พระเครื่อง

หลวงพ่อมหาลิวัดโนนแดงพระผู้สืบทอดการฝังตะกรุดท้องแขน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หลวงพ่อมหาลิวัดโนนแดงพระผู้สืบทอดการฝังตะกรุดท้องแขน หลวงปู่ภู่ ถิรวิริโย : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู


                วัดโนนแดง ตั้งอยู่หมู่ ๑๕ บ้านตลาดโนนแดง ต.โนนแดง อ.โนนแดง จ.นครราชสีมา เป็นวัดราษฎร์ มหานิกาย ปีที่ก่อตั้ง พ.ศ.๒๔๘๕ ขึ้นทะเบียนวัดแล้ว ตั้งอยู่ในต.โนนแดง ปัจจุบันมี พระครูสิริกัลยาณคุณ (พระมหากิตติพล กัลยาณจารี) หรือหลวงพ่อมหาลิ เจ้าคณะตำบลโดนแดงเป็นเจ้าอาวาส

                หลวงพ่อมหาลิ สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยคจากสำนักเรียนจังหวัดเชียงราย เมื่อท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโนนแดง ท่านก็เจริญรอยตามพระครูมนูญธรรมเวที (ภู่ ถิรวิริโย) อดีตเจ้าคณะตำบลโนนแดง และอดีตเจ้าอาวาสโนนแดง โดยพัฒนานาวัดให้เหมาะแก่การเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน

                นอกจากนี้แล้ววิชาหนึ่งที่หลวงพ่อมหาลิได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่ภู่โดยตรง คือ การฝังตะกรุดท้องแขนทองคำ ขณะเดียวกันก็ยังได้ไปเรียนวิชากับหลวงพ่อสะลอน สำนักสงฆ์แห่งหนึ่ง ใน จ.สุรินทร์ โดยท่านได้เริ่มฝังตะกรุดมากว่า  ๒๐ ปีแล้ว เฉพาะทองคำแท้ที่ซื้อก็มีน้ำหนักกว่า ๓๐ บาท

                หลวงพ่อมหาลิ ทองคำ ๑ บาท สามารถมารีดเป็นแผ่นและตัดเป็นตะกรุดได้ประมาณ ๘๐๐ ดอก จากนั้นจะมาจารยันต์ทีละตัว โดยมีคาถา ๒ ชุด คือ คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ ที่ว่า “นะ โม พุทธ ธา ยะ” เป็นคาถาที่มีพุทธคุณครอบจักรวาลดีทุกด้าน เด่นทางแคล้วคลาดคงกระพัน และคาถาหัวใจพระฉิม (สิวลี) ที่ว่า “นะ ชา ลิ ติ” ซึ่งมีพุทธคุณสุดยอดแห่งความเมตตามหานิยม

                ในการฝังตะกรุดทองแขนนั้นนอกจากความเข้มขลังของอักขระเลขยันต์ที่จารด้วยมือทุกดอกแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ความสะอาด หลวงพ่อมหาลิ ยอมรับว่าช่วงหนึ่งก็มีความวิตกว่าจะติดเชื้อโรคเอดส์เหมือนกัน เพราะขณะฝังตะกรุดจะมีเลือดออก ทั้งนี้ได้ระมัดระวังเป็นพิเศษ ส่วนการต้องอาบัติที่ต้องเนื้อโดนตัวลูกศิษย์ที่เป็นผู้หญิงนั้น ในพระวินัยระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จะอาบัติหรือไม่นั้นอยู่ที่เจตนา การฝังตะกรุดท้องแขนเรามีเจตนาให้คนพ้นทุกข์

                "ฝังตะกรุดแล้วใช่ว่าจะช่วยได้ทุกคน หากใครอยู่ในศีลในธรรมถือและรักษาศีล ๕ เป็นประจำ ที่สำคัญคือ ไม่ด่าพ่อแม่ ไม่พูดคำหยาบ ความเป็นเมตตามหานิยมก็จะเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากไม่อยู่ในศีลตั้งมั่นในธรรมฝังตะกรุดไปก็เท่านั้น" หลวงพ่อมหาลิกล่าว

                สำหรับวันดีที่เหมาะสมในการฝังตะกรุดนั้น หลวงพ่อมหาลิ บอกว่า ถ้าจะให้เป็นมหาเสน่ห์เป็นมหานิยมต้องมาวันจันทร์ ที่เรียกว่าจันทร์มหาเสน่ห์ แต่ถ้าต้องการความแคล้วคลาดปลอดภัยเป็นมหาอุด ต้องเป็นวันเสาร์ ส่วนวันอื่นๆ จะพุทธคุณลดน้อยลงไป ซึ่งก่อนหน้านี้ปีที่มีเสาร์ ๕ เคยมีคนแห่มาฝังตะกรุดวันเดียวกว่า ๒๐๐ คน

                ปัจจุบันการฝังตะกรุดท้องแขนทองคำของหลวงพ่อมหาลิ มีประสบการณ์และเรื่องเล่ามากมาย นอกจากได้รับความนิยมจากคนไทยแล้ว ยังมีชาวสิงคโปร์ มาเลเซีย นั่งเครื่องบินมาลงเมืองไทยและดั้นด้นไปถึง อ.โนนแดง เพียงเพื่อให้ได้ของดีกลับไป  ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ยืนยันพลังศรัทธาได้เป็นอย่างดี คือ สิ่งก่อสร้างภายในวัดล้วนมาจากศรัทธาลูกศิษย์ที่เดินทางมาฝังตะกรุดท้องแขนทองคำทั้งสิ้น

                พระมหาลิได้พูดทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า “ถ้าพระต้องการบรรลุธรรม ต้องออกจากสังคมเอาตัวรอดเพียงคนเดียว แต่ในความเป็นจริงพระอยู่ในสังคมที่ต้องพึ่งพาอาศัยเกื้อหนุนกัน เมื่อญาติโยมมาขอความช่วยเหลือ เช่น ของฤกษ์ขอยามขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ขอให้ตั้งชื่อ ขอให้เจิมรถ หากพระปฏิเสธก็เท่ากับว่าปฏิเสธศรัทธาของญาติโยม”


ฝังตะกรุดสร้าง-บูรณะวัด


                “ปัจจัยที่ได้จากการฝังตะกรุดไม่ได้ไปไหน ล้วนถูกนำไปใช้สร้างศาสนสถานเพิ่มเติม รวมทั้งบูรณะของเก่าให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ โดยในปีนี้วัดมีโครงการยกและบูรณะศาลาการเปรียญซึ่งสร้างจากไม้ทั้งหลังที่มีอายุเกือบร้อยปี” นี่เป็นคำยืนยันของหลวงพ่อมหาลิ

                ทั้งนี้หากวัดรอปัจจัยจากศรัทธาของลูกศิษย์ที่เดินทางมาฝังตะกรุด การบูรณะศาลาการเปรียญคงเกิดขึ้นไม่ได้ เพระต้องใช้ปัจจัยหลายล้านบาท คณะกรรมการวัดจึงคณะกรรมการวัด ได้ขออนุญาตหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา จัดสร้างเหรียญย้อนยุคปี ๑๒ (รุ่นแรก)

                ส่วนเหตุผลที่วัดสร้างเหรียญหลวงพ่อคูณนั้น หลวงพ่อมหาลิ บอกว่า เมื่อครั้งที่ หลวงปู่ภู่ ถิรวิริโย มีชีวิตอยู่ท่านเป็นพระสหธรรมมิกกับหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ซึ่งมีอยู่ครั้งหนึ่ง ทั้งสองได้ลองวิชาฝังตะกรุดท้องแขน โดยหลวงพ่อคูณฝังตะกรุดให้หลานหลวงปู่ภู่ (เสือดม) ในขณะที่หลวงปู่ภู่ฝังตะกรุดท้องแขนให้หลานหลวงพ่อคูณ (เสือทอง) ไม่น่าเชื่อเลยว่าทั้งหลานหลวงพ่อคูณและหลานหลวงพ่อภู่หลักจากสึกออกไปกลายเป็นเสือชื่อดังออกเที่ยวปล้นในย่านจังหวัดลพบุรี และสระบุรี โดยทั้ง ๒ เป็นตำนานเสือแห่งเมืองโคราช ซึ่งปัจจุบันนี้เสือดมยังมีชีวิตอยู่

                นโยบายการสร้างวัดของมหาลิ คือ สร้างตามกำลังที่หามาได้ มีเท่าไรก็สร้างเท่านั้น จะไม่สร้างอะไรใหญ่โตเกินความจำเป็น ที่สำคัญ คือ จะทำอะไรก็ตามจะไม่ยัดเยียดให้ญาติโยมทำบุญเด็ดขาด ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญสมทบทุนในการบูรณะศาลาการเปรียญที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดโนนแดง สอบถามข่อมูลได้ที่ โทร.๐๘-๑๖๕๘-๐๑๖๖ และ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ