Lifestyle

ป่าอยู่ นกอยู่ คู่บูโด "ชุมชนแห่งนกเงือก"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บนเทือกเขาบูโดฝั่งตะวันตกระดับความสูงประมาณ 500 ม. อยู่ในพื้นที่บ้านตาเปาะ ต.สุวารี อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส บริเวณนี้เสมือนชุมชนของนกเงือกที่อาศัยโพรงบนต้นไม้ใหญ่

      ในบรรดานกเงือกที่อาศัยอยู่กลางผืนป่าบนเทือกเขาบูโดซึ่งกินพื้นที่กว้างไกลเชื่อมรอยต่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คือนราธิวาส ปัตตานี และยะลา นับตั้งแต่มีการสำรวจของทีมนักวิจัยโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบเทือกเขาบูโด กว่า 200 โพรงที่ถูกบันทึกข้อมูลเอาไว้ พบว่านกเงือกหัวแรด (Rhinoceros Hornbill) มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับสองรองจากนกกกหรือนกกาฮัง

ป่าอยู่ นกอยู่ คู่บูโด "ชุมชนแห่งนกเงือก"

      บนเทือกเขาบูโดฝั่งตะวันตก ระดับความสูงประมาณ 500 เมตร ซึ่งอยู่ในพื้นที่บ้านตาเปาะ ต.สุวารี อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ที่นี่เสมือนชุมชนของนกเงือกที่อาศัยโพรงบนต้นไม้ใหญ่อาทิ ตะเคียนชันตาแมว เพื่อขยายเผ่าพันธุ์อยู่ในช่วงเวลานี้ มีทั้งนกชนหิน นกกกหรือนกกาฮัง นกเงือกกรามช้างหรือนกกู๊กี๋ และ นกเงือกหัวแรด ต่างก็จับจองรังรักในโพรงบนต้นไม้ที่อยู่ไม่ห่างกันมาก
      หากยังจำกันได้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาได้นำภาพนกเงือกชนหิน มาให้ชมกันแล้วครั้งหนึ่ง  ส่วนในวันนี้ ( 20 พ.ค.) จะนำภาพนกเงือกหัวแรดที่บันทึกได้ขณะนำอาหารมาป้อนให้ตัวเมียที่อยู่ในโพรง ท่ามกลางฝนพรำกลางป่าใหญ่ ซึ่งโพรงนกเงือกหัวแรดดังกล่าวอยู่ห่างจากโพรงของนกชนหินประมาณ 20 เมตรเท่านั้นเอง

ป่าอยู่ นกอยู่ คู่บูโด "ชุมชนแห่งนกเงือก"

 

ป่าอยู่ นกอยู่ คู่บูโด "ชุมชนแห่งนกเงือก"

      ลักษณะทั่วไปของนกเงือกหัวแรด เป็นนกเงือกที่มีขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มวัยจะมีความยาวตั้งแต่หัวจรดปลายหางกว่า 1 เมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย โดยตัวเมียมีขนาดลำตัวเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย นอกนั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก ขนบนปีกและตัวสีดำ ท้องและหางมีสีขาวและมีแถบสีดำพาดตามขวางตรงใกล้ปลายหาง คล้ายกับนกกาฮัง โหนกบริเวณเหนือปากเป็นรูปโค้งขึ้นทางด้านบน ตรงโคนโหนกมีสีแดงบริเวณตอนหน้าของส่วนที่โค้งขึ้นทางด้านบน ซึ่งตัวผู้จะมีแถบสีดำคาดด้วย ส่วนนกตัวเมียจะไม่มี

ป่าอยู่ นกอยู่ คู่บูโด "ชุมชนแห่งนกเงือก"

 

ป่าอยู่ นกอยู่ คู่บูโด "ชุมชนแห่งนกเงือก"

 

ป่าอยู่ นกอยู่ คู่บูโด "ชุมชนแห่งนกเงือก"

      นับว่าเป็นนกเงือกที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะโหนกสีแดงสะดุดตา ดังนั้นมันจึงต้องตกเป็นเป้าหมายของนักล่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันนกเงือกหัวแรดได้ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ หากไม่มีการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติกันอย่างจริงจัง นับตั้งแต่นี้ต่อไปเราอาจจะเห็นแค่นกเงือกตัวซีดๆที่ไม่ค่อยสมบูรณ์แข็งแรง เพราะถูกจำกัดพื้นที่ในการเลี้ยงบินร่อนมาขออาหารตามสวนสัตว์เปิดต่างๆที่มีอยู่หลายแห่งในประเทศไทยเท่านั้น (ข้อมูลนกเงือกหัวแรดบางส่วน จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
เรื่อง-ภาพ จรูญ ทองนวล NationPhoto

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ