Lifestyle

คิดทันสมัย นำนวัตกรรมใส่ “โอท็อป”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จัดประกวด “โมส อินโนเวชั่น โอท็อป อวอร์ด” ปี 2560

    ตัดสินแล้วสุดยอดผู้ประกอบการโอท็อปหนึ่งเดียวในไทยที่นำนวัตกรรมมาผลิตในผลิตภัณฑ์ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล) จัดทำโครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และการประกวด “โมส อินโนเวชั่น โอท็อป อวอร์ด” ปี 2560 เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนรุ่นใหม่ให้มีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาด

คิดทันสมัย นำนวัตกรรมใส่ “โอท็อป”

    โครงการนี้ได้คัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 79 ราย แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ 1.อาหาร 2.เครื่องดื่ม 3.สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 4.ผ้าและเครื่องแต่งกาย 5.ของใช้ของตกแต่งและของที่ระลึก และ 6.บริการและธุรกิจรูปแบบใหม่ มาร่วมพัฒนาสินค้ากับทีมนักวิจัยจากหลายสาขานานกว่า 5 เดือน ก่อนจะนำมาสู่ขั้นตอนการประกวดโมส อินโนเวชั่น โอท็อป อวอร์ด โดยเกณฑ์การตัดสินได้ยึดหลักความใหม่ในตลาด ความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการผลิต การนำนวัตกรรมมาใช้ผลิต ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคม      

คิดทันสมัย นำนวัตกรรมใส่ “โอท็อป”

อารีรัตน์ จัดเสือ นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่นอนโฟมยางพาราลดแผลกดทับ

    บรรยากาศมอบรางวัลเต็มไปด้วยความคึกคัก ผู้ชนะเลิศจาก กลุ่มของใช้และของตกแต่ง ได้แก่ อารีรัตน์ จัดเสือ เจ้าของผลิตภัณฑ์ที่นอนโฟมยางพาราลดแผลกดทับ จ.กำแพงเพชร โดยเจ้าตัวเผยว่าอยากนำยางพารามาใช้แทนนุ่นจึงทำโฟมยางพาราให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในช่องผ้ามาทำเป็นก้อนที่นอนสำหรับผู้ป่วย ข้อดีคือช่วยทำให้นอนสบายและลดการเกิดแผลกดทับได้เป็นอย่างดี ก่อนเข้าโครงการ การจัดเรียงชิ้นฟองยางไร้ระเบียบ แต่สามารถลดแรงกดทับแล้วต้านกลับได้ ขณะเดียวกันผิวหนังผู้ป่วยไม่ให้แนบติดกับที่นอนจึงลดการเกิดแผลกดทับได้ 

คิดทันสมัย นำนวัตกรรมใส่ “โอท็อป”

ชมนาด ศรีเปารยะ (ขวาสุด) เจ้าของผลิตภัณฑ์สะตออบแห้งชนิดคืนรูปสด “ชมนาด”

     ผู้ชนะเลิศจาก กลุ่มอาหาร ได้แก่ ชมนาด ศรีเปารยะ เจ้าของผลิตภัณฑ์สะตออบแห้งชนิดคืนรูปสด “ชมนาด” จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเผยแนวคิดว่าเห็นสะตอล้นตลาดน่าจะนำไปแปรรูปได้ จึงเริ่มคิดแปรรูปเป็นสะตอแห้งแต่ต้องคืนรูปได้เป็นสะตอสด จากนั้นนำแนวคิดนี้ปรึกษากับ ผศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ คณบดีและอาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร ผ่านกระบวนการทางฟิสิกส์มาช่วยในการยืดอายุการเก็บรักษาสะตอได้นานถึง 6-12 เดือน เวลารับประทานเพียงนำไปแช่น้ำไว้ 2-3 ชั่วโมง เมล็ดสะตอจะคืนสภาพกลับมาใกล้เคียงกับเมล็ดสะตอที่แกะจากฝักสด ซึ่งโครงการนี้ได้เติมเต็มส่วนที่ขาดและได้เปิดมุมมองด้านการหาตลาด รวมถึงพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์และการสร้างเครือข่ายด้านการตลาดแก่ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพทางด้านผลิต นวัตกรรม การตลาด

คิดทันสมัย นำนวัตกรรมใส่ “โอท็อป”

ศริสา เข็มวัน เจ้าของผลิตภัณฑ์ “Banana Lip Balm

    ส่วนผู้ชนะเลิศจากกลุ่ม สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ได้แก่ ศริสา เข็มวัน เจ้าของผลิตภัณฑ์ “Banana Lip Balm ลิปบาล์มจากเปลือกกล้วยไข่” จ.กำแพงเพชร, ผู้ชนะเลิศกลุ่ม ผ้าและเครื่องแต่งกาย ได้แก่ ณัชรัตน์ ชุมพานิชวศุตม์ จ.เชียงใหม่ เจ้าของผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่บาติกสีธรรมชาติ ผ้าบาติกที่ใช้วัสดุสมุนไพรแทนเทียนในการเพ้นท์ และผู้ชนะเลิศจาก กลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ ฐานทัพ โทนุบล เจ้าของผลิตภัณฑ์ “ชามัลเบอร์รี่แบบสติ๊ก ชงพร้อมดื่ม” จ.อุตรดิตถ์   

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ