Lifestyle

การผ่าตัดมะเร็งกระดูก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จุดประสงค์ของการผ่าตัดนี้ คือการรักษาเสถียรภาพของกระดูกสันหลังและบรรเทาอาการปวดขาหรือ หลัง อาการเหน็บชา อ่อนเพลีย

การผ่าตัดมะเร็งกระดูก


การผ่าตัดมะเร็งกระดูก กระดูกหัก (pathological fracture) ที่อาจเกิดตามมา ขั้นตอนการรักษาจะใช้วิธีการให้ยาเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการฉายแสงและการผ่าตัดเพื่อเปิดระบายช่องไขสันหลังที่ถูกกดทับ รวมทั้งใส่โลหะดามกระดูกหลัง

ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการผ่าตัดซึ่งได้ผลค่อนข้างสูง แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 คือ การผ่าตัดเปิดแผลกึ่งกลางหลังตามปกติ

วิธีที่ 2 คือ การผ่าตัดเปิดแผลเล็กด้านข้างและเข้าระหว่างชั้นของกล้ามเนื้อหลัง

แพทย์ผ่าตัดนิยมใช้วิธีที่ 2 ซึ่งมีข้อดี คือ เป็นการผ่าตัดที่ทำลายหรือรบกวนกล้ามเนื้อน้อยมาก ลดการเสียเลือดจากการผ่าตัด อีกทั้งช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของแผลผ่าตัดหลังการฉายแสงมาก่อน เช่น แผลอักเสบติดเชื้อและแผลแยกหลังผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดอย่างรวดเร็ว ผลข้างเคียงน้อย เมื่อเทียบกับการผ่าตัดวิธีแรก ข้อเสีย ก็คือใช้เวลาในการผ่าตัดนานขึ้น และมีราคาอุปกรณ์ผ่าตัดสูง

การผ่าตัดมะเร็งกระดูก

เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ทีมแพทย์โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ได้ใช้วิธีนี้การผ่าตัดเปิดแผลเล็ก คือ ใส่โลหะดามกระดูกหลังส่วนเอวให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและแพร่กระจายมาที่กระดูกสันหลังส่วนเอวรายหนึ่ง ซึ่งมีอาการปวดหลังจนยืนไม่ได้ ให้ยาเคมีบำบัดและฉายแสงแล้วยังปวดอยู่ อีกทั้งยังพบกระดูกหลังยุบมากขึ้น ภายหลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยได้รับการกายภาพบำบัด อาการปวดหลังลดลง เริ่มยืนและเดินได้ดีขึ้น

“จุดประสงค์ของการผ่าตัดนี้ คือการรักษาเสถียรภาพของกระดูกสันหลังและบรรเทาอาการปวดขาหรือ หลัง อาการเหน็บชา อ่อนเพลียหรือการทรงตัวที่ผิดปกติจากความดันในเส้นประสาท”

การผ่าตัดมะเร็งกระดูก

ข้อดี คือ มีประสิทธิภาพในการเชื่อมข้อสูงมาก ใช้ระยะเวลาสั้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงความปวดที่ลดลงเมื่อกระดูกเชื่อมสมบูรณ์เร็วขึ้น และเทคนิคนี้ไม่จำเป็นต้องตัดกระดูกของผู้ป่วยเองเพื่อใช้เชื่อมข้อกระดูกสันหลัง ดังนั้นจะเกิดประโยชน์สูงสุด และผลข้างเคียงน้อยที่สุด

ผมว่าเป็นอีกทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งนะครับ

                                                                         นพ.วรายศ ตราฐิติพันธุ์ 

                                                                         ศัลยกรรมกระดูกและข้อ  หน่วยกระดูกสันหลัง รพ.จุฬาภรณ์

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ