Lifestyle

 ชวนสัมผัส“ลูกนากเล็กเล็บสั้น"ในวันแม่  

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 ชวนสัมผัส“ลูกนากเล็กเล็บสั้น"ในวันแม่  

 

     พิทักษ์ อุ่นซ้อน ผู้อำนวยการสวนสัตว์ดุสิตได้จัดให้มีกิจกรรมสำคัญในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2560 นี้นอกจากนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติแล้วยังให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ เล่นเกมส์ ตอบปัญหาชิงรางวัล ชมการสาธิตการให้อาหารสัตว์ ซึ่งทุกท่านจะได้รับความรู้ควบค่กับความสนุกสนาน และยังได้พบกับสมาชิกเกิดใหม่“ลูกนากเล็กเล็บสั้น”ยังไม่ทราบเพศอายุ 3 เดือน เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 ที่ผ่านมาชื่อ“กะตังค์”เกิดจากแม่นากเล็กเล็บสั้นชื่อ“กระติ๊บ”และพ่อนากเล็กเล็บสั้นชื่อ“ใบพัน” ซึ่งขณะนี้ลูกนากมีสุขภาพแข็งแรงดี

     นากเล็บสั้น เป็นนากที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ปัจจุบันจำนวนประชากรนากในธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็วจากการถูกบุกรุกทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย การเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในสวนสัตว์ดุสิตนั้น ถือเป็นอีกทางรอดหนึ่งเพื่อให้สัตว์ป่าเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตได้ต่อไปในอนาคต ปัจจุบันสวนสัตว์ดุสิตมี“นากเล็กเล็บสั้น”ทั้งหมด 5 ตัว ประกอบด้วยเพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 3 ตัวและไม่ทราบเพศอีก 1 ตัว

    สำหรับ“กระติ๊บ”เป็นนากเล็บสั้นที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก มีขนสีน้ำตาลเข้มบริเวณด้านบนและขนสีอ่อนด้านล่างของลำตัว ส่วนบริเวณใบหน้าและลำคอมีสีเทา สีขาวหรือสีครีม มีความแตกต่างจากนากชนิดอื่นคือเล็บสั้นความยาวไม่พ้นนิ้ว ทำให้จับเหยื่อได้ถนัดมือเป็นสัตว์สังคมทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันเลี้ยงลูกหากินอยู่กันเป็นฝูง ซึ่งมีโอกาสน้อยครั้งที่จะพบครอบครัวนากฯ ช่วยกันเลี้ยงดูลูกให้เห็นอย่างใกล้ชิดเหมือนที่สวนสัตว์ดุสิต 

      ผลจากการบุกรุกทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้ประชากรนากฯในธรรมชาติลดลง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและถิ่นที่อาศัยของนากฯ ทำให้นากเล็บสั้นอยู่ในสถานะมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์และยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535อีกด้วย  ซึ่งการอนุรักษ์นอกถิ่นอาศัยหรือการเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในสวนสัตว์ดุสิตนั้น ถือเป็นอีกทางรอดหนึ่งเพื่อให้สัตว์ป่าเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตได้ต่อไปในอนาคต 

       พฤติกรรมของนากเล็กเล็บสั้นจะว่ายน้ำเก่งและหากินในน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 4-12 ตัว ตัวเมียเป็นจ่าฝูง ตัวผู้ออกหาอาหารและทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันเลี้ยงลูก พบมากในอินเดียตอนใต้ จีนตอนใต้ไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉลียงใต้และในประเทศไทยสามารถพบเห็นได้ทุกภูมิภาค การสืบพันธุ์สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ตั้งท้องนานประมาณ 2 เดือนถึง 2 เดือนครึ่ง ออกลูกครั้งละ 2-7ตัว ส่วนอาหารจะกินหอย ปู ปลาแมลงกบและสัตว์เลื้อยคลาน ในสวนสัตว์จะให้ปลาทู ปลาข้างเหลืองร่วมกับวิตามินเป็นอาหารหลักและเป็นสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

                                   ...........................................................................................................................

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ