Lifestyle

‘พะยูนอินเดียตะวันตก’ 2 ชนิด รอดสถานะ ‘ใกล้สูญพันธุ์’

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

‘พะยูนอินเดียตะวันตก’ 2 ชนิด รอดสถานะ ‘ใกล้สูญพันธุ์’

                  รายงานสิ่งแวดล้อมอันเลวร้ายมีอยู่ทุกหนแห่ง แต่วันนี้มีข่าวดีเล็กๆ เกิดขึ้น ก็คือ พะยูนอินเดียตะวันตก (Trichechus manatus) หลุดพ้นจากสถานะสัตว์ใกล้สูญพันธุ์แล้ว เมื่อไม่นานมานี้ องค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ (เอฟดับเบิลยูเอส) แถลงว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วและการพัฒนาที่อยู่อาศัยของพะยูน ทำให้เอฟดับเบิลยูเอสลดสถานะพะยูนจากสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ให้เหลือเพียงสัตว์ที่เสี่ยงสูญพันธุ์เท่านั้น

               คำตัดสินของเอฟดับเบิลยูเอส ระบุว่า พะยูนอินเดียตะวันตกทั้ง 2 ชนิด คือ พะยูนฟลอริดา (Trichechus manatus latirostris) และพะยูนแอนทิลเลียน (Trichechus manatus manatus) จะได้รับการคุ้มครองจากทางการสหรัฐ เช่นเดียวกับสัตว์ที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ตัวอื่น ๆ พะยูนฟลอริดาจัดอยู่ในประเภทสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เมื่อปี 2510 ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ปี 2509 และบรรจุพะยูนแอนทิลเลียนเข้าไปด้วยเมื่อปี 2513 ขณะที่การทบทวนสถานะใหม่ของพะยูนเหล่านี้สะท้อนถึงการรักษาอนาคตของสัตว์ พะยูนที่เสี่ยงสูญพันธุ์ชนิดหนึ่งยังอยู่ระหว่างการพิจารณาสถานะมีความเสี่ยงที่จะเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งอาจเป็นพะยูนทุกชนิดในสายพันธุ์นั้นๆ หรือแค่บางสายพันธุ์ย่อยเท่านั้น

                 ความพยายามอนุรักษ์ของรัฐบาลท้องถิ่น อุตสาหกรรม ธุรกิจ และเอกชน เป็นผลให้เกิดการฟื้นฟูพะยูนมากขึ้น แม้ว่าความท้าทายยังคงมีอยู่ก็ตาม การให้พะยูนปฏิสัมพันธ์กับเรือน้อยลง เป็นสิ่งที่เอฟดับเบิลยูเอสให้ความสำคัญอันดับแรกๆ ในความร่วมมือกับหน่วยป้องกันชายฝั่งสหรัฐ และชุมชนริมฝั่งในฟลอริดา ส่วนโครงการนำร่องอื่นๆ จะควบคุมมลพิษในน้ำ และการใช้อุปกรณ์จับปลาภายในพื้นที่อาศัยของพะยูน รวมถึงเฝ้าสังเกตการเข้าถึงบริเวณน้ำอุ่นที่อาจช่วยให้สัตว์อยู่รอดจากน้ำที่เย็นจัด

             เอฟดับยูเอส ประมาณการไว้ว่า พะยูนแอนทิเลียนราว 6,300 ตัวอาศัยอยู่ในทะเล ระหว่างชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกจนถึงบราซิลและทะเลแคริบเบียน ขณะที่พะยูนฟลอริดามีจำนวนราว 6,620 ตัว อาศัยในแถบฟลอริดา

           “ปัจจุบัน เรายอมรับความก้าวหน้าที่สำคัญในการอนุรักษ์ประชากรพะยูน พร้อมยืนยันถึงความมุ่งมั่นฟื้นฟูต่อไปจนประสบความสำเร็จ”

              นายจิม เคิร์ธ รักษาการณ์แทนผู้อำนวยการเอฟดับเบิลยูเอส กล่าว พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่มีหัวรูปไข่ และครีบที่แบน แม้จะดูเป็นสัตว์อุ้ยอ้าย หางที่ดูแบนราบแต่ทรงพลังทำให้พะยูนว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็วราว 8 กม./ชม. หรืออาจเร็วถึง 24 กม./ชม. อีกทั้งดูสง่างามอีกด้วย ทั้งนี้พะยูนมีขนาดลำตัว 2.4-4 เมตร และมีน้ำหนักระหว่าง 200-590 กก.

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ