Lifestyle

ไขเคล็ดลับ 5 เทคนิค "บริหารสมองดีชีวิตมีสุข" (1)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไขเคล็ดลับ 5 เทคนิค "บริหารสมองดีชีวิตมีสุข" ชะลอความเสื่อมของสมองเพื่อชีวิตที่ยืนยาว (1) : คอลัมน์ดูแลสุขภาพ 

 

          สมองเป็นอวัยวะที่ซับซ้อนและมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของร่างกาย การดูแลรักษาสมองให้มีสุขภาพดีในทุกช่วงอายุจึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในช่วงวัยกลางคนที่สมองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้มีผลกระทบต่อความคิดและความจำ ดังนั้น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ จึงได้จัดงาน “Lifestyle for Healthy Brain” (ไลฟ์สไตล์ ฟอร์ เฮลธ์ตี้ เบรน) เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสุขภาพสมอง พร้อมเผยเคล็ดลับสมองดีชีวิตมีสุข

 

 

ไขเคล็ดลับ 5 เทคนิค "บริหารสมองดีชีวิตมีสุข" (1)

 

          นพ.เขษม์ชัย เสือวรรณศรี แพทย์ผู้ชำนาญการด้านประสาทวิทยา เปิดเผยว่า ปัจจัยเสี่ยงผู้ป่วยโรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ มีความสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น โดยสถิติผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่พบได้ในกลุ่มคนทั่วไปเฉลี่ยช่วงอายุ 65 ปี จะมีสัดส่วนร้อยละ 5 ผู้อายุ 75 ปีขึ้นไปเฉลี่ยร้อยละ 15 และกลุ่มอายุ 85 ปีจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 30–40

          ขณะที่ปัจจุบัน พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่เข้ามาปรึกษาแพทย์ด้านสมอง เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับโรคความจำ เป็นจำนวนมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มคนวัยทำงาน และกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งแต่ละกลุ่มนั้นจะมีปัจจัยแวดล้อม และความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

 

ไขเคล็ดลับ 5 เทคนิค "บริหารสมองดีชีวิตมีสุข" (1)

 

          สำหรับ กลุ่มคนวัยทำงานอายุเฉลี่ย 30-40 ปี ที่เข้ามาปรึกษาแพทย์ มีความกังวลว่าตัวเองจะป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือไม่เมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากพ่อหรือแม่ตนเองนั้นป่วยเป็นโรคนี้ในปัจจุบัน ซึ่งในความเป็นจริงไม่ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ในอนาคต

          “โรคอัลไซเมอร์ทางกรรมพันธุ์ พบได้น้อยมากในปัจจุบัน โดยใน 100 คน จะพบผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ราว 5 คนเท่านั้น ซึ่งหากเป็นโรคอัลไซเมอร์ทางกรรมพันธุ์จะมีลักษณะเด่น คือ มีอาการป่วยแสดงให้เห็นก่อนอายุ 65 ปี หรือราว 55 ปี” นพ.เขษม์ชัย กล่าว

 

ไขเคล็ดลับ 5 เทคนิค "บริหารสมองดีชีวิตมีสุข" (1)

 

          โดยปัจจัยหลักผู้ป่วยเกี่ยวกับความจำ ในกลุ่มคนวัยทำงาน ที่พบได้บ่อยมาจากหลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ความเครียดในการทำงาน และที่พบได้บ่อยมากที่สุด คือ อาการออฟฟิศซินโดรม และในโรคของผู้บริหาร เป็นต้น

          ขณะที่โรคความจำในกลุ่มผู้สูงอายุ อาจมีสาเหตุจากหลายปัจจัยซึ่งทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ หลอดเลือดสมองตีบ เนื้องอก น้ำในโพรงสมอง ฮอร์โมน ภาวะซึมเศร้า หรือการขาดวิตามินบางชนิด ที่พบได้ทั้งกลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มผู้สูงอายุ

 

ไขเคล็ดลับ 5 เทคนิค "บริหารสมองดีชีวิตมีสุข" (1)

 

          ทั้งนี้ ในกลุ่มคนวัยทำงานที่มีสุขภาพแข็งแรงดีในปัจจุบัน สามารถป้องกันดูแลสมองให้แข็งแรงได้เช่นกัน รวมถึงกลุ่มวัยกลางคน หรือผู้เริ่มเข้าสู่วัยทองทั้งในเพศหญิงและชาย ควรหมั่นตรวจสุขภาพร่างกาย ตามการนัดของแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับคำปรึกษา และการบำบัดจากแพทย์ผู้ชำนาญการได้ทันท่วงที

 

ไขเคล็ดลับ 5 เทคนิค "บริหารสมองดีชีวิตมีสุข" (1)


โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ