Lifestyle

มหานทีแห่งน้ำพระราชหฤทัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) จัดงานเปิดตัวภาพยนตร์สารคดีเฉลิมพระเกียรติ "มหานทีแห่งน้ำพระราชหฤทัย: โครงการปะการังเทียมจากพระราชดำริ"

      เมื่อปี 2544 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริช่วยเหลือพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตของชาวประมง ด้วยการฟื้นฟูสภาวะใต้ท้องทะเล โดยการสร้างปะการังเทียมใต้ท้องทะเลจากวัสดุต่างๆ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยแหล่งใหม่ของสัตว์ทะเล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 12 สิงหาคม 2561 บัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) จัดงานเปิดตัวภาพยนตร์สารคดีเฉลิมพระเกียรติ “มหานทีแห่งน้ำพระราชหฤทัย: โครงการปะการังเทียมจากพระราชดำริ” พร้อมนิทรรศการภาพถ่ายและภาพยนตร์สารคดีชุด “ลมหายใจแห่งมหาสมุทร” เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่แนวพระราชดำริด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของพระองค์

มหานทีแห่งน้ำพระราชหฤทัย

ส่วนหนึ่งของภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ

      ในงานยังมีการเสวนาเรื่อง “ลมหายใจแห่งมหาสมุทร” โดย จตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศิวกฤษฏิ์ ศราวิช ผู้ถ่ายทำสารคดี พร้อมด้วย อเล็กซ์ เรนเดล นักแสดงและนักอนุรักษ์ ที่โรงภาพยนตร์ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต ชั้น 4 ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ เมื่อวันก่อน

มหานทีแห่งน้ำพระราชหฤทัย

  บัณฑิต สะเพียรชัย

      บัณฑิต สะเพียรชัย เผยว่า ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 8 ตอน ประกอบด้วย ปะการังเทียมแท่งคอนกรีต : สายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นมายาวนาน จากรุ่นสู่รุ่น, แท่งคอนกรีต : วัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่นำไปทำเป็นปะการังเทียม, ปะการังเทียม (ตู้รถไฟ) : เหมือนแสงสว่างจากฟ้าลงมาสู่ดิน, เรือหลวงช้าง (H.T.M.S. CHANG LST-712) : “แม้ภารกิจปกป้องอธิปไตยจะจบลง แต่ยังทรงคุณค่ารับใช้ชาติต่อไป, รถถัง T-69 : ภารกิจบกสิ้นไป ภารกิจใต้ทะเลเข้ามาแทน, ฉลามวาฬ : ชื่อว่า “ฉลาม” แต่นิสัยกลับใจดีและขี้เล่น จึงได้สมญาว่า ยักษ์ใหญ่ใจดีแห่งท้องทะเล, ปะการังเห็ด : สิ่งมีชีวิตรูปร่างคล้ายเห็ดที่มีอยู่ทั่วไปใต้ท้องทะเล และ หนอนพู่ฉัตร: เป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการภาพถ่ายและภาพยนตร์สารคดีชุด “ลมหายใจแห่งมหาสมุทร” อีก 1 ตอน

มหานทีแห่งน้ำพระราชหฤทัย

จตุพร บุรุษพัฒน์-ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์-อเล็กซ์ เรนเดล

      จตุพร บุรุษพัฒน์ กล่าวว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริเกี่ยวกับปะการังเทียมไว้อย่างชัดเจนมาก เพื่อให้ความสมบูรณ์ใต้ท้องทะเลกลับคืนมา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ทรงให้ความสำคัญกับการพลิกฟื้นทรัพยากรใต้ท้องทะเลขนาดนี้ ซึ่งทางกรมน้อมรับในการสืบสานภารกิจดังกล่าว ภายใต้การทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมประมง กรมป่าไม้ กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า รวมถึงภาคเอกชน ทำให้ทะเลไทยมีความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้นในวันนี้

มหานทีแห่งน้ำพระราชหฤทัย

วรสุดา แพ่งสภา-เดล ดีล่า ร่วมชมนิทรรศการ

      ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ กล่าวว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงมิได้มุ่งเน้นเฉพาะการพลิกฟื้นสภาวะใต้ท้องทะเลเท่านั้น แต่ยังมีพระราชประสงค์ให้มีการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล จึงพระราชทานเกาะมันใน เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก” ปัจจุบันนอกจากเป็นที่เพาะเลี้ยงและอนุบาลเต่าทะเลแล้ว ยังเป็นสถานที่ศึกษาการแพร่ขยายพันธุ์สัตว์ทะเล หายากชนิดอื่นๆ อีกด้วย เช่น พะยูน โลมา ตลอดจนทรัพยากรทางทะเล อื่นๆ เช่น ปะการังและหญ้าทะเล

มหานทีแห่งน้ำพระราชหฤทัย

 ศิวกฤษฏิ์ ศราวิช

     สามารถรับชมภาพยนตร์สารคดีชุด “ลมหายใจแห่งมหาสมุทร” ได้ทาง www.bcpggroup.com รวมทั้งรับชมสารคดีเฉลิมพระเกียรติ “มหานทีแห่งน้ำพระราชหฤทัย: โครงการป

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ