Lifestyle

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อุบลราชธานี ที่แท้เป็นแหล่งภูเขาหินทราย และแอ่งมหานทีอายุกว่า 110 ล้านปี ยังมีอันซีนรอยเกวียนโบราณข้ามภูเขาสู่แหล่งการค้าชายแดน เรื่อง/ภาพ : นพพร วิจิตร์วงษ์

             อุบลราชธานี จังหวัดใหญ่ในภาคอีสาน นอกจากอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ที่นี่ยังเต็มไปด้วยร่องรอยทางประวัติศาสตร์ผ่านภูผาหินทราย ไปจนถึงแอ่งน้ำสมัยบรรพกาล จะพูดแบบนี้ก็ไม่ผิด เพราะจากความเก่าแก่ของภาพเขียนสีที่พบที่ผาแต้มที่พิสูจน์กันมาว่า มีอายุร่วม 3,000 ปี แต่ถ้าดูถึงเนื้อแท้ของหินผาแล้ว กลับพบว่า มีอายุอานามนับ 100 ล้านปี เรื่องนี้ไม่ได้อุปโลกป์ขึ้น หากแต่มาจากการศึกษาทางธรณีวิทยาล้วนๆ

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

            ตามรอยนักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณี ไปพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จะว่าไปเป็นการเที่ยวแบบใหม่ ในสถานที่เที่ยวเดิมๆ ก็ว่าได้ จากข้อมูลใหม่ทำให้ทั้งอึ้ง ทั้งทึ่งกับธรรมชาติ ที่กัดกร่อนหินผา กระทั่งเป็นรูปทรงประติมากรรมต่างๆ ภายใต้ชื่อ เสาเฉลียง ไปจนถึงหลุมกุมภลักษณ์ ที่ฉันเริ่มงุนงงกับชื่อภาษาไทยของเจ้าหลุมเหล่านี้ ก็ได้คำตอบจากนักธรณีที่ต้องไขปริศนาอีกรอบว่า จากภาษาอังกฤษ Pot Holes พอมาถึงมือผู้บัญญัติศัพท์ไทยเลยได้คำสวยหรูว่า หลุมกุมภลักษณ์ หรือหลุมรูปหม้อ (หม้อเป็นสัญลักษณ์ของราษีกุมภ์นั่นเอง)  ฮา 

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

            ธรณีสัญจรไปถึงอำเภอศรีเมืองใหม่ ขึ้น ภูจันแดง ภูเขาลูกย่อมๆ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติภูหล่น  ต.สงยาง อ.ศรีเมืองใหม่  ไปดูร่องรอยสายน้ำโบราณ ที่ปรากฏหลักฐานของอยู่เขาหินทรายให้รู้ว่าภูสูงที่ว่านี้ เคยเป็นดินแดนแห่งสายน้ำมาก่อน 

            นอกจากด้านศาสนาที่ระบุว่าภูจันแดงเป็นบ้านเกิดหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาณาบริเวณโดยรอบ มีวัด กุฏิพระสงฆ์ ที่กระจายอยู่บนภูเขาหินทรายแห่งนี้ ทั้งพระประธานองค์ใหญ่ใกล้เสาเฉลียง กุฏิพระที่ตั้งอยู่บนก้อนเสาหินขนาดใหญ่แล้ว ยังเป็นความมหัศจรรย์ธรรมชาติ  ที่พบว่า เขาลูกนี้เป็นเขาหินทราย ที่มีร่องรอยของสายน้ำกัดกร่อนปรากฎให้เป็นบนลายหินกว้าง และยังมีร่องรอยที่อยู่สูงเหนือหัวเราขึ้นไปอีก หากแต่นั่นเมื่อนับ 100 ล้านปีมาแล้ว ที่ปรากฎเหลืออยู่ คือเสาเฉลียง ราวกับเป็นป้อมปราการขนาดใหญ่

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

          เสาเฉลียง เป็นประติกมากรรมเสาหินธรรมชาติ ที่มีลักษณะคคล้ายดอกเห็ด เกิดจากกระบวนการผุพังอยู่กับที่และการกร่อนของหินทรายอายุประมาณ 100 ล้านปี ซึ่งชั้นหินมีความคงทนต่างกัน ส่วนที่เป็นชั้นหินอ่อนกว่าจะถูกกัดกร่อนมากกว่า จึงหลงเหลือส่วนที่เป็นคล้ายโคนเห็ด  ในขณะที่ชั้นหินที่มีความแข็งแกร่งกว่า ถูกกกัดกร่อนน้อยกว่า ทำให้มองดูเป็นดอกเห็ดวางอยู่ด้านบน

         พอเดินขึ้นไปลานด้านบน ร่องรอยของสายน้ำโบราณยังชัดเจน  ลึกเข้าไปด้านใน ผ่านแนวหินสมอง ที่เป็นปรากฏการณ์ แซน แครก (sand crack) ซึ่ง ผอ.นิวัติ บุญพบ นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ บอกว่า ที่เห็นนี่เกิดการกัดกร่อนไปจนเหลือแค่ชั้น 7 หินภูพาน ชั้น 8-9 โดนกัดกร่อนไปหมดแล้ว

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

            ยิ่งเดินลึกเข้าไปด้านในกลับตื่นตากับเสาเฉลียงรูปทรงคล้ายแก้วไวน์ ใกล้กันเป็นเสาระเบียงที่มีรอยพรุนด้านข้างที่เกิดจากกระบวนการกัดกร่อนของน้ำ ขนาดสูงประมาณ 8 เมตร ยาว 20 เมตรต่อเนื่องกัน  แต่ด้านบนมีกุฏิพระ ที่อยู่กันในปัจจุบัน ซึ่งทางวัดเองกำลังปรับเปลี่ยนด้วยการย้ายลงมาสร้างวัดไว้ด้านล่าง รูปทรงสวยงาม คล้ายกับวัดสิรินทรวรารามภูพร้าว อ.โขงเจียม 

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

            จากภูจันแดง ข้ามไปดูอีกด้านของอ.ศรีเมืองใหม่ คือ ภูอานม้า ที่นี่แหล่ะน่าสนใจกับเส้นทางรอยเกวียนโบราณ ที่ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อว่า เมื่อ 2,000 ปีก่อน เขาเดินทางหนีน้ำขึ้นเขาสูงกันแบบนี้

สมภาร สุนิพันธ์ เลขานุการ นายก อบต.นาคำ บอกเล่าระหว่างพาพวกเราลำล่องไปตามรอยเกวียนโบราณที่ว่านี้ บอกว่า รอยที่เห็นนี้ เคยนำเกวียนโบราณมาเทีรยบรอยล้อ พบว่า เท่ากันพอดี  ไม่แน่ว่าอีกหน่อยเวลาไปเที่ยวอาจจะได้เห็นเกวียนโบราณ อยู่ในสถานที่จริงเหมือนเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง  พร้อมกับป้านสื่อความหมายต่างๆ ด้วย

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

            รอยเกวียนโบราณนี้พบระหว่างเดินทางไปภูอานม้า (เข้าทางเดียวกับสำนักสงฆ์ถ้ำขามภูสูบ) ทางดินแดงบางช่วงค่อนข้่างชัน (ไม่เหมาะกับรถเก๋งแน่ๆ) แยกจากถนนใหญ่ไปได้ราว 4 กม. ก้ถึงจุดที่เห็นเป็นรอยเกวียนเหมือนรอยทางรถ  แต่ก็ไม่ใช่ บางรอยมีร่องลึกจากการศึกษาทางธรณีวิทยาก็เชื่อว่า นั่นเป็นรอยเกวียนสมัยโบราณ ที่ล้อเป็นเหล็ก พอกดลงบนภูเขาที่เป็นหินทรายไปนานวันเข้าก็เกิดเป็นรอยอย่างที่เห็น

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

            สมภารเล่าว่า เส้นทางนี้ เป็นเส้นทางที่ใช้เดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว ค้าขายและเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน  ยิ่งในช่วงที่น้ำท่วม หรือหน้าฝน ก็ต้องหนีมาใช้เส้นทางนี้เพราะเกวียนข้ามน้ำไม่ได้ รวมถึงทางจะลัดกว่า โดยเส้นทางจะผ่านไปบ้านน้ำแห้ง โพธิ์กลาง  บ้านทุ่งนาเมือง ไปค้าขายที่คันท่าเกวียน ต่อไปจนถึงดงนาง ปากลาได้ เส้นทางนี้ใช้มายาวนานราว 2,000 ปี จนมีการตัดเส้นทางใหม่ราวปี 2520 เส้นทางนี้ก็ยกเลิกไป  โดยฝ่ายไทยเรามีข้าว อาหาร เสื้อผ้า ก็เอาไปแลกกับสินค้าพวกฝ้าย และปลา  ดูๆ ไปเหมือนเราติดต่อค้าขายกันแบบเออีซี มานานนับพันปีทีเดียว

          "คันท่าเกวียนก็เป็นเหมือนชุมทางที่เกวียนไปรวมกัน พอการขนถ่ายสินค้าลงเรือไปขาย ส่วนรอยเกวียนที่เราเห็นนี่ มีระยะทางยาวเกือบ 1 กม. ลงไปถึงห้วยสูบ  เลยไปก็เป็นภูอานม้า และลานพลับพลา ซึ่งเป็นจุดที่ที่พักเกวียน ของบรรดาพ่อค้า ซึ่งช่วงปลายฝนต้นหนาว จะกลายเป็นลานดอกไม้ดิน จำพวกดุสิตา สร้อยสุวรรณา"

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

            ใกล้กันกับรอยเกวียนโบราณ ยังพบหลุมกุมภลักษณ์ขนาดใหญ่ เป็นตัวบ่งชี้ว่า นี่เคยเป็นแอ่งน้ำสมัยโบราณกระทั่งก่อให้เกิดเป็นหลุมขนาดยักษ์บนพื้นหินแบบนี้ได้  นอกจากนี้ยังมีร่องรอยของหินปุ่ม หินสมอง ไปจนถึงหินรอยเท้าเสือ  ซึ่งทั้งหมดนี่เกิดจากร่องรอยตะกอน โป่งดินเหนียว ที่เกิดการระเหยของน้ำไป เมื่อนับร้อยปีมาแล้ว

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

            หรือแม้กระทั่ง ภูอานม้า จุดเด่นอยู่ที่หินลักษณะคล้ายอานม้า เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม และยังมีเสาเฉลียงอยู่ทั่วไป บริเวณนี้ประกอบด้วยหินทรายปนกรวด มีสีขาวไปจนถึงสีเทา เกิดจากการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมทางน้ำประสานสายบนทวีปเมื่อ 100 ล้านปี  บริเวณนั้นมีทั้งหินปุ่ม และยังเป็นลานดอกไม้ดิน ซึ่งปลายเดือนตุลาคมจะมีการจัดเทศกาลดูดอกไม้ดินด้วย

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

            ไม่ใช่แค่สองภูที่ลำล่อง หากแต่ยังมีร่องรอยของแอ่งน้ำโบราณ ในเส้นทางน้ำตก ในอ.โขงเจียม ไม่ว่าจะเป็นน้ำตกแสงจันทร์ ที่เห็นเป็นรูน้ำตกนั่นก็ถือเป็นกุมภลักษณ์เช่นกัน หรือ น้ำตกสร้อยสวรรค์ ที่เราแวะไปดู นอกจากเป็นน้ำตกที่ไหลจากผาสูงแล้ว จะเห็นว่าพื้นที่เป็นหินทรายอายุประมาณ 100 ล้านปี 

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

         หน้าผาหินทรายมีความสูงประทาณ 30 เมตรแสดงแนวการวางตัวชัดเจน  บริเวณพื้นที่โดยทั่วไป พบกุมภลักษณ์ ซึ่งเกิดจากกระบวนการกัดกร่อนของกรวด ที่อยู่ตรงกระแสน้ำวนจำนวนมาก

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

            จากที่ดูสภาพของพื้นที่ บอกได้ว่า แทบจะทุกอำเภอที่อยู่ริมแม่น้ำโขง มีร่องรอยที่บอกถึงการกัดกร่อนของกระแสน้ำเมื่อ 110 ล้านปีก่อนทั้งนั้น แม้กระทั่ง   ผาแต้ม นี่ก็เป็นหน้าผาสูงชันที่เกิดจากการยกตัวของที่ราบสูงโคราชเมื่อ 55 ล้านปี ซึ่งระหว่างการยกตัวนั้นทำให้เกิดรอยแตกแยกในชั้นหิน เป็นช่องทางให้น้ำไหลผ่าน เมื่อเวลาผ่านไปหลายล้านปี ทางน้ำได้พัฒนาใหญ่ขึ้นเป็นแม่น้ำโขง และริมตลิ่งเกิดการพังทลาย กลายเป็นหน้าผาเช่นทุกวันนี้  บริเวณใต้ชะง่อนผาแง่มพบภาพเขียนสีอายุประมาณ 3,000 ปี บนผนังหินยาว 180 เมตร นับเป็นกลุ่มภาพเขียนสีโบราณที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

            ตามรอยนักธรณีวิทยามาเมืองอุบลราชธานีคราวนี้ ทำให้รู้ว่าหลายๆ พื้นที่ ไม่ใช่แค่สามพันโบก หรือ พื้นที่ริมโขงเท่านั้นที่มีร่องรอยของสายน้ำกัดเซาะ หากแต่บนเขาสูง ก็ไม่ละเว้น หรือชื่อเมืองอุบลจะหมายถึงดอกบัว ที่ยังไงก็ต้องอยู่กับสายน้ำ แต่จะเป็นเพียงอดีตกาลไปแล้วก็ตาม

 

ลำล่องตามรอยเกวียนโบราณ สู่แอ่งมหานทีบรรพกาล อุบลราชธานี

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ