Lifestyle

“เครื่องโขน” โชว์ความอลังถึงลอนดอน คราฟต์ วีก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สานต่อพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9

“เครื่องโขน” โชว์ความอลังถึงลอนดอน คราฟต์ วีก

ภาวิณี บุญเสริม-พัฒนพงษ์ แสงรื่น

          เพื่อสานต่อพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงเห็นคุณค่าและสืบสานการแสดงโขนให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินไทย อันส่งผลให้เกิดการพัฒนาและฟื้นฟูงานหัตถศิลป์ชั้นสูงต่างๆ จนเกิดเป็นเครื่องโขนพระราชทาน  โดยเมื่อเร็วๆ นี้ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้รับเชิญให้นำนิทรรศการเครื่องโขน และการแสดงโขนไปร่วมงาน “ลอนดอน คราฟต์ วีก 2017” ซึ่งริเริ่มขึ้นจากพระราชปณิธานของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ที่ทรงมีพระประสงค์ให้งานดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการจัดแสดงเพื่อเชิดชูองค์ความรู้และทักษะการสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์จากช่างฝีมือทั่วโลก และเพื่อส่งเสริมงานด้านช่างฝีมือซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีรายละเอียดสูง โดยมี พิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอน และภริยา ทิพสุดา สุวรรณะชฎ ให้เกียรติมาร่วมงาน ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

“เครื่องโขน” โชว์ความอลังถึงลอนดอน คราฟต์ วีก

ดร.อนุชา ทีรคานนท์-ณัฏฐวรรณ ตันหยงมาศ

          งานนี้มีการจัดการแสดงโขนสั้นๆ ตอน “ทศกัณฑ์เกี้ยวนางสีดาแปลง” และสาธิตการปักผ้าในงานเลี้ยงเปิดงานลอนดอน คราฟต์ วีก ที่พิพิธภัณฑ์วิคตอเรียและอัลเบิร์ต รวมทั้งจัดแสดงที่ Two Temple Place และที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน สร้างประทับใจให้แก่แขกผู้มีเกียรติที่ได้ร่วมรับชมเป็นอย่างมาก โดย ณัฏฐวรรณ ตันหยงมาศ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ เปิดเผยว่า การนำนิทรรศการเครื่องโขนและการแสดงโขนไปจัดแสดงที่งานลอนดอน คราฟต์ วีก ครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่ทรงฟื้นฟูงานโขนและประณีตศิลป์แขนงต่างๆ และเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์เรื่องงานหัตถศิลป์ชั้นสูงที่หาชมได้ยากของไทย ทั้งการปักผ้า การทำหัวโขน รวมทั้งกระบวนการแต่งกายโขนที่ยังยึดถือวิธีการแต่งกายแบบโบราณ คือการเย็บ และความวิจิตรของการตกแต่งประดับและลวดลายของเครื่องแต่งกายโขน ซึ่งทำให้ผู้เข้าชมต่างชาติได้รู้จักประเทศไทยในแง่ของศิลปวัฒนธรรมที่มีรากฐานมายาวนาน

“เครื่องโขน” โชว์ความอลังถึงลอนดอน คราฟต์ วีก

พิษณุ-ทิพสุดา สุวรรณะชฎ

          “นอกจากนี้ชาวต่างชาติได้ให้ความสนใจและมีความตั้งใจที่จะศึกษารายละเอียดของเครื่องแต่งกายโขน โดยเฉพาะวิธีการแต่งกายโขนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ใช้ทักษะเฉพาะ และมีหลายขั้นตอน เพราะส่วนใหญ่อาจจะเคยได้เห็นการแสดงโขนตามสื่อต่างๆ บ้างแต่ไม่เคยทราบถึงเบื้องหลังของการจัดทำเครื่องโขนและการแต่งกายที่ใช้เวลากว่าครึ่งชั่วโมงในการแต่งกายนักแสดงแต่ละคน ซึ่ง ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ และเป็นภัณฑารักษ์พิเศษของนิทรรศการเครื่องโขน ได้อธิบายแต่ละขั้นตอนให้ชาวต่างชาติได้เข้าใจถึงศิลปวัฒนธรรมของไทยให้ชัดเจนขึ้น" ณัฏฐวรรณ กล่าว 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ