.เกษตร และสำนักงาน กสทช.

          หันกลับมาดู “สเตตัส” ของประเทศไทยในเรื่องเทคโนโลยี 5จี ตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังนี้เป็นต้นมาเริ่มเห็นการขยับของเจ้าภาพหลักทั้งในส่วนของนโยบายการขับเคลื่อนและการสนับสนุนอย่าง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และส่วนของการกำกับดูแลจัดสรรคลื่นความถี่ อย่างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ส่องสเตตัส 5จี ในเวทีโลก

อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย” ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)

          โดยเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา “อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย” ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานเตรียมการและทดสอบเทคโนโลยี 5 จี ได้มีความเห็นร่วมกันในการตั้งกลุ่มพันธมิตร 5 จี (5G Alliance) ของประเทศไทยแล้ว และเบื้องต้นให้มีการพิจารณาทำการทดสอบ 5 จี ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 5G Testbed Lab และ 5G Field Trial

          เหตุผลที่เลือกอีอีซี เป็นพื้นที่ในการทดสอบ เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งได้รับการออกแบบให้เป็น World-Class Economic Zone รองรับการลงทุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เหมาะกับการทดสอบการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่นี้ โดยมี Use Cases ที่เป็นไปได้ เช่น สมาร์ทโลจิสติกส์ ท่าเรืออัจฉริยะ และสมาร์ทเฮลธ์แคร์ เป็นต้น

          สำหรับกลุ่ม 5G Alliance จะประกอบด้วยพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่หน่วยงานกำกับดูแล ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผู้ให้บริการเทคโนโลยี ผู้ให้บริการโซลูชั่น ผู้ใช้บริการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ สถาบันการศึกษา และสมาคมด้านโทรคมนาคม ซึ่งในส่วนของผู้ให้บริการเทคโนโลยีนั้น ซัพพลายเออร์ระบบโครงข่ายโทรคมนาคมไร้สายระดับโลก และผู้ผลิตชิปเบอร์ 1 ของโลกต่างก็ไม่พลาดโอกาสนี้ ไม่ว่าจะเป็น หัวเว่ย เทคโนโลยี ,อีริคสัน, ควอคอมพ์, อินเทล, โนเกีย นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายหลักทุกรายของไทย

ส่องสเตตัส 5จี ในเวทีโลก

“พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์” รมว.ดิจิทัลฯ

          และในวันที่ 23 .. นี้ “พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์” รมว.ดิจิทัลฯ ก็มีนัดประชุมร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ซี่งจะถูกใช้เป็นพื้นที่ในการทดสอบ 5G โดยจะเชิญชวนให้เอกชนนำเข้าอุปกรณ์มาติดตั้งทดสอบการใช้งานในห้องสภาพแวดล้อมที่เป็นปฏิบัติการ (Testbed Lab) ร่วมไปกับการทดสอบแบบสภาพแวดล้อมการใช้บงานจริง (Field Trial) ในพื้นที่อีอีซี

          ส่วนการเตรียมการด้านคลื่นความถี่ กสทช. ได้จัดเตรียมคลื่นไว้ให้ 2 ย่านความถี่ คือ คลื่นความถี่ 24-29 กิกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งช่วงคลื่นดังกล่าวมีการใช้งานของเอกชนอยู่ จะต้องไปดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อสรุป และอีกช่วงคลื่น คือ 3.3-4.2 กิกะเฮิร์ตซ์

          ทั้งนี้ ผู้บริหารของสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงงบประมาณในการทดสอบ 5จี ของประเทศไทยว่า กระทรวงดีอีได้ขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลจำนวน 350 ล้านบาท โดยเป็นงบผูกพัน ระยะแรกได้งบประมาณ 130 ล้านบาท ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยถ้าเทียบกับของประเทศอื่นๆ

          นอกเหนือจากการทดสอบ 5จี ซึ่งมีกระทรวงดีอี เป็นเจ้ภาพแล้ว ในส่วนของ กสทช. ก็ไม่ปล่อยมือจากโอกาสนี้เช่นกัน โดยก่อนหน้านี้ได้ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงร่วมกัน หรือ LoI (Letter of Intent)

          กับองค์กร The Fifth Generation Mobile Communication Promotion Forum (5GMF) แห่งประเทศญี่ปุ่น เพื่อสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนแนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีสื่อสาร 5จี ของทั้ง 2 ประเทศ

          สำหรับศูนย์ทดสอบ 5จี ของ กสทช. จะปรับปรุงพื้นที่กว่า 400 ตารางเมตร ของสำนักงาน กสทช. พหลโยธิน ซอย 8 เพื่อทำโครงการ NBTC FIRST จากการให้ความร่วมมือของผู้ผลิตอุปกรณ์ โดยจะนำคลื่นความถี่ย่าน 3.5 และ 28 กิกะเฮิรตซ์ มาทดลองใช้ภายในพื้นที่สำนักงานเป็นที่แรก

////////

 

คอลัมน์อินโนสเปซ  โดยบัซซี่บล็อก หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ฉบับวันที่ 17-18 พ.ย. 2561

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ