Lifestyle

ขนอม...ห้อมล้อมด้วย"ธรรมชาติ-วัฒนธรรม"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นั่งเรือไปชมโลมาสีชมพูที่ขนอม หนึ่งจุดเช็กอินที่นักเดินทางต้องไป

          ก่อนหน้านี้เมื่อเอ่ยปากถึง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เชื่อว่าหลายคนคงนึกอะไรไม่ออกนอกจาก “โรงไฟฟ้าขนอม” ทว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชื่อของ “ขนอม” ได้รับการกล่าวถึงในแวดวงนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกิจกรรมการนั่งเรือออกไปชมโลมาสีชมพู กลายเป็นหนึ่งใน “จุดเช็กอิน” ที่นักเดินทางต้องไปเก็บแต้ม

ขนอม...ห้อมล้อมด้วย\"ธรรมชาติ-วัฒนธรรม\"

ณรงค์ คล้ายคลิ้ง 

          ณรงค์ คล้ายคลิ้ง ผู้นำชุมชนบ้านแหลมประทับ เล่าให้ฟังว่า ท่าเทียบเรือบ้านแหลมประทับถือว่ามีสำคัญของประชาชนในชุมชนอย่างมาก เพราะใช้สำหรับการเข้าออกของเรือประมง ซึ่งก่อสร้างมานาน เมื่อชำรุด และเสียหาย เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพ ประกอบกับท่าเรือนี้เป็นท่าเรือที่นักท่องเที่ยวนิยมใช้ในการชมธรรมชาติทางทะเล เช่น ปลาโลมาสีชมพู เป็นต้น เมื่อได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอมเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ที่เห็นผลเป็นรูปธรรมคือ ประชาชนในพื้นที่ที่ประกอบอาชีพประมงได้รับความสะดวก ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และประชาชน หรือผู้ประกอบกิจการด้านท่องเที่ยวมีรายได้เพิ่มขึ้น จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่าตัวเพราะสามารถเที่ยวชมธรรมชาติทางทะเลได้อย่างสะดวก และปลอดภัย..แต่น่าเสียดายเพราะวิถีโลมาส่วนใหญ่จะพากันมาโชว์ลีลาการโต้คลื่นในช่วงเช้า แต่คณะของเราออกเรือในช่วงบ่าย จึงไม่ได้ทักทายเจ้าถิ่น กระนั้นธรรมชาติก็ยังเป็นใจให้มีโอกาสได้แวะสักการะ “หลวงปู่ทวด” เจ้าของตำนาน “เหยียบน้ำทะเลจืด” ที่เกาะนุ้ยนอก และแน่นอนว่า เราได้ลองชิมน้ำที่บริเวณนั้นด้วยว่า...จืดจริงๆ ด้วยล่ะ

ขนอม...ห้อมล้อมด้วย\"ธรรมชาติ-วัฒนธรรม\"

ล่องเรือไปชมโลมาสีชมพู

ขนอม...ห้อมล้อมด้วย\"ธรรมชาติ-วัฒนธรรม\"

ชมรอยเท้าหลวงปู่ทวดที่เกาะนุ้ยนอก

          เมื่อความตั้งใจจะไปเซย์ฮัลโหลกับโลมาสีชมพู ที่บ้านแหลมประทับ ไม่เป็นดังคาด เราไม่ยอมเสียเวลาโดยเปลี่ยนหมุดหมายไปที่หาดในเพลา เพื่อตามไปดูเทศกาลประจำปีของหมู่บ้านในเพลาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตนั่นก็คือ “เทศกาลแข่งขันตกปลาทราย” ซึ่งหัวเรือใหญ่ของกิจกรรมครั้งนี้ มาเนก เสือทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 ต.ขนอม เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของการจัดเทศกาลตกปลาทราย ซึ่งในปีนี้นับเป็นครั้งที่ 14 ว่าการตกปลาทรายมีมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ย่าตายายซึ่งอยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน เมื่อตกได้ก็นำมาปรุงเป็นอาหารให้ลูกหลานได้กิน ซึ่งภาพเหล่านี้ยังอยู่ในความทรงจำของรุ่นลูกรุ่นหลานที่เห็นผู้ใหญ่นุ่งโจงกระเบนออกไปยืนตกปลากันตามโขดหินบ้างตามชายหาดบ้าง เพราะความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ จากวิถีชีวิตจึงกลายมาเป็นกิจกรรมของชุมชนเมื่อถึงฤดูนี้ระหว่างเดืิอนมิถุนายน-สิงหาคมทุกปี ปลาทรายจะมีมาก โดยพัฒนาจากที่ยืนตกตามโขดหินมาสู่การนำเรือออกไปตกปลากลางทะเล ทั้งนี้ผู้ใหญ่บ้านหนุ่มใหญ่บอกว่านอกจากจะเป็นการสีสันให้เกิดขึ้นในชุมชน ยังส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมกิจกรรมซึ่งปัจจุบันได้เสริมสันทนาการขึ้นอีกสองรายการได้แก่ การแข่งขันต่อยมวยทะเล และลิงแข่งเก็บมะพร้าว เหนืออื่นใดกิจกรรมในแต่ละปีถือเป็นการจัดขึ้นเพื่อถวาย “ทวดเพลา” ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนอมยิ่งช่วยเพิ่มให้การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งมีความสนุกมากขึ้น นับเป็นตัวชี้วัดความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชาวบ้านอีกสิ่งหนึ่ง

ขนอม...ห้อมล้อมด้วย\"ธรรมชาติ-วัฒนธรรม\"

มาเนก เสือทอง

ขนอม...ห้อมล้อมด้วย\"ธรรมชาติ-วัฒนธรรม\"

ปลาทรายที่ตกได้​​​​​​​

ขนอม...ห้อมล้อมด้วย\"ธรรมชาติ-วัฒนธรรม\"

ลิงแข่งเก็บมะพร้าว​​​​​​​

ขนอม...ห้อมล้อมด้วย\"ธรรมชาติ-วัฒนธรรม\"

การแข่งขันมวยทะเล​​​​​​​

          นอกเหนือจากเรื่องธรรมชาติ ที่ขนอมยังมีความโดดเด่นทางด้านศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะเรื่องการแสดงหนังตะลุง และเพื่อร่วมต่อยอดให้คงอยู่สืบทอดต่อไปกับชาวขนอม กองทุนพัฒนาไฟฟ้า จึงร่วมศิลปินพื้นบ้านในการจัดตั้ง “โครงการจัดสร้างอุปกรณ์หนังตะลุงเยาวชน” ขึ้น ซึ่งตัวแทนกลุ่มเยาวชนเรียนรู้หนังตะลุง ธนวิทย์ เกิดดำ อายุ 15 ปี กำลังศึกษาที่โรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี เล่าให้ฟังภายหลังจากเสร็จสิ้นการเชิดหนังตะลุงว่า โครงการนี้ทำให้เขาได้มีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกฝนในสิ่งที่ตัวเองสนใจ แม้ว่าในอนาคตยังไม่แน่ชัดว่าจะยึดเป็นอาชีพหรือไม่ แต่อย่างน้อยในฐานะลูกหลาน “หนัง” เขาก็มีส่วนในการร่วมอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ให้คงอยู่ และสืบทอดสู่คนรุ่นหลัง ถึงจะต้องใช้เวลาหลังเลิกเรียนหรือวันหยุดเสาร์อาทิตย์ สำหรับซ้อมเชิดหนังและซ้อมร้องจนไม่มีเวลาไปเที่ยวเล่นเหมือนเพื่อนคนอื่น แต่ก็ดีกว่าเอาเวลาว่างไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข และยาเสพติดให้โทษ

ขนอม...ห้อมล้อมด้วย\"ธรรมชาติ-วัฒนธรรม\"

ธนวิทย์ กำเนิดคำ โชว์การเชิดหนังตะลุง

ขนอม...ห้อมล้อมด้วย\"ธรรมชาติ-วัฒนธรรม\"

ศาลหลักเมืองขนอม​​​​​​​

ขนอม...ห้อมล้อมด้วย\"ธรรมชาติ-วัฒนธรรม\"

​​​​​​​หนูกิต รูปสะอาด

          อีกหนึ่งโครงการที่เกิดจากความตั้งใจดีระหว่างชุมชนและกองทุนฯ นั่นคือ “โครงการสร้างศาลหลักเมืองขนอม” หนูกิต รูปสะอาด รองประธานกรรมการศาลหลักเมือง เล่าว่า การจัดสร้างครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้สร้างเมืองขนอม อันเป็นเอกลักษณ์ทางด้านอารยธรรมของเมืองโบราณ, เป็นสถานที่ให้ประชาชนได้สักการบูชา และเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง, เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนคนขนอมมีความรักใคร่ สามัคคีปรองดอง และร่วมพัฒนาให้อำเภอขนอมมีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป และเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในอำเภอขนอม ปัจจุบันโครงการสร้างศาลหลักเมืองขนอมใกล้แล้วเสร็จบริบูรณ์ และจะมีพิธีอัญเชิญบวงสรวงหลักเมืองขนอมไปประดิษฐานในศาลหลักเมืองในวันที่ 9-10 สิงหาคม 2561

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ