Lifestyle

“ลามะ”สัตว์เลี้ยงทำเงินแห่งเทือกเขาแอนดีส อเมริกาใต้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - โต๊ะข่าวสัตว์เลี้ยง

           สัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีหน้าตาเป็นเอกลักษณ์เป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับอูฐ แต่มันจะไม่มีโหนกนูนอยู่ที่หลัง ประโยชน์ของลามะมีอยู่มากมาย ทั้งเป็นสัตว์ที่ใช้ในการขนส่ง หนังของมันสามารถใช้ทำสินค้าหนังสัตว์ได้ ส่วนขนมันสามารถนำไปทำเชือก พรม และผ้า

          ลามะ เป็นสัตว์ท้องถิ่นของเทือกเขาแอนดีส ในทวีปอเมริกาใต้เคยเป็นสัตว์สำหรับชนชั้นสูงของเผ่าอินคา ก่อนที่ชาวสเปนจะเข้าไปล่าอาณานิคมที่โบลิเวียเมื่อศตวรรษที่ 16 และเริ่มล่าลามะเพื่อเอาขนของมัน จนจำนวนประชากรลามะที่อาศัยตามเทือกเขาแอนดีสในโบลิเวียลดจำนวนลงจากยุคก่อนล่าอาณานิคมที่มีประมาณ 500,000 ตัว เหลืออยู่เพียง 2,000 ตัว เมื่อปี 2511  

          ด้วยเหตุที่จำนวนประชากรลามะลดลงอย่างน่าใจหาย จึงทำให้โบลิเวีย ต้องหาทางอนุรักษ์ลามะ โดยผุดโครงการรณรงค์ให้ชาวบ้านเพาะพันธุ์ลามะ และนำขนไปขาย ซึ่งโครงการนี้ได้ประโยชน์ทั้งเป็นการเพิ่มจำนวนประชากรลามะไม่ให้หายไปจากโบลิเวีย อีกทั้งยังเป็นการสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน เพราะขนของลามะสามารถนำไปขายได้ราคางาม

            นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านในโบลิเวียจึงเริ่มเพาะพันธุ์ลามะเพื่อนำขนไปขายเป็นการสร้างรายได้ให้ตัวเองส่วนจำนวนประชากรลามะก็เพิ่มขึ้น ถือเป็นความสำเร็จของดครงการเพาะพันธุ์ลามะ โครงการการเพาะพันธุ์ลามะซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2541 โดยกลุ่มเอ็นจีโอ นักวิจัย และชุมชนชาวไร่ท้องถิ่น ประสบความสำเร็จเนื่องจากชาวบ้านได้ประโยชน์จากการขายขนลามะเพื่อนำไปทำเป็นผ้าคลุมไหล่และผ้าห่มในราคาหลายพันดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นสินค้าที่กำลังขาดตลาดและมีคุณภาพดี โดยขนลามะที่เพิ่งตัดใหม่อาจมีราคาถึงกิโลกรัมละ 400 ดอลลาร์ หรือประมาณ 14,000 บาท

                 นายเฟลิกซ์ กอนซาเลซ ผู้อำนวยการศูนย์อุทยานแห่งชาติและพื้นที่ปกป้องลามะแห่งโบลิเวีย เปิดเผยว่าจำนวนประชากรลามะในโบลิเวียเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 120,000 ตัว เป็นผลจากความร่วมมือจากนานาชาติและรัฐบาลหลายประเทศ แม้ก่อนหน้านี้ลามะเคยเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพื่อถูกล่าจนเหลือแค่ 2,000 ตัวเมื่อช่วงทศวรรษที่ 60 และไม่มีแผนการอนุรักษ์ในขณะนั้น จำนวนประชากรลามะทั่วโลกคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 7 ล้านตัว ซึ่งส่วนมากจะอาศัยอยู่ตามที่ราบสูงในโบลิเวีย ชิลี เปรู และอาร์เจนตินา

            และจากการที่ชาวบ้านในโบลิเวียร่วมแรงกันอนุรักษ์ประชากรลามะจึงไม่จำเป็นต้องหารือเรื่องลามะโบลิเวียในการประชุมว่าด้วยการอนุรักษ์ชนิดพันธ์สัตว์ป่าที่อพยพ หรือ ซีเอ็มเอส ครั้งที่ 45 ที่เมืองบอนน์ของเยอรมนีในช่วงปลายเดือนนี้แล้ว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ