ข่าว

เจอบรรพบุรุษเต่าบกสกุลและชนิดใหม่ของโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เจอบรรพบุรุษเต่าบก สกุลและชนิดใหม่ของโลกในไทย อายุ 150 ล้านปีเทียบเท่าไดโนเสาร์ ที่บ้านคำพอก จ.มุกดาหาร ตั้งชื่อภาษากรีก ถวายในหลวง “ ขอให้พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ” ชี้ไทยเตรียมส่งโครงกระดูกไดโนเสาร์ชุดเจ้าฟ้าหญิง “ ซอโรพอด ” ขนาด 15 เ

วันที่ 22 มิ.ย. นายอดิศักดิ์ ทองไข่มุกต์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี   กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม (ทส.)   เปิดเผยว่า     ขณะนี้ถือเป็นข่าวดีของไทยอีกครั้ง เกี่ยวกับการค้นพบฟอสซิลเต่าโบราณ อายุ 150 ล้านปีในยุคจูราสิกตอนปลาย ที่เพิ่งจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร   Geological   Society , London , Special Publications ปี 2552 แล้วว่าเป็นฟอสซิลเต่าสกุลใหม่   และชนิดใหม่ของโลก หลังจากมีการส่งไปตรวจสอบทางวิชาการมาเกือบ 3 ปีแล้ว   ทั้งนี้เพื่อเป็นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา   จึงมีการตั้งชื่อเป็นภาษากรีก ว่า “Basilochelys macrobios.”   ซึ่งมีความหมายว่า “ ขอให้พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ”   หรือเหมือนกับคำภาษาอังกฤษว่า Long Live The King

 ส่วน ดร.วราวุธ สุธีธร ผู้อำนวยการส่วนวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า   เต่าโบราณยุคไดโนเสาร์ตัวนี้ กรมทรัพยากรธรณี ได้รับแจ้งจากชาวบ้านที่บ้านคำพอก อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร ให้เข้าไปตรวจสอบหลังจากขุดพบซากฟอสซิลสัตว์โบราณหลายชนิดแตกหักกระจายอยู่ บริเวณเนินเขาเล็กๆ แถวเทือกเขาภูพาน ตั้งแต่เดือนมี.ค. 2548 และกลุ่มนักวิจัยไทย - ฝรั่งเศส   นำโดย ดร.ไฮยั่ง ตง ได้เข้าตรวจ สอบ จึงพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีฟอสซิลหลายชนิด ทั้งเต่า จระเข้ ปลาเลปิโดเทส กระดูกไดโนเสาร์ โดยเฉพาะใกล้ๆกันนั้นพบฟอสซิลเต่าขนาดใหญ่ในลักษณะนอนหงายอยู่คู่หนึ่งด้วย   โดยตัวแรกมีขนาดยาว 96 ซม.กว้าง 85 ซม. ส่วนตัวที่ 2 ขนาดยาว 90 ซม. และกว้าง 80 ซม.

 “หลังจากที่มีการขุดและปิดล้อมเฝือก เพื่อเคลื่อนย้ายมาทำการอนุรักษ์ ซ่อมแซมและทำความสะอาดที่ศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์   และมีการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดจนพบลักษณะที่แตกต่างของเต่าโบ ราณ ที่ไม่เหมือนกับฟอสซิลเต่าที่มีการค้นพบมาก่อนหน้านี้ทั้งในไทย และของโลก   โดยเฉพาะความโดดเด่นของกระดองเต่า ที่เชื่อมต่อระหว่างแผ่นของขอบกระดองภายนอกและภายใน และมีรูปแบบลายที่เป็นตัวกำหนดตลอดจนความชัดเจนของหัวกะโหลก   กระดูกคอ กระดูกซี่โครง กระดูกขาหน้า และขาหลังที่ทำให้ฟอสซิลเต่ายักษ์ตัวนี้ถือว่ามีความสมบูรณ์มากที่สุดของโลก   และถือเป็นบรรพษุรุษของเต่าบกในยุคปัจจุบัน ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ว่าได้   อย่างไรก็ตาม    เมื่อหลายปีก่อนไทยก็เคยเจอฟอสซิลเต่าขนาดเล็ก   30 ซม.ที่จ.ขอนแก่นมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ยังไม่ใช่ชนิดใหม่ของโลก ” ดร.วราวุธ ระบุ

  นายอดิศักดิ์   กล่าวด้วยว่า   นอกจากนี้ยังมีข่าวดีว่า ขณะนี้ทางประเทศฝรั่งเศส ได้ติดต่อขอโครงกระดูกไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่   อายุ 130 ล้านปีไปจัดแสดงเป็นครั้งแรก ที่พิพิธภัณฑ์เอสเพอราซา สาธารณ รัฐฝรั่งเศส   ซึ่งเป็นไดเสาร์กินพืช พันธุ์ซอโรพอดสกุลใหม่ และชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบในไทย จากแหล่งบ้านนาไคร้ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์   เมื่อช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา     และมีการตั้งชื่อเรียกว่าโครงกระดูกไดโนเสาร์ชุดนี้ว่า   “ เจ้าฟ้าหญิง ” เนื่องจากเป็นการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่มีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์มากที่สุด โดยเฉพาะชิ้นส่วนสำคัญคือส่วนหัวกระโหลก กระดูกท่อนขา กระดูกส่วนหางรวมทั้งสิ้นถึง   171 ชิ้นจากกระดูกซอโรพอด ทั้งตัวที่มี 284 ชิ้นหรือร้อยละ 60 ของกระดูกทั้งหมด ดังนั้นจึงถือเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่มาก

 “ทั่วโลกให้ความสนใจกับไดโนเสาร์ตัวนี้มาก   เพราะกระโหลกที่ค้นพบของไดโนเสาร์ที่ได้จากบ้านนาไคร้ จะเป็นข้อมูลสำคัญที่นำไปสู่การค้นหารากเหง้าและความสัมพันธ์ของซอโรพอดสายพันธุ์ไทย กับซอโรพอดสายพันธุ์ต่างๆที่มีทั่วโลก   ทั้งนี้โครงร่างกระดูกไดโนเสาร์ที่จะนำจัดแสดงที่ฝรั่งเศสนั้น เป็นโครงร่างจำลองไดโนเสาร์ขนาดความยาว   15 เมตร ตั้งแต่หัวจรดปลายหาง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ไทยนำไปจัดแสดงในต่างประเทศ โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 ก.ค.นี้ คาดว่าจะโชว์เป็นระยะเวลา 1 ปี รวมทั้งจะมีการทำงานวิจัยร่วมไทย - ฝรั่งเศสด้วย   เพราะปัจจุบันมีซากชิ้นส่วนไดโนเสาร์ ที่อยู่ระหว่างการตรวจจำแนกชนิดเพิ่มเติมจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องการความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศที่เชี่ยวชาญ ” นายอดิศักดิ์ กล่าว

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ