Lifestyle

'เพรียงเรือ'สายพันธุ์ใหม่ สัตว์พิศวงริมอ่าวฟิลิปปินส์ 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เพรียงเรือ"สายพันธุ์ใหม่ สัตว์พิศวงริมอ่าวฟิลิปปินส์ 

               นักวิทยาศาสตร์ พบเพรียงเรือสายพันธุ์ใหม่ อาศัยอยู่ในเปลือกที่มีลักษณะเหมือนงาช้าง และมีความยาวถึง 1.5 เมตร แถมยังสร้างเปลือกได้เอง

              อันที่จริงแล้ว เพรียง ซึ่งเป็นสัตว์่ในตระกูลปลาหมึก และมีลักษณะคล้ายคล้ายหนอน ถูกค้นพบมานานหลายศตวรรษแล้ว แต่ยังไม่มีใครเคยเห็นว่ามันสร้างเปลือกได้ด้วยตัวเอง

            อย่างไรก็ดี ระหว่างการออกสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์สังเกตกลุ่มเพรียงเรือสายพันธุ์ Kuphus polythalamia บริเวณที่ตื้นๆ ริมฝั่งอ่าวแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ โดยพบว่า เพรียงฝังตัวแบบแนวตั้งจมโคลนอยู่ และเป็นครั้งแรกที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้เห็นเปลือกของเพรียงยักษ์ ที่ยังมีตัวอยู่ข้างในเป็นครั้งแรก

              นักวิทยาศาสตร์ได้เก็บตัวอย่างเพรียงชนิดนี้กลับมาศึกษาต่อที่ห้องทดลองจำนวน 5 ตัว โดยค่อยๆ นำแต่ละตัวออกมาจากเปลือก โดยเพรียงเรือยักษ์เหล่านี้ มีรูปร่างเรียวยาว สีดำ ผิวมันวาว ตรงปลายมีหางแยกเป็น 2 แฉก เมื่อวัดความยาวพบว่า มีขนาดเท่าไม้เบสบอลหรือราว 1 เมตร

            เพรียงเรือยักษ์ได้รับการขนานนามว่าเป็น ยูนิคอร์นสำหรับนักชีววิทยาทางทะเล จากการที่เป็นสัตว์หายากตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้มีโอกาสศึกษาหนึ่งในเพรียงเรือยักษ์ก็ได้พบถึงความพิศวงที่แท้จริง

            ชื่อของเพรียงเรือได้มาจากพฤติกรรมการกินไม้ที่อยู่ตามเรือ ซึ่งบันทึกเมื่อ 412 ปีก่อนคริสตศักราช นักเดินเรือหลายคนต้องปกป้องเรือด้วยการทาน้ำยาที่มีส่วนผสมของน้ำมัน กำมะถัน และสารหนูเพื่อไม่ให้เพรียงเรือมากัดกินไม้ ทั้งยังเป็นสัตว์ที่มีกาบคู่ จึงจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับหอมแมลงภู่ หอยกาบ และหอยนางรม ต่างกันตรงที่เพรียงเรือส่วนใหญ่มีลำตัวยาว เปลือย ทั้งยังลดขนาดเปลือกหอยกลายเป็นแผ่นจานเล็ก ๆ ข้าง ๆ ส่วนหัวเพื่อใช้ในการเจาะไม้ลงไปกิน

         แต่งานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้ยังระบุว่า แม้จะมีลำตัวยาวมาก แต่เพรียงเรือกลับอวัยวะย่อยอาหารที่สั้นลงไปมาก และยังมีกลวิธีเอาตัวรอดที่ต่างออกไปอีกด้วย

             แดน ดิสเทล ผู้ร่วมเขียนงานวิจัย จากศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์นของสหรัฐ บอกว่า เพรียงส่วนใหญ่มีขนาดเพียงไม่กี่นิ้ว เพราะขยายขนาดตัวให้ใหญ่ขึ้นมากกว่าขนาดเศษไม้ที่มันกินเข้าไปไม่ได้แล้ว หากลำตัวใหญ่เกินไปอาจทำให้มันอดตายได้ เว้นแต่เพรียงเรือ K. polythalamia ที่อาศัยอยู่ในโคลน กลับไม่มีข้อจำกัดนี้ เนื่องด้วยการพึ่งพิงกำมะถันในดินโคลน ทำให้มันได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเต็มที่ เป็นผลให้มันเติบโตเร็วกว่าและขนาดใหญ่กว่าเพื่อนร่วมสายพันธุ์

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ