Lifestyle

‘ที-เร็กซ์’ นักรักผู้อ่อนไหว 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

‘ที-เร็กซ์’ นักรักผู้อ่อนไหว 

               ‘ที-เร็กซ์’ นักรักผู้อ่อนไหวผลการศึกษาชิ้นใหม่แสดงให้เห็นว่า แม้สัตว์ดึกดำบรรพ์ อย่างไทรันโนซอรัส เร็กซ์ หรือ “ทีเร็กซ์” จะเป็นนักล่าตัวใหญ่ยักษ์ ที่มีฟันแหลมคมอันน่ากลัว แต่ไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดนี้ กลับเป็นนักรักที่มีความอ่อนหวานไม่แพ้ใคร ส่วนที่อ่อนไหวมากเป็นพิเศษของทีเร็กซ์ ก็คือ จมูกที่ไวต่อการสัมผัส มากพอกับปลายนิ้วของมนุษย์ และยังเป็นอวัยวะส่วนสำคัญในการแสดงออกถึงความรัก อันเป็นลักษณะที่ดูขัดกับฟันแหลมคมที่มีความยาวราว 23 ซม. และขนาดอันใหญ่โตด้วยความสูงที่มากกว่า 12 เมตร

               นอกจากจะใช้จมูกเพื่อตรวจตราสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว ใช้สร้างรัง และเคลื่อนย้ายไข่ด้วยความระมัดระวังแล้ว ทีเร็กซ์ยังสนุกกับการนำใบหน้าไปถูกับคู่รักของตัวเองด้วย รายงานที่ตีพิมพ์ลงในวารสารไซแอนติฟิก รีพอร์ตส์ ระบุว่า “ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ อาจถูไถใบหน้ากันและกัน เพื่อเกี้ยวพาราสีก่อนการผสมพันธุ์” ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับทีเร็กซ์ ได้อานิสงส์จากการค้นพบสมาชิกใหม่ในตระกูลไทรันโนซอรัสที่เรียกว่า แดสพลีโตซอรัส ฮอร์เนอรี (Daspletosaurus horneri) ในรัฐมอนแทนา สหรัฐ ไดโนเสาร์เหล่านี้มีชีวิตก่อนที่ทีเร็กซ์จะถือกำเนิดขึ้นเมื่อราว 74 ล้านปีก่อน และมีขนาดเล็กกว่ามาก ด้วยความสูงที่ราว 7 เมตร ฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบที่ผิดแผกไม่จากธรรมดา และใบหน้าของพวกมันก็แสดงให้เห็นถึงการค้นพบอันน่าทึ่ง

              บรรดานักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไดโนเสาร์ และไทรันโนซอรัสชนิดต่างๆ รวมถึง ทีเร็กซ์ มีเกล็ดขนาดใหญ่ลักษณะแบน และมีผิวหนัง ที่หยาบหนา ทำหน้าที่เหมือนเกราะปกป้องบริเวณรอบปาก และขากรรไกร พวกเขายังค้นพบว่า บริเวณพื้นผิวหนาๆ ของจมูกไดโนเสาร์เหล่านี้ มีรูประสาทเล็กๆ อยู่มากมาย ซึ่งรูเหล่านี้เอง ที่ทำให้ใบหน้าของไดโนเสาร์ ไวต่อการสัมผัส ลักษณะแบบเดียวกันนี้ ยังมองเห็นได้ในทุกวันนี้ ในสัตว์ประเภทจระเข้ และอัลลิเกเตอร์ ที่มีต่อมขนาดเล็กจิ๋วที่ไวต่อการสัมผัสหลายพันต่อมอยู่โดยรอบขากรรไกร                      โธมัส คาร์ หัวหน้าคณะวิจัยจากวิทยาลัยคาร์เธจ รัฐวิสคอนซินของสหรัฐ บอกว่า การที่สัตว์ต่าง ๆ มีรูประสาทเล็ก จำนวนมากแบบเดียวกับไทรันโนซอรัส ชี้ให้เห็นว่า พวกมันมีผิวหนังที่ไวต่อการสัมผัสอย่างมากเช่นเดียวกัน เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 รับบทบาทเป็นตัวรับความรู้สึกพิเศษ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และนกอีกหลายชนิด เพื่อส่งสัญญาณที่จับได้จากหนวด หรือระบบจับกระแสไฟฟ้าของสัตว์ออกไป ซึ่งจะทำให้เกิดรังสีอินฟาเรดแผ่กระจายออกจากตัวสัตว์เลือดอุ่น ขณะที่จระเข้รับความรู้สึกได้ทั้งจากการสัมผัส และแรงสั่นสะเทือนภายในน้ำ ผ่านทางเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ส่วนนกอพยพก็ใช้เส้นประสาทส่วนนี้สำหรับตรวจจับส

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ