Lifestyle

'การปฏิรูปประเทศด้วยศิลปวัฒนธรรม'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'การปฏิรูปประเทศด้วยศิลปวัฒนธรรม' : คอลัมน์ อยู่สบาย โดย... ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง



          รากฐานของประเทศไทยที่แข็งแกร่งที่สุดอันเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาสู่นานาอารยะประเทศได้ดีที่สุด คือ ศิลปวัฒนธรรมของไทย ซึ่งเก็บสั่งสมอยู่ภายใต้แผ่นดินแห่งสุวรรณภูมิแห่งนี้มีความลึกซึ้งละเอียดอ่อนมีมิติ มีความหลากหลายวิจิตรงดงามมาช้านาน การเห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของคนในชาติในรุ่นหลังๆ ก็น้อยลงไปกว่าแต่ก่อนลัทธิทุนนิยมหลงใหลอารยะแห่งตะวันตกเข้ามาบดบัง บดขยี้ ความเป็นอัตลักษณ์แห่งตัวตนของไทยการเห็นแก่เงินจนลืมความงดงามและสุนทรียภาพมีให้เห็นดาษดื่น คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยมีความสนใจประวัติศาสตร์ไม่ค่อยให้ความภูมิใจในรากเหง้าและภูมิปัญญาของชาติแต่กลับไปหลงใหลนักการเมือง หลงใหลสินค้าแบรนด์ตะวันตกชื่นชมกับความฟุ้งเฟ้อ ชื่นชมกับสิ่งที่ได้มาง่ายๆ
    
          ในต่างจังหวัดหลายแห่งขาดการสร้างอัตลักษณ์ขาดการบ่มเพาะให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความเป็นตัวตนประวัติความเป็นมาความงดงามแห่งวิถีประชาจนนำไปสู่ความล้มเหลวในการสร้างสรรค์เมือง เกิดการทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดสำนึกพัฒนาท้องถิ่นน้อยลงไป จิตสาธารณะตกต่ำสะท้อนอย่างชัดเจนว่า “ยุคเสื่อม” กำลังเกิดขึ้นจากความไม่ตระหนักรู้ไม่ตระหนักคิดของ “ผู้นำ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “นักการแสดง” ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อน ในการดึงอัตลักษณ์ แห่งชุมชนมาสร้างสรรค์ขาดความรอบคอบมองรอบทิศในการพัฒนา การโดนครอบงำในระบบการเมืองก่อเค้าความเสียหายต่อวัฒนธรรม ทำให้ชาติไทยเสียโอกาสการต่อยอดทรัพย์สินของแผ่นดินสู่ “ความร่วมสมัย” ที่ไม่ใช่เก็บกินของเก่าเพียงอย่างเดียว ทัศนคติต่อศิลปวัฒนธรรมจึงควรต่อยอดให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีรสนิยมทางออกสำคัญแห่งการพัฒนาประเทศรอบทิศทางออกแห่งการปฏิรูปที่มีพื้นฐานศิลปวัฒนธรรมนั่นเอง
    
          ศิลปวัฒนธรรมเป็นตัวแปรที่จะบันทึกประวัติศาสตร์การปฏิรูปประเทศที่สำคัญที่สุดคือการเข้าใจความเป็นตัวตนของเราสู่การต่อยอดภูมิปัญญาเพื่อการปฏิรูปประเทศอย่างยั่งยืน จะบอกได้ว่า “กระดูกสันหลังแห่งการปฏิรูป คือ อัตลักษณ์ศิลป์ผสานศาสตร์ของชาติไทย” นั่นเอง
    
          โดยหลักคิดมีดังนี้ครับ
          1.สำรวจคุณค่าแห่งอัตลักษณ์ไทยทุกชุมชน  ทุกสังคมที่มีอยู่อย่างละเอียดว่าสิ่งที่งดงามดีงามและถือเป็นเสน่ห์ของชุมชนเหล่านั้นประกอบด้วยโครงสร้างทางปัญญาอะไรบ้าง เพื่อเล็งสู่การพัฒนาในอนาคตอย่างยั่งยืนต่อไปในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต, สัมมาชีพศิลปะหัตถกรรมชุมชน, ธุรกิจการค้า, ความเชื่อ, ประเพณี, วรรณกรรม ฯลฯ ซึ่งมีอยู่ทุกชุมชนทั่วประเทศ
    
          2.กำหนดลักษณะเฉพาะของแต่ละชุมชน จนสามารถนำมาแปรรูปเป็นสิ่งต่างๆ มากมายอย่างเป็นเอกภาพ ก่อเกิดพลังอันมหาศาลในการพัฒนาเกิดแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน
    
          3.ร่วมกันสร้างสรรค์ต่อยอดอย่างมีทิศทาง ชุมชนสังคมต่างๆ จะไม่บูดเบี้ยวเพราะมีแนวทางที่ถือปฏิบัติด้วยกัน แม้มีความหลากหลายแต่สามารถเกิดเอกภาพได้ภายใต้แนวคิดเดียวกันโดยมี “ธีม” ของชุมชนจากนั้นก็ร่วมแรงกันสร้างสรรค์ไปด้วยกันอย่างถูกทิศโดยศิลปวัฒนธรรมเป็นเสมือนแกนหลักในการผนวกวิถีประชาเข้าใช้ด้วยกันเป็นเสมือนศูนย์ธรรมแห่งการพัฒนาทุกส่วนร้อยเรียงเป็นเน็ตเวิร์กเครือข่ายอันแข็งแกร่ง
       
          4.กำหนดเป้าหมายในชุมชนผนวกกับเป้าหมายของประชาชน
    
          หน้าที่ของผู้นำคือ สร้างเครือข่าย ความแข็งแกร่งออกมาเป็นภาพใหญ่ในการปกครอง ออกมาเป็นนโยบายที่จะนำองคาพยพชาติเป็นปึกแผ่นร้อยเรียงความงดงามของชุมชนไปด้วยกัน “เสมือนการประสานเส้นใยแห่งแพรไหม”
    
          โดยในทุกส่วนแห่งอวัยวะของร่างกาย คือ ทุกความรับผิดชอบของหน่วยต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันโดยมีศิลปวัฒนธรรมอัตลักษณ์ชาติเป็นกาวผสานนั่นเอง จากการเชื่อมโยงข้างต้นก่อเกิดผลเชิงประจักษ์มากมาย ดังนี้
          1.เกิดพลังแห่งการมีส่วนร่วมอย่างมีทิศทาง
          2.คนในชาติตระหนักถึงความสำคัญแห่งตัวตนที่ชัดเจน
          3.ประชาชนมีเป้าหมายในการดำรงชีวิต
          4.เกิดมูลค่าเพิ่มทางปัญญามหาศาล เกิดดอกออกผลในทุกอาชีพ
          5.ชาติมีความแข็งแกร่งบนพื้นฐานที่มั่นคง
          6.ส่งเสริมเศรษฐกิจแบบยั่งยืน พอเพียงและมีอารยะ
          7.มีอัตลักษณ์เกิดขึ้นทุกชุมชนอย่างร่วมสมัยและทันสมัย
          8.เกิดความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวจากความหลากหลายเรียงร้อยจนงดงาม
    
          ท่านผู้อ่านสามารถกลับไปกระตุ้นชุมชนของท่านเอง ประชาชนจะต้องแยกออกจากอิทธิพลทางการเมือง เมื่อจะต้องเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความรัก แล้วให้ผู้รับใช้ คือ นักการเมืองบริหารจัดการในวิถีประชาที่ยั่งยืนต่อไป
    
          ท่านสามารถขอความคิดเห็นในการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนได้ที่ 0-2984-0091-2 หรือในรายการอยู่สบายทางเนชั่นแชนแนล ถ่ายทอดสดเวลา 09.30-11.30 น. ทุกเช้าวันเสาร์

.......................................
(หมาเยเหตุ 'การปฏิรูปประเทศด้วยศิลปวัฒนธรรม' : คอลัมน์ อยุ่สบาย โดย... ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง)


'การปฏิรูปประเทศด้วยศิลปวัฒนธรรม'
'การปฏิรูปประเทศด้วยศิลปวัฒนธรรม' : คอลัมน์ อยุ่สบาย โดย... ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง


          รากฐานของประเทศไทยที่แข็งแกร่งที่สุดอันเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาสู่นานาอารยะประเทศได้ดีที่สุด คือ ศิลปวัฒนธรรมของไทย ซึ่งเก็บสั่งสมอยู่ภายใต้แผ่นดินแห่งสุวรรณภูมิแห่งนี้มีความลึกซึ้งละเอียดอ่อนมีมิติ มีความหลากหลายวิจิตรงดงามมาช้านาน การเห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของคนในชาติในรุ่นหลังๆ ก็น้อยลงไปกว่าแต่ก่อนลัทธิทุนนิยมหลงใหลอารยะแห่งตะวันตกเข้ามาบดบัง บดขยี้ ความเป็นอัตลักษณ์แห่งตัวตนของไทยการเห็นแก่เงินจนลืมความงดงามและสุนทรียภาพมีให้เห็นดาษดื่น คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยมีความสนใจประวัติศาสตร์ไม่ค่อยให้ความภูมิใจในรากเหง้าและภูมิปัญญาของชาติแต่กลับไปหลงใหลนักการเมือง หลงใหลสินค้าแบรนด์ตะวันตกชื่นชมกับความฟุ้งเฟ้อ ชื่นชมกับสิ่งที่ได้มาง่ายๆ
    
          ในต่างจังหวัดหลายแห่งขาดการสร้างอัตลักษณ์ขาดการบ่มเพาะให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความเป็นตัวตนประวัติความเป็นมาความงดงามแห่งวิถีประชาจนนำไปสู่ความล้มเหลวในการสร้างสรรค์เมือง เกิดการทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดสำนึกพัฒนาท้องถิ่นน้อยลงไป จิตสาธารณะตกต่ำสะท้อนอย่างชัดเจนว่า “ยุคเสื่อม” กำลังเกิดขึ้นจากความไม่ตระหนักรู้ไม่ตระหนักคิดของ “ผู้นำ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “นักการแสดง” ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อน ในการดึงอัตลักษณ์ แห่งชุมชนมาสร้างสรรค์ขาดความรอบคอบมองรอบทิศในการพัฒนา การโดนครอบงำในระบบการเมืองก่อเค้าความเสียหายต่อวัฒนธรรม ทำให้ชาติไทยเสียโอกาสการต่อยอดทรัพย์สินของแผ่นดินสู่ “ความร่วมสมัย” ที่ไม่ใช่เก็บกินของเก่าเพียงอย่างเดียว ทัศนคติต่อศิลปวัฒนธรรมจึงควรต่อยอดให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีรสนิยมทางออกสำคัญแห่งการพัฒนาประเทศรอบทิศทางออกแห่งการปฏิรูปที่มีพื้นฐานศิลปวัฒนธรรมนั่นเอง
    
          ศิลปวัฒนธรรมเป็นตัวแปรที่จะบันทึกประวัติศาสตร์การปฏิรูปประเทศที่สำคัญที่สุดคือการเข้าใจความเป็นตัวตนของเราสู่การต่อยอดภูมิปัญญาเพื่อการปฏิรูปประเทศอย่างยั่งยืน จะบอกได้ว่า “กระดูกสันหลังแห่งการปฏิรูป คือ อัตลักษณ์ศิลป์ผสานศาสตร์ของชาติไทย” นั่นเอง
    
          โดยหลักคิดมีดังนี้ครับ
          1.สำรวจคุณค่าแห่งอัตลักษณ์ไทยทุกชุมชน  ทุกสังคมที่มีอยู่อย่างละเอียดว่าสิ่งที่งดงามดีงามและถือเป็นเสน่ห์ของชุมชนเหล่านั้นประกอบด้วยโครงสร้างทางปัญญาอะไรบ้าง เพื่อเล็งสู่การพัฒนาในอนาคตอย่างยั่งยืนต่อไปในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต, สัมมาชีพศิลปะหัตถกรรมชุมชน, ธุรกิจการค้า, ความเชื่อ, ประเพณี, วรรณกรรม ฯลฯ ซึ่งมีอยู่ทุกชุมชนทั่วประเทศ
    
          2.กำหนดลักษณะเฉพาะของแต่ละชุมชน จนสามารถนำมาแปรรูปเป็นสิ่งต่างๆ มากมายอย่างเป็นเอกภาพ ก่อเกิดพลังอันมหาศาลในการพัฒนาเกิดแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน
    
          3.ร่วมกันสร้างสรรค์ต่อยอดอย่างมีทิศทาง ชุมชนสังคมต่างๆ จะไม่บูดเบี้ยวเพราะมีแนวทางที่ถือปฏิบัติด้วยกัน แม้มีความหลากหลายแต่สามารถเกิดเอกภาพได้ภายใต้แนวคิดเดียวกันโดยมี “ธีม” ของชุมชนจากนั้นก็ร่วมแรงกันสร้างสรรค์ไปด้วยกันอย่างถูกทิศโดยศิลปวัฒนธรรมเป็นเสมือนแกนหลักในการผนวกวิถีประชาเข้าใช้ด้วยกันเป็นเสมือนศูนย์ธรรมแห่งการพัฒนาทุกส่วนร้อยเรียงเป็นเน็ตเวิร์กเครือข่ายอันแข็งแกร่ง
       
          4.กำหนดเป้าหมายในชุมชนผนวกกับเป้าหมายของประชาชน
    
          หน้าที่ของผู้นำคือ สร้างเครือข่าย ความแข็งแกร่งออกมาเป็นภาพใหญ่ในการปกครอง ออกมาเป็นนโยบายที่จะนำองคาพยพชาติเป็นปึกแผ่นร้อยเรียงความงดงามของชุมชนไปด้วยกัน “เสมือนการประสานเส้นใยแห่งแพรไหม”
    
          โดยในทุกส่วนแห่งอวัยวะของร่างกาย คือ ทุกความรับผิดชอบของหน่วยต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันโดยมีศิลปวัฒนธรรมอัตลักษณ์ชาติเป็นกาวผสานนั่นเอง จากการเชื่อมโยงข้างต้นก่อเกิดผลเชิงประจักษ์มากมาย ดังนี้
          1.เกิดพลังแห่งการมีส่วนร่วมอย่างมีทิศทาง
          2.คนในชาติตระหนักถึงความสำคัญแห่งตัวตนที่ชัดเจน
          3.ประชาชนมีเป้าหมายในการดำรงชีวิต
          4.เกิดมูลค่าเพิ่มทางปัญญามหาศาล เกิดดอกออกผลในทุกอาชีพ
          5.ชาติมีความแข็งแกร่งบนพื้นฐานที่มั่นคง
          6.ส่งเสริมเศรษฐกิจแบบยั่งยืน พอเพียงและมีอารยะ
          7.มีอัตลักษณ์เกิดขึ้นทุกชุมชนอย่างร่วมสมัยและทันสมัย
          8.เกิดความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวจากความหลากหลายเรียงร้อยจนงดงาม
    
          ท่านผู้อ่านสามารถกลับไปกระตุ้นชุมชนของท่านเอง ประชาชนจะต้องแยกออกจากอิทธิพลทางการเมือง เมื่อจะต้องเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความรัก แล้วให้ผู้รับใช้ คือ นักการเมืองบริหารจัดการในวิถีประชาที่ยั่งยืนต่อไป
    
          ท่านสามารถขอความคิดเห็นในการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนได้ที่ 0-2984-0091-2 หรือในรายการอยู่สบายทางเนชั่นแชนแนล ถ่ายทอดสดเวลา 09.30-11.30 น. ทุกเช้าวันเสาร์

.......................................
(หมาเยเหตุ 'การปฏิรูปประเทศด้วยศิลปวัฒนธรรม' : คอลัมน์ อยู่สบาย โดย... ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ