Lifestyle

บำรุงร่างกายอย่างไร 10

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“ไต” ไม่เพียงเป็นอวัยวะสำหรับกรองของเสียออกจากร่างกาย ปรับสมดุลของแร่ธาตุในร่างกายเท่านั้น หากยังเป็นทุนต้นกำเนิดของร่างกาย

ในศาสตร์การแพทย์แผนจีน “ไต” ไม่เพียงเป็นอวัยวะสำหรับกรองของเสียออกจากร่างกาย ปรับสมดุลของแร่ธาตุในร่างกายเท่านั้น หากยังเป็นทุนต้นกำเนิดของร่างกาย ที่ควบคุมการเกิด การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ ไปสู่การเสื่อมถอย แก่ชราและดับสูญ ตามความเติบโตแข็งแรงและการเสื่อมถอยของไต

ไตยังเป็นรากฐานของยินหยางให้แก่ทุกอวัยวะในร่างกาย เป็นคลังเสบียงของสารชีวิต เป็นที่เก็บออมต้นทุนของร่างกาย ด้วยเหตุนี้ นอกจากการเจ็บป่วยแล้ว คนเราโดยทั่วไปจะแก่เร็วหรือช้า จะอายุยืนหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของไต

บำรุงร่างกายอย่างไร 10

ลักษณะพิเศษของไต คือเจริญช้ากว่าอวัยวะอื่น กล่าวคือ กว่าจะถึงวัยเจริญพันธุ์ต้องย่างเข้าอายุ 15 ขึ้นไป สารชีวิตในไตจึงสมบูรณ์เต็มที่ทั้งชายและหญิง ถึงตอนนั้นจึงสามารถมีบุตรได้ แต่ในทางกลับกันไตกลับแสดงความเสื่อมเร็วกว่าอวัยวะอื่น เหตุเพราะเป็นต้นทุนชีวิต เป็นแหล่งสะสมพลังชีวิต เหมือนกับที่ลูกๆมีมรดกของพ่อแม่เป็นทุนเดิม สามารถเป็นทุนสำรองให้กับลูกๆได้ อวัยวะอื่นๆ ก็เช่นกันเมื่อใช้ยินหยางไปมาก ต้องมียินหยางในไตเป็นทุนสำรองช่วยเพิ่มเติมให้ ไตจึงรับภาระหนัก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนสมัยนี้ใช้ชีวิตเปลือง เครียด กดดัน นอนดึก เหนื่อยล้าทั้งกายและใจ ใช้ร่างกายที่กำลังเจริญเติบโต ต้องแข่งขันเรียนแข่งขันเข้าโรงเรียนดังๆ มีผลการเรียนดีๆ ในวัยหนุ่มสาวที่แข็งแรงสดใส แลกกับหน้าที่การงาน ชื่อเสียง เกียรติยศ หน้าตา ตำแหน่งหน้าที่ หน้าตา ความร่ำรวยทรัพย์สินเงินทอง จนร่างกายทำงานหนัก ทำให้ตับทำงานหนัก อ่อนแอ ต้องการยินหยางจากไตช่วย เพราะไตเป็นแม่ของตับ อีกทั้งนอนดึก เที่ยวเตร่ กินดื่ม พักผ่อนน้อย ทำร้ายทั้งตับและไต หรือกินอาหารมากไป น้อยไป ร้อนไปหนาวเย็นเกินไป กินอาหารปรุงแต่งมาก กินพืชผักผลไม้นอกฤดูกาล ล้วนส่งผลให้ไตทำงานหนักโดยทางอ้อม

แต่งงานเร็ว มีลูกมาก กามกิจเยอะ ล้วนลดทอนสารชีวิตในไตลงเร็ว เป็นสาเหตุให้ไตเสื่อมเร็ว ด้วยเหตุนี้การถนอมรักษ์และดูแลไต จึงความสำคัญอย่างยิ่งยวด ไตแตกต่างกับอวัยวะอื่นคือ ไม่ค่อยมีเกิน จะขาดมากกว่าเกิน เช่น ชี่ไตพร่อง หยางไตพร่อง ยินไตพร่อง ยินหยางไตพร่องทั้งคู่ สารชีวิตร่อยหรอ เป็นต้น

ไตอ่อนแอแสดงอาการให้เห็นดังนี้

เหนื่อยเพลีย เวียนศีรษะ ปวดเอว ปวดเมื่อยเข่า แข้งขาอ่อนแรง เป็นอาการของชี่ไตพร่อง อันเป็นอาการร่วมของไตอ่อนแอ ที่ไม่ว่าจะยินพร่อง หยางพร่อง ชี่พร่อง สารชีวิตร่อยหรอ ล้วนมีอาการเหล่านี้ ถ้า เพิ่มอาการ มือเท้าร้อน ปัสสาวะสีเข้ม จะเป็น"ไตยินพร่อง" 

ถ้ามือเท้าเย็น กลัวหนาว ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกลางคืนมาก จะเป็นไตหยางพร่อง ถ้ามีหูอื้อ ความจำเริ่มลดลง สมองเชื่องช้าลง สมรรถภาพางเพศเสื่อม ผมหงอกขาว ผมร่วง แห้งกรอบขาดง่าย กระดูกพรุน จะเป็นสารชีวิตในไตร่อยหรอลง 

การถนอมรักษ์และดูแลไตให้ถูกต้องได้ผลดี จำเป็นต้องวิเคราะห์จำแนกจากอาการแสดงออกที่ที่มีความแตกต่างกันนี้ให้ได้ มิฉนั้นแล้วแทนที่จะได้ผลกลับทำให้ร่างกายแย่ลง ไม่มียาอะไรที่เหมารวมได้ อย่าได้หลงเชื่อคำโฆษณาใดใด

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ