ข่าว

แนะรัฐปรับปรุงกฏหมายรับ"Blockchain"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บริหารยุคใหม่ใช้"Blockchain" สันติ กีระนันทน์ เชื่ออีก 5 ปีใช้อย่างกว้างขวาง แนะภาครัฐปรับปรุงพัฒนากฏหมายเกี่ยวข้องรองรับ

 

            9 พฤศจิกายน 2561นิตยสาร MBA ร่วมกับบริษัท SIAM ICO และ SME Bank เปิดเวทีระดมความรู้ จัดสัมมนา Blockchain Talk ตอนที่ 1  Management & Transformation “ การบริหารยุคใหม่ต้องใช้บล็อกเชน”  

 

 

            เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีอิทธิพลต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงในภาคส่วนต่างที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันและจะทวีเพิ่มขึ้นในอนาคต

 

            ดร.สันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม องค์ปาฐกถา  กล่าวว่า  ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา คำว่า Blockchain เป็นคำที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก เริ่มต้นจากวงการคอมพิวเตอร์ ไปสู่วงการทางการเงิน และในปัจจุบัน คำว่า Blockchain เป็นคำที่ถูกพูดถึงในทุกวงการ เพราะเชื่อกันว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกได้แบบเดียวกับที่อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงเมื่อ 20  ปีที่แล้ว โดยหลักคิดของเทคโนโลยี Blockchain จะแตกต่างจากแนวคิดในรูปแบบระบบรวมศูนย์ หรือ Centralization ที่มีศูนย์กลางในการควบคุมส่วนต่าง ๆ ของระบบ แต่หลักแนวคิดของเทคโนโลยี Blockchain จะมีวิธีคิดแบบระบบกระจายศูนย์ หรือ Decentralization

 

แนะรัฐปรับปรุงกฏหมายรับ"Blockchain"

 

            นอกจากนี้ หลักการสำคัญของ Blockchain คือ การทำให้ทุกหน่วยในเครือข่ายมีการเชื่อมต่อกันและกระจายกันดูแลข้อมูลที่แต่ละหน่วยจะมีข้อมูลเหมือนกันซึ่งหมายความว่าทุกกิจกรรม หรือ ทรานแซ็กชั่น( Transaction)ที่เกิดขึ้นในระบบจะต้องเป็นทรานแซ็กชั่นที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว และ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้ ทุกหน่วยจึงมีสิทธิ์ตรวจสอบความถูกต้องและประมวลผลด้วยตัวเองตลอดเวลา 

 

            ด้วยรูปแบบนี้ ทำให้ระบบที่นำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้มีความเสถียรและมั่นคงสูง เพราะหากจะแฮกเครือข่าย Blockchain ให้ได้ต้องเจาะระบบของเครื่องในเครือข่ายให้ได้เป็นจำนวนมาก  เหตุนี้อุตสาหกรรมในภาคธุรกิจต่าง ๆ จึงหันมาใช้เทคโนโลยีนี้มากขึ้น จากข้อมูลสถิติเรื่องมูลค่าการลงทุนในเทคโนโลยี Blockchain พบว่ามีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากสถาบันการเงินที่แสดงความสนใจทั้งด้านการวิจัยพัฒนาระบบ และการร่วมลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพต่าง ๆ

 

แนะรัฐปรับปรุงกฏหมายรับ"Blockchain"

 

            เนื่องจากธุรกรรมการชำระเงินจะได้รับผลกระทบค่อนข้างชัดเจนในฐานะที่เทคโนโลยี Blockchain สามารถเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการจัดการการแลกเปลี่ยนมือได้อย่างรวดเร็วและมีต้นทุนต่ำกว่า ระบบชำระเงินที่ใช้กันอยู่ รวมถึงการลดบทบาทของตัวกลางออกไป  ยิ่งไปกว่านั้น จากการสำรวจของ World Economic Forum (WEF) คาดว่า ภาครัฐของประเทศต่าง ๆ จะนำร่องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ก่อนภายในปี2023 และจะนำมาใช้อย่างแพร่หลายภายในปี 2027 ดังนั้น เทคโนโลยีบล็อกเชน จึงเป็นสิ่งที่มีอนาคต และหากสามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์จะเป็นประโยชน์ต่อกิจการ องค์กรและระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นไปได้    
  

            ส่วนที่ก.ล.ต.ได้ออกกฎเกณฑ์เพื่อรับรองว่าเทคโนโลยี บล็อกเชน  สามารถเป็นเครื่องมือที่ยอมรับได้ในการระดมทุนนั้น ก็ต้องมีการปรับปรุงกฏหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความรอบคอบเพื่อรองรับเทคโนโลยีนี้ รวมถึงหน่วยงานที่ดูแลโดยตรงให้ส่งผลไปในทิศทางที่เหมาะสมเพราะภาคราชการคงไม่ปล่อยให้ภาคเอกชนทำอะไรโดยไม่มีการควบคุม 

 

แนะรัฐปรับปรุงกฏหมายรับ"Blockchain"

 

            "เทคโนโลยี Blockchain ในอีก 5 ปีจะมีการนำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวางในทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งจะมีการประยุกต์ใช้งานกันมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องมีการรพัฒนาระบบมากขึ้นตามไปด้วย  รวมถึงระมัดระวังเพราะการใช้ Blockchain เกี่ยวข้องกับคนหมู่มากหรือฝูงชน (Crowd ) แต่ถือเป็นทางเลือกแต่ไม่มีอะไรที่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าภาครัฐเองก็ต้องปรับและพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนได้อย่างแน่นอน"  ดร.สันติ กล่าวย้ำ 

 

            นายทักษ์ศิล  ฉัตรแก้ว  กรรมการผู้จัดการ บริษัท สื่อดี จำกัด บรรณาธิการผู้ก่อตั้งนิตยสาร MBA  ผู้ร่วมจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ ได้กล่าวว่า  ในขณะนี้เป็นที่รู้กันดีว่า เทคโนโลยีได้เข้ามาอิทธิพลในการสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อ สังคมและเศรษฐกิจมากขึ้นเป็นลำดับ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยี บล็อกเชน  เป็นเทคโนโลยีที่ทั่วโลกให้ความยอมรับและเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งกล่าวขานกันว่า บล็อกเชน จะเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีรุ่นเก่า เราจะเห็นกรณีตัวอย่างต่างๆ มากมายในโลกที่มีการนำ บล็อกเชน มาประยุกต์ใช้ทั้งใน Real Sector โดยเงินลงทุนในโลกขณะนี้ ลงมาในเซ็กเตอร์นี้มีจำนวนมาก ทั้งในเชิงของกิจการยักษ์ใหญ่ เช่น อาลีบาบา ไอบีเอ็ม อมาซอน หรือ consortium ของธนาคารพาณิชย์และวาณิชธนกิจทั่วโลก และในเชิงของ Venture Capital ที่ทุ่มเทเงินมาลงทุนใน Theme นี้กันมากในรอบสองปีมานี้ 
 

 

แนะรัฐปรับปรุงกฏหมายรับ"Blockchain"

 

            นายทักษ์ศิล  ยังกล่าวอีกว่า “สำหรับ เทคโนโลยี บล็อกเชน ที่เห็นความเติบโตและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้ว คือ ในภาคของ Cryptocurrencies รวมไปถึงการระดมทุนในรูปแบบ ICO ที่แม้แต่สำนักงานคณะกรรมกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  หรือ ก.ล.ต. ของประเทศไทย ก็ได้ออกกฎเกณฑ์เพื่อรับรองว่า เทคโนโลยี บล็อกเชน  สามารถเป็นเครื่องมือที่ยอมรับได้ในการระดมทุนในปีนี้  เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ เราจะได้เห็นรูปแบบการระดมทุนในรูปแบบ Initial coin offering ( ICO)  ที่ผ่านการพิจารณาตามกฎเกณฑ์ เป็นที่ยอมรับ และเป็นกลไกที่สร้างสรรค์ และเป็นโอกาสสำหรับองค์กร หรือผู้ประกอบการ ที่ไม่เพียงรายใหญ่ แต่ยังหมายถึงรายเล็ก รายน้อยที่มีศักยภาพ หรือแม้แต่ Social Enterprise และโครงการจิตอาสา ที่จะเข้ามาใช้เป็นช่องทางในการพัฒนาโอกาสในการสร้างความเติบโตและความเจริญก้าวหน้าให้กับกิจการ  องค์กรและสังคมเศรษฐกิจของประเทศชาติได้”

 

            นายปฐม อินทโรดม CEO บริษัท สยามไอซีโอ จำกัด กล่าวว่า  บริษัทสยามไอซีโอจำกัด ถือกำเนิดขึ้นมาจากความร่วมมือของคุณทักษศิล ฉัตรแก้ว เจ้าของนิตยสารเอ็มบีเอซึ่งเป็นสื่อธุรกิจชั้นนำของไทยและคุณโดม เจริญยศ แห่งบริษัทโดมคลาวด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจบล็อคเชนระดับแนวหน้าของไทย กับคุณคณิต ศาตะมานและคุณปฐม อินทโรดม ผู้คร่ำหวอดในแวดวงไอทีมายาวนานกว่า 20 ปี การก่อตั้งสยามไอซีโอจึงเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญในแวดวงธุรกิจบล็อคเชนของไทย

 

แนะรัฐปรับปรุงกฏหมายรับ"Blockchain"

 

            “การวมตัวกันครั้งนี้ เป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญของวงการบล็อคเชนไทย โดยประกาศความพร้อมในการเป็นผู้ให้บริการเอนเตอร์ไพรซ์บล็อคเชนโซลูชั่น พร้อมเน้น “รีเวิร์สไอซีโอ” เพื่อระดมทุนผ่านไอซีโอให้กับบริษัทมหาชนที่มีนวัตกรรมและต้องการลงทุนในธุรกิจใหม่ ต่อยอดให้กับธุรกิจเดิมที่ได้รับความเชื่อถือจากนักลงทุนอยู่แล้ว”นายปฐมกล่าว
 

            นายปฐม กล่าวในตอนท้ายว่า สยามไอซีโอพร้อมให้บริการด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล หรือดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น ด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งในด้านบล็อคเชน บิ๊กดาต้า เอไอ พร้อมให้คำปรึกษาด้านการระดมทุนผ่านไอซีโอ โดยให้คำแนะนำในการสร้างระบบดิจิทัลอีโคซีสเต็มส์ และแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ โดยเน้นการทำรีเวิร์สไอซีโอ เพื่อทำไอซีโอให้กับบริษัทมหาชนเป็นหลัก ทั้งนี้ สยามไอซีโออยู่ระหว่างการจดทะเบียนเป็นไอซีโอพอร์ทัลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อดำเนินธุรกิจไอซีโอพอร์ทัลตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. โดยมีไอซีโอที่ดำเนินการเป็นที่ปรึกษาให้อยู่ในปัจจุบันแล้ว 3-5 โครงการ และตั้งเป้าอีก 15 โครงการในปี 2562


 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ