Lifestyle

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป้าหมายคือ "อุทยานแห่งชาติกุยบุรี" เราจะไปส่องความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าตะวันตก

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

จุดชมกระทิงและช้างป่า เห็นวิวทะเลหมอกสวยงาม

       ถ้าจะเดินท่องป่าให้ได้รสชาติคงต้องจับจองช่วงหน้าหนาว เพราะฟ้าฝนเป็นใจเดินไปไหนก็ไม่เปียกแฉะ สำคัญว่าอากาศเย็นสบาย แต่ความจริงเมืองไทยมีแค่สองฤดูไม่ร้อนก็ฝนหรือบางวันสามฤดูยังเคย ดังนั้นอยากไปเที่ยวป่าก็ไม่ต้องรอหน้าไหน เพียงแต่ไปให้ถูกช่วงที่อุทยานเปิดก็พอ! หลายวันก่อนมีโอกาสสัญจรไปกับ “สยามไวเนอรี่” ที่จัดโครงการทดลองพัฒนาโพรงรังเทียมของนกเงือกจากถังไวน์เก่า พร้อมน้อมนำพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 ดำเนินโครงการฟื้นฟูผืนป่ากุยบุรี ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนบูรณาการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สร้างความปลอดภัยให้คนและสัตว์ป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล 

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

     คนเดินป่า (มือสมัครเล่น) คณะเล็กๆ ออกเดินทางด้วยรถตู้จากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป้าหมายคือ “อุทยานแห่งชาติกุยบุรี” เราจะไปส่องความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าตะวันตก โดยมีดัชนีชี้วัดอยู่ที่พระเอกของงานอย่าง “ฝูงกระทิง” และ “นกเงือก” แต่ก็ไม่ลืมพระรองชื่อดังอย่าง “ฝูงช้างป่า” คู่ขัดแย้งกับชาวบ้านที่มักออกมาให้เห็นเป็นประเด็นอยู่เรื่อยๆ เรียกว่างานนี้ได้เจอหน้าค่าตาตัวเป็นๆ กันล่ะ

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

บุญลือ พูลนิล-ชยพล ศรศิลป์

       ใช้เวลาเดินทางราว 4 ชม.ก็ไปถึงจุดหมายเข้าเขตอุทยาน จอดรถปุ๊บฝนก็เทลงมาทักทายโครมใหญ่ ฟ้องถึงความชุ่มชื้นของพื้นที่ได้ดี เราได้พบกับไกด์กิตติศักดฺ์ที่จะพาไปศึกษาธรรมชาติ พี่บุญลือ พูลนิล นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี และ พี่ชยพล ศรศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายบริหารความรับผิดชอบต่อสังคม ของสยามไวเนอรี่ ก่อนเดินสำรวจป่า “พี่ชยพล” เล่าคร่าวๆ ว่า ปัจจุบันบริษัทได้ร่วมฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่าโดยดูแลแปลงหญ้าจำนวน 300 ไร่ ตลอดจนฝายน้ำกึ่งถาวร โป่งเทียม และแหล่งน้ำในแปลงหญ้า ทั้งยังสร้างขวัญและกำลังใจให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าโดยมอบอุปกรณ์ในการปฎิบัติหน้าที่ รวมทั้งดูแลความปลอดภัยให้กับสัตว์ป่าโดยการมอบรางวัลนำจับแก่เจ้าหน้าที่ที่จับกุมผู้ลักลอบล่าสัตว์ป่า จึงทำให้มีสัตว์ป่าเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และทำให้ระบบนิเวศที่เกื้อกูลกันกลับมาคงความสมบูรณ์อีกครั้ง ช่วยให้ชาวบ้านโดยรอบมีรายได้จากการท่องเที่ยว ภาพของความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างในอดีตจึงหายไป

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

กอหญ้าที่ฝูงกระทิงเล็มจะมีลักษณะแบบนี้

       "เราเริ่มโครงการฟื้นฟูป่ากุยบุรีเมื่อปี 2552 โดยร่วมกับหลายภาคส่วนจัดตั้งเป็นภาคีเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี หรือเพาเวอร์ ออฟ กุยบุรี สร้างแนวทางและการจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ทำให้การอนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์อื่นๆ ในพื้นที่โครงการถูกยกให้เป็นต้นแบบของการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างทั้งในระดับประเทศและนานาชาติภายใต้ชื่อกุยบุรีโมเดล” พี่ชยพล เผย 

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

ทักทายฝูงช้างป่า

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

บางช่วงต้องฝ่าลำธารเล็กๆ

      ด้านอดีตคนดูแลป่ามานาน พี่บุญลือ เสริมว่า ทุกวันนี้ผืืนป่ากุยบุรีด้ฟื้นคืนจากที่เคยกังวลว่าสัตว์ป่าอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ กลับพบช้างป่ากว่า่ 300 ตัว กระทิงกว่า 250 ตัว และยังสำรวจพบสัตว์ป่าสงวนหายากอีก 4 ชนิด คือ สมเสร็จ แมวลายหินอ่อน เลียงผา และเก้งหม้อ รวมถึงสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ของโลกอย่างวัวแดง เสือโคร่ง เสือดาว และเสือดำ ซึ่งออกมาเดินเล่น กินหญ้า กินน้ำ ได้อย่างปลอดภัย นักท่องเที่ยวจึงสามารถเข้าไปดูได้ทุกวัน นอกจากนี้ยังมี ‘กระทิงแดง’ ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างกระทิงและวัวแดงให้เห็นด้วย" พี่บุญเลือ เผยขณะจัดแจงพาหนะสำหรับท่องป่าตามเวลานัดแนะ 4 โมงเย็น เวลาดีที่ฝูงกระทิง ช้างป่า ฯลฯ จะออกมาหากิน

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

ฝูงกระทิงครอบครัวใหญ่ออกมาเล็มหญ้าหลังฝนตก

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

       ป่ากุยบุรีค่อนข้างอ่อนไหว ใช่ว่าจ่ายค่าธรรมเนียมแล้วเอารถส่วนตัวลุยทันทีหรือเดินดุ่มๆ ได้เลยเหมือนเพลงฮิตที่เขาร้องกัน เพื่อความปลอดภัยต้องใช้บริการรถขับเคลื่อน 4 ล้อของชาวบ้านที่ร่วมโครงการแล้วต้องมีเจ้าหน้าที่อุทยานไปด้วย เพราะเขาห่วงเรื่องการล่าสัตว์ป่าหรืออาจถูกสัตว์ป่าทำร้ายได้ ค่าบริการคันละ 800 บาท ท้ายกระบะนั่งได้ 8-9 คน จากทางเข้าถึงจุดชมสัตว์ป่าราว 7-8 กม.เป็นดินลูกรัง บางช่วงผ่านธารน้ำเล็กๆ ให้อารมณ์แอดเวนเจอร์ โชคดีที่ฝนตกใหม่ๆ ทำให้หมดปัญหาฝุ่นลูกรังฟุ้งพลอยหมดสนุก

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

เห็นฝูงช้างอยู่ลิบๆ ต้องเร่งฝีเท้า

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

        รถแล่นมาได้ระยะพอเหมาะพอดี ฝูงช้างป่าครอบครัวเล็กๆ มีช้างพ่อ แม่ ลูกอีก 2 ตัวออกมาทักทายในระยะ 200 เมตร กำลังหากินอย่างมีความสุข ความตื่นเต้นเพิ่มขึ้นอีกเมื่อในพุ่มไม้เตี้ยๆ เจอกระทิงตัวเขื่องกำลังเล็มหญ้าหลังฝนตกอย่างสบายใจ แต่พอได้ยินเสียงรถเท่านั้นล่ะก็หันมาจ้องมองอย่างสงสัยก่อนจะหลบเข้าไปในพงป่า นั่งรถต่อไปอีกยิ่งลึกก็ยิ่งเจอ คราวนี้เป็นฝูงใหญ่ทั้งช้าง กระทิง และนกเงือก โดยเฉพาะจุดชมสัตว์ป่าโป่งสลัดได มองลงไปเป็นทุ่งหญ้ากว้างฝูงกระทิงออกมาให้เห็นหนาตาทีเดียว

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

บุกป่าฝ่าน้ำ

      ทริปนี้เรายังมีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์หายากที่มักอาศัยอยู่ในป่าอุดมสมบูรณ์นอย่าง “นกเงือก” หรือ “นกนักอนุรักษ์” ซึ่งก่อนหน้านี้จำนวนลดลงจนแทบจะสูญพันธุ์และกลายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของผืนป่าเป็นอย่างมาก โดยสยามไวเนอรี่ ได้ริเริ่ม “โครงการทดลองพัฒนาโพรงรังเทียมของนกเงือกจากถังไวน์เก่า” เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์ให้กลับมาคงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนให้กับป่าเมืองไทย

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

บ้านใหม่นกเงือกจากถังไวน์

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

นกเงือกตัวผู้คอยหาอาหารป้อนลูก

      โดยเขาได้ทำการอนุรักษ์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งปลูกป่าเพื่อรักษาป่าต้นน้ำ สร้างแหล่งอาหารให้นก รวมถึงการนำวัสดุเหลือใช้ในภาคอุตสาหกรรมอย่างถังไวน์เก่าที่ไม่ใช้แล้ว นำมาดัดแปลงปรับเปลี่ยนเป็นโพรงรังเทียมของนกเงือก เช้าวันไหม่เราจึงต้องเดินทางไปยังไร่องุ่นมอนซูน แวลลีย์ ของบริษัท สยามไวเนอรี่ ในหัวหิน เพื่อชมบ้านใหม่ของนกเงือกซึ่งจะติดตั้งถังไวน์ไว้บนต้นไม้รอจนกว่าจะมีครอบครัวนกเงือกมาอยู่อาศัย ส่วนใหญ่ตัวเมียและลูกน้อยจะเข้าไปอยู่ส่วนตัวผู้มีหน้าที่หาอาหารมาป้อนรอจนกว่าลูกบินได้ถึงจะจากไป อย่างบริเวณไร่องุ่น่ได้ติดตั้งโพรงเทียมไปแล้ว 2 ถัง แล้วยังมีอีก 5 พื้นที่ที่ดำเนินการติดตั้งส่วนใหญ่เป็นแถบภาคใต้เพราะมีนกเงือกชุม

ส่องกระทิงป่ากุยบุรี-ดูวิถีบ้านใหม่นกเงือก

รังนกเงือกบนต้นไม้ใหญ่กลางไร่องุ่น

       เห็นว่าถ้าอนุรักษ์และขยายพันธุ์นกเงือกสำเร็จระบบนิเวศก็จะสมบูรณ์ขึ้น เพราะนกเงือกจะกินผลไม้ป่ากว่า 100 ชนิด แต่ละตัวกินมากถึง 100 เมล็ดต่อวัน กินแล้วคายเมล็ดทิ้งในป่าจึงเป็นการปลูกป่าโดยธรรมชาติ อีกทั้งพฤติกรรมการบินไกลๆ ยังทำให้มีโอกาสนำเมล็ดพันธุ์ต้นไม้ไปกระจายพันธุ์ยังถิ่นอื่นอีกด้วย

       เห็นมั้ยว่าป่าเมืองไทยจะเที่ยวฤดูไหนก็ได้ มีป่าไม้ และสัตว์ป่าให้ชมตลอด มาเที่ยวอย่างมีใจอนุรักษ์กันเถอะ เพื่อมรดกชิ้นสำคัญนี้จะได้อยู่ชั่วลูกหลาน....

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ