Lifestyle

เปลี่ยนจุดเจ็บเป็นจุดเจ๋งสไตล์รุ่นใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมในอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศผ่านมุมมองรุ่นใหม่

        พลังความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่เป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจทุกอุตสาหกรรมต้องการ เพราะทำให้เกิดมุมมองและแนวทางการแก้ปัญหาที่แตกต่างออกไป ดังเช่นคำกล่าวที่ว่าพลังเล็กก็สามารถเปลี่ยนโลกได้...อุตสาหกรรมไมซ์ หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมองค์กรท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ประชุมนานาชาติ และงานแสดงสินค้านานาชาติก็เช่นเดียวกัน ที่ต้องพึ่งพาไอเดียคนรุ่นใหม่ จารุวรรณ สุวรรณศาสน์ ผู้อำนวยการฝ่ายไมซ์ อินเทลลิเจนซ์ แอนด์ อินโนเวชั่น ทีเส็บ ร่วมกับศูนย์ Hatch มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี จัดกิจกรรม "สมาร์ทไมซ์ อินโนเวชั่น อวอร์ด 2018" เพื่อสร้างการเรียนรู้และผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมในอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศผ่านมุมมองของคนรุ่นใหม่ โดยมีนักศึกษาทั้งหมด 18 ทีมจำนวน 65 คนจาก 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยเข้าร่วม เมื่อเร็วๆ นี้

เปลี่ยนจุดเจ็บเป็นจุดเจ๋งสไตล์รุ่นใหม่

เปลี่ยนจุดเจ็บเป็นจุดเจ๋งสไตล์รุ่นใหม่

จารุวรรณ สุวรรณศาสน์

         จารุวรรณ สุวรรณศาสน์ เผยถึงหัวข้อที่ให้เลือกนั้น อาทิ เกมะ อีเว้นท์ หรือเมเจอร์ อีเว้นท์ ที่มีการใช้พื้นที่ของเมือง พื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่ในศูนย์การค้าเป็นพื้นที่จัดงาน ซึ่งปัญหาของงานประเภทนี้คือมีทางเข้า-ออกงานหลายทาง ทำให้ยากต่อการจัดเก็บข้อมูลผู้ร่วมงาน ทั้งในข้อมูลด้านความต้องการ ความเห็นต่อกิจกรรมที่จัด เพื่อนำไปพัฒนาการจัดงานครั้งต่อไป และคำนวณตัวเลขของผลกระทบทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการจัดกิจกรรมไมซ์ภายในประเทศ ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ และเมืองที่มีศักยภาพรองรับการจัดงาน ซึ่งยังขาดการส่งเสริมด้านการตลาด โปรโมชั่นที่สร้างแรงจูงใจ ความยุ่งยากในการจัดการเดินทางและที่พักอย่างเหมาะสม ตลอดจนขาดข้อมูลสถานที่จัดกิจกรรมใหม่ๆ นอกเหนือจากเมืองที่ได้รับความนิยมอยู่แล้ว นอกจากนี้ การพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ต้องอาศัยบริษัทผู้จัดงานที่มีความชำนาญ แต่ยังขาดแคลนอยู่มาก และ การพัฒนาศักยภาพด้านไมซ์ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร สถานที่จัดงาน และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งขาดบุคลากรที่มีความชำนาญในบางด้าน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นต้น  

เปลี่ยนจุดเจ็บเป็นจุดเจ๋งสไตล์รุ่นใหม่

         ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดได้ร่วมเวิร์กช็อปเป็นเวลา 3 วัน โดยมีคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจไมซ์ กระบวนการทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง และกระบวนการทดสอบตลาดและสร้างชิ้นงานต้นแบบ หลังจากนั้นเป็นการจัดแข่งขันการนำเสนอผลงานเพื่อค้นหานวัตกรรมที่มีความโดดเด่นมากที่สุดทั้งในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ การตอบโจทย์ปัญหา หรือรูปแบบธุรกิจ ฯลฯ เป็นต้น โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศได้แก่ทีม มอยส์เซอร์ (Mäuse) เลือกแก้ปัญหา “เมกะอีเวนท์” ด้วยแพลตฟอร์ม “อีเวนเจอร์” ส่วนทีมที่ได้รับรางวัลชมเชย 2 ทีมได้แก่ ทีม พีพีพี (PPP) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เลือกแก้ปัญหา “โดเมสติก ไมซ์” ด้วยแอพพลิเคชั่น “แพลนโก” และ ทีม บียู ทู เดอะ ฟิวเจอร์ (BU to the Future) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เลือกแก้ปัญหา “เมกะอีเวนท์” ด้วย “อี-ริสแบนด์”

เปลี่ยนจุดเจ็บเป็นจุดเจ๋งสไตล์รุ่นใหม่

ทีมมอยส์เซอร์ ระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม

          คริษฐ์ มัชปาน ตัวแทนจากทีมมอยส์เซอร์ เล่าว่า ปัจจุบันนี้คนเจนใหม่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความโซเชียล ต้องการแสดงออกทางสังคม และต้องการค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ตัวเอง จึงเป็นที่มาของ "อีเวนเจอร์" แพลตฟอร์มที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่ผู้เข้าร่วมงานเมกะอีเวนท์ในยุคต่อๆ ไป โดยพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยบริษัทผู้จัดงานเก็บข้อมูลของผู้เข้าร่วมงาน สร้างแรงจูงใจเพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายอยากให้ข้อมูลแก่ผู้จัดงาน รวมทั้งผู้เข้าร่วมงานก็จะได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ในการเข้าร่วมงาน ผ่านการเล่นเกม ตอบแบบสอบถาม และแลกของที่ระลึกของงาน ซึ่งจะมีฟีเจอร์ต่างๆ อาทิ คิวอาร์โค้ด เว็บแอพพลิเคชั่น เทคโนโลยีเออาร์ ช่วยเพิ่มประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรม และมูด แทรคกิ้ง เพื่อทราบความรู้สึกของผู้ร่วมงาน เป็นต้น

เปลี่ยนจุดเจ็บเป็นจุดเจ๋งสไตล์รุ่นใหม่

ทีมทริปเปิ้ลพี ขณะร่วมกิจกรรม

         ด้าน พฤกษ์  ภคเมธาวี  ตัวแทนจากทีมทริปเปิ้ลพี ( PPP) เล่าถึง แอปพลิเคชัน แพลนโก ที่สร้างสรรค์แนวคิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ กลุ่มไมซ์ในประเทศ ว่า “คอนเซ็ปต์ของ แพลนโก คือ วางแผนการประชุมง่ายๆ กระจายรายได้สู่ชุมชน สำหรับการวางแผนการจัดประชุมและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สำหรับองค์กรที่มีจำนวนผู้เข้าร่วม 50-100 คนครบวงจร และสร้างอีโคซิสเท็ม ขึ้นภายในประเทศไทย โดยแต่ละฝ่ายจะได้ประโยชน์ คือ ส่วนผู้ใช้งาน สามารถวางแผนจบได้ภายใน 1 วัน ส่วนของทีเส็บที่สามารถทราบกลุ่มเป้าหมายได้ คือ สามารถโปรโมทแคมเปญเพื่อให้ผู้ใช้งานมาใช้ ทำให้เห็นการเคลื่อนไหวของข้อมูล และได้รู้ว่าควรจะสร้างอะไรตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้น ในส่วนของบริษัทผู้จัดงานก็จะได้ช่องทางในการเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น

"แพลนโก จะมีส่วนต่างๆ ที่ให้ผู้ใช้บริการกรอกข้อมูลที่ต้องการ ตั้งแต่จุดหมายปลายทาง จำนวนผู้เดินทาง ต้องการร่วมกิจกรรมแบบใด เน้นสถานที่แบบใดเป็นพิเศษ สามารถตรวจสอบสิทธิพิเศษที่จะได้รับสำหรับการเดินทางครั้งนี้ วิเคราะห์และนำเสนอแพลนและราคาที่เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการ พร้อมเปรียบเทียบในรูปแบบอื่นๆ ให้ทราบด้วย ที่สำคัญคือมีฟีเจอร์ที่จะแนะนำรูปแบบกิจกรรมที่จะกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นในงบประมาณที่ใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นทางเลือกขององค์กรด้วย และสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนกับแอปพลิเคชั่นจะได้เอกสารสำเร็จ เพื่อนำเสนอต่อองค์กรได้เลย”  

เปลี่ยนจุดเจ็บเป็นจุดเจ๋งสไตล์รุ่นใหม่

ทีม บียู ทู ฟิวเจอร์ เสนอไอเดีย อี-ริสแบนด์

         ส่วน ประวรรธน์  เลิศอริยบวรสุข ตัวแทนจากทีม บียู ทู ฟิวเจอร์ ผู้นำเสนอไอเดีย "อี-ริสแบนด์" เล่าว่า อุปกรณ์ชิ้นนี้จะเน้นการนับจำนวนผู้เข้าร่วมงาน โดยฟังก์ชั่นการใช้งาน คือ หลังจากผู้เข้าร่วมงาน เมกะ อีเว้นท์  ใดๆ ก็ตามลงทะเบียนก่อนเข้างานแล้วจะได้รับ อี-ริสแบนด์ ที่จะมีลักษณะที่แบ่งตามแนวคิดของแต่ละงาน สามารถสแกน คิวอาร์ โค้ด ผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อให้ได้รับรายละเอียดกำหนดการ แผนที่ในงาน ส่วนลดของบูทต่างๆ ภายในงาน โดยเทคโนโลยีหลักที่ใช้คือ RFID (Radio Frequency Identification) ในแต่ละบูทจะมีตัวรับสัญญาณสแกน อี-ริสแบรนด์ เพื่อนับจำนวนคนที่เข้าไปชม หลังจากได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วก็จะนำมาวิเคราะห์และส่งต่อให้กับบริษัทผู้จัดงานเพื่อนำไปพัฒนาการจัดงานในครั้งต่อๆ ไปได้

เปลี่ยนจุดเจ็บเป็นจุดเจ๋งสไตล์รุ่นใหม่

         ทั้งนี้ จารุวรรณ กล่าวสรุปภาพรวมผลงานวัตกรรมจากความคิดของน้องๆ ว่าแนวคิดของคนรุ่นใหม่หลายทีม โดยเฉพาะทีมผู้ชนะนั้น ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจไมซ์ในกลุ่มที่เลือกได้ดี สามารถนำมาปรับใช้ในอุตสาหกรรมได้จริง ซึ่งทีเส็บมีแผนในการสนับสนุนเพื่อให้ทีมพัฒนาต่อจนเกิดเป็นแพลตฟอร์มสำเร็จ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบการและธุรกิจไมซ์ของประเทศไทยต่อไป

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ