พระเครื่อง

บอกวัตร-บอกศักราช:คำวัด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บอกวัตร-บอกศักราช : คำวัด โดยพระธรรมกิตติวงศ์

               การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.๑ หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน (วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖) แล้ว ๑ ปี คือ ปีแรกนับเป็น พ.ศ.๐ เมื่อครบ ๑ ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.๑

               นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ.แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่นๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)

               อย่างไรก็ตามในอดีตนั้น ยังไม่มีการพิพม์ปฏิทินแจกเช่นปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนจะรู้วันเวลาจาก "บอกวัตร-บอกศักราช" ของพระสงฆ์ ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายไว้ บอกวัตร คือ การบอกข้อความเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว

               บอกวัตร คือ เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จกันแล้ว จะมีภิกษุรูปหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้บอก คล้ายสวดประกาศ คำบอกวัตรมีเนื้อหาเป็นภาษามคธ กล่าวถึงหัวข้อธรรมต่างๆ คือ โอวาทปิติโมกข์ ขันติธรรม สิ่งที่หาได้ยก ความไม่ประมาท พุทธกิจ พุทธประวัติย่อ จบด้วยการบอกศักราชเป็นภาษาไทย คาถานมัสการพระพุทธบาท ๕ แห่ง และปัจฉิมโอวาท

               บอกวัตร เป็นธรรมเนียมเก่า ในปัจจุบันจางลงไป ที่ทำกันอยู่กลายเป็นอบรมแทน

               ส่วนการ "บอกศักราช" นั้น เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า การบอกวัน เดือน ปี ปัจจุบัน

               การบอกศักราช เป็นธรรมเนียมพระมาแต่โบราณ เพราะสมัยก่อนไม่มีปฏิทินบอกวัน เดือน ปี ชาวบ้านต้องอาศัยการบอกศักราชจากพระสงฆ์

               การบอกศักราช เป็นข้อปฏิบัติของพระเทศน์ หลังจากให้ศีลจบแล้วต้องบอกศักราชก่อนเทศน์ วิธีการบอกศักราชนิยมว่าทั้งคำบาลี และคำแปล ในเนื้อหาต้องระบุจำนวนวัน เดือน ปีที่พระพุทธศาสนาล่วงเลยมาแล้ว และวันเดือนปี อันเป็นปัจจุบัน

               ในปัจจุบันก่อนเทศน์ไม่นิยมบอกศักราชกัน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะความจำเป็นมีน้อย เนื่องจากมีปฏิทินใช้กันอยู่โดยทั่วไป ที่บอกกันก็เพียงเพื่อรักษาธรรมเนียมเท่านั้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ