Lifestyle

ภาษา ‘ทารก’ กับลูกสุนัข 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย - โต๊ะข่าวสัตว์เลี้ยง

              ผลวิจัยล่าสุดชี้ว่า “ภาษาทารก” สามารถใช้สื่อสารกับลูกสุนัขอายุน้อยได้ แต่สุนัขที่อายุมากกว่านั้นจะไม่สนใจเสียงเล็กเสียงน้อยแบบนั้น ในการที่จะหาคำตอบว่า “สุนัข” มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคำพูดของคนอย่างไรนั้น บรรดานักวิจัยได้ดำเนินการศึกษาครั้งใหม่ ด้วยการให้ผู้หญิง 30 คน อ่านคำพูดที่เขียนไว้ พร้อมกับมองรูปภาพสุนัขไปด้วย เมื่ออ่านประโยคสั้นๆ อย่าง “สวัสดี ที่รัก” หรือ “ใครเป็นเด็กดีจ๊ะ” พร้อมกับดูภาพสุนัขไปด้วย ผู้หญิงเหล่านี้มักจะทำเสียงสูงต่ำแบบเสียงอ้อแอ้ของทารก แต่ถ้าพูดกับคนทั่วไป โทนเสียงจะกลับมาเป็นปกติมากขึ้น โดยที่อายุของสุนัขในภาพไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ ต่อน้ำเสียงที่พวกเธอใช้พูดกับพวกมัน แต่เสียงอาจจะสูงขึ้นเล็กน้อย ถ้าภาพที่ดูเป็นลูกสุนัข

               นักวิจัย ระบุว่า การที่ผู้พูดใช้น้ำเสียงดังกล่าวกับสุนัขทุกวัย สะท้อนว่า เสียงประเภทนี้มีไว้เพื่อสร้างความสนิทสนมกับสิ่งมีชีวิตที่พูดไม่ได้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกับผู้ฟังที่เป็นเด็กๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม สัตว์ที่ได้รับฟังเสียงพูดเหล่านี้จนจบ ไม่ได้ตอบสนองอย่างเท่ากันทุกตัว นักวิจัยนำเสียงอัดของพวกเธอไปเปิดให้ลูกสุนัข 10 ตัว และสุนัขโตเต็มวัยอีก 10 ตัวฟัง ภายในสถานที่รับเลี้ยงในนิวยอร์ก พบว่า ลูกสุนัข 9 ตัวตอบสนองต่อเสียงสูงๆ ของพวกเธออย่างเห็นได้ชัด ไม่เพียงตอบสนองอย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่พวกมันยังมองและวิ่งเข้าไปหาลำโพงที่ปล่อยเสียงอัดดังกล่าวด้วย ขณะที่น้ำเสียงธรรมดาจะตอบสนองน้อยกว่า ตรงกันข้าม สุนัขที่โตเต็มวัยที่มีการตอบสนองต่อทั้งเสียงโทนสูง และระดับปกติธรรมดาน้อยกว่า

             นิโคลัส มาเธวอน ผู้ชำนาญด้านเสียงทางชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยลียงของฝรั่งเศส ในฐานะผู้ร่วมเขียนงานวิจัย ระบุว่า สุนัขเหล่านี้ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น นอกจากมองที่ลำโพงสักครู่แล้วก็เมินเฉย มาเธวอนและทีมงานจึงสรุปว่า ลูกสุนัขมีความไวต่อภาษาสุนัขที่มีเสียงสูงมากกว่า อีกทั้งการใช้ภาษาทารกจะช่วยให้ลูกสุนัขเรียนรู้คำศัพท์ได้ดีเหมือนกับที่ใช้ในทารก แต่ด้วยอายุของสุนัขที่เพิ่มมากขึ้น ความไวต่อเสียงพูดเหล่านี้จ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ