Lifestyle

ลิงไร้หาง’ สัตว์ไร้สุนทรี ‘ดนตรี’ 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ลิงไร้หาง’ สัตว์ไร้สุนทรี ‘ดนตรี’ 

            ลิงชิมแปนซีและลิงไร้หางชนิดต่าง ๆ ในชีวิตจริง ต่างจากตัวการ์ตูน “เมาคลีลูกหมาป่า” อย่างสิ้นเชิง เพราะพวกมันไม่ชื่นชมในเสียงดนตรีแม้แต่น้อย ทั้งยังไม่ตั้งวงดนตรีเล่นเองด้วย นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้ว่า ลิงยักษ์ไร้หาง รวมถึงชิมแปนซี และอุรังอุตัง อย่าง “คิง ลูอี” ราชาแห่งลิงบันดาโลค ในภาพยนตร์แอนิเมชั่น เรื่องเมาคลีลูกหมาป่า (The Jungle Book) ของวอลท์ ดิสนีย์ ไม่เคยชื่นชมในเสียงเพลงเลย

             พฤติกรรมที่ทำให้สัตว์ตระกูลวานร มีความแตกต่างจากมนุษย์ หาก “คิง ลูอี” เป็นลิงจริงๆ จะไม่ร้องรำทำเพลงอะไรทั้งสิ้น เว้นแต่ว่ามันจะพยายามเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์อย่างเช่นในเพลง “ไอ วอนนาบี ไลค์ ยู” ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารพับลิค ไลบรารี ออฟ ไซแอนซ์ วัน ชี้ว่า แม้ว่าลิงชิมแปนซีจะมีรหัสพันธุกรรมคล้ายมนุษย์ถึง 96% เจ้าวานรกลับไม่มีการรับรู้เสียงดนตรีเลย ไม่ว่าจะฟังเพลงของบีโธเฟน หรือจัสติน บีเบอร์ กลับกลายเป็นเสียงอันไร้ความหมายไป

           นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยยอร์กของอังกฤษสร้าง “ตู้เพลงชิมแปนซี” ที่ให้ลิงในกรงเลือกเพลงที่ชอบ ไม่ว่าจะเพลงคลาสสิค ป็อป หรือเพลงร็อค แม้กระทั่งเสียงเงียบ ลิงที่อาศัยในสวนสัตว์เอดินเบอระ และศูนย์ดูแลชิมแปนซีแห่งชาติ รัฐเท็กซัสของสหรัฐ ได้ฟังเพลงของโมสาร์ท บีโธเฟน อเดล และจัสติน บีเบอร์ พบว่า ไม่มีลิงตัวไหนแสดงความสนอกสนใจกับเพลงใด ๆ เลย หรือแม้แต่เสียงเงียบก็ตาม

              เอมมา วอลเลซ หัวหน้าคณะวิจัยจากภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยยอร์ก เล่าว่า ดนตรีไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับลิงชิมแปนซีในกรง เช่นเดียวกับลิงอุรังอุตังที่แยกแยะเสียงดนตรีออกจากเสียงรบกวนดิจิทัลไม่ได้ ผลการทดลองยังย้ำถึงความเป็นไปได้ที่ว่า สุนทรีในดนตรีเป็นคุณสมบัติเฉพาะของมนุษย์ สวนสัตว์หลายแห่งเปิดเพลงตามสายให้สัตว์วานรฟัง เนื่องจากเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของของสัตว์ ทั้งยังเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ดูแลสวนสัตว์อีกด้วย

           ซึ่งเธอเห็นว่า เพลงที่เปิดอยู่ในปัจจุบันไม่มีผลทางบวกต่อสวัสดิการสัตว์เหล่านี้ และไม่มีผลกระทบทางลบเช่นกัน

           “การเปิดเพลงไม่ทำให้ประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างพัฒนาการให้กับสัตว์วานรก็จริง แม้ว่าสัตว์มีทางเลือกได้หลีกเลี่ยงเสียงเหล่านี้ เพลงก็ยังเปิดให้ผู้อนุบาลสัตว์ได้ฟังอยู่ดี”

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ