Lifestyle

ส่องกล้องตัด'ก้อนเนื้อ'ไม่ต้องเปิดหน้าท้อง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดูแลสุขภาพ : ส่องกล้องตัดก้อนเนื้อขนาดใหญ่โดยไม่ต้องเปิดหน้าท้อง

 


               อุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งและอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในประเทศไทยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา พบว่ามีการผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่รายใหม่ราว 11,000 คนต่อปี ขณะที่อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 50-70% ซึ่งสูงเป็นลำดับที่ 3 ของมะเร็งทั้งหมดของทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
               เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของแพทย์ระบบทางเดินอาหารของโรงพยาบาลในการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาด้วยการส่องกล้องขั้นสูง โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท จึงมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับโรงพยาบาลซาโน โรงพยาบาลในประเทศญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารและการแปลผลลักษณะผิวเยื่อบุ โดยเฉพาะลักษณะผิวของติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ (Image Enhanced Endoscopy) เพื่อให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหารที่ครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ชั้นนำ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มุ่งเน้นที่การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และกระเพาะอาหาร ซึ่งพบได้บ่อยและมีความสำคัญ

 

ส่องกล้องตัด'ก้อนเนื้อ'ไม่ต้องเปิดหน้าท้อง


               “ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลสมิติเวชได้ส่งทีมแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ไปอบรมที่ญี่ปุ่น 4 รุ่นแล้ว และโรงพยาบาล ซาโนก็ส่งแพทย์มาอบรมที่ประเทศไทย 3 ครั้ง โดยในปีนี้สมิติเวชได้นำเทคนิคใหม่ที่ใช้ในการตัดติ่งเนื้อจากลำไส้ใหญ่ หรือกระเพาะอาหารโดยการตัดออกทั้งชิ้น ผ่านทางกล้องที่เรียกว่า อีเอสดี จากโรงพยาบาลซาโนมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและการรักษาให้แก่คนไข้อีกด้วย ซึ่งโดยปกติเมื่อแพทย์ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจส่องกล้อง หากเป็นติ่งเนื้อทั่วไป แพทย์ก็สามารถตัดติ่งเนื้อผ่านการส่องกล้องได้ทันทีแต่ยังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำได้กรณีที่ติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่

               แต่สำหรับเทคนิคอีเอสดีนี้ แพทย์สามารถตัดก้อนชิ้นเนื้อขนาดใหญ่ออกจากลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหารได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเหมือนในอดีตที่ผ่านมา โดยสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ไม่มีแผลที่ผนังหน้าท้อง ลดระยะเวลาการอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า ทำให้คนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน และปลอดภัย”

 

ส่องกล้องตัด'ก้อนเนื้อ'ไม่ต้องเปิดหน้าท้อง


               ขณะที่ Narrow Band Image – NBI คือการส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัยเซลล์ต้นกำเนิดของระเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยให้แพทย์สามารถพบก้อนเนื้อได้ในระยะเริ่มแรกแม้ก้อนเนื้อยังไม่นูนขึ้นมา โดยสามารถตรวจก้อนเนื้อแบบแบนราบได้มากกว่าการตรวจปกติ 3 เท่า
               ญี่ปุ่นมีอัตราการเสียชีวิตโดยมะเร็งลำไส้เป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งทั้งหมด จึงอยากแนะนำให้ทุกคนได้รับการตรวจอย่างน้อยคนละ 1 ครั้ง ถ้าไม่พบสิ่งผิดปกติ 10 ปีครั้งค่อยตรวจซ้ำก็ได้ แต่ถ้าตรวจพบติ่งเนื้อให้ตรวจซ้ำ 3 ปีครั้ง หรือถี่กว่านั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนติ่งเนื้อที่พบ มะเร็งทุกชนิดหากตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรก การรักษาย่อมได้ผลดีกว่าตรวจพบเมื่อระยะลุกลามแล้ว แต่ยังมีข้อจำกัดตรงที่สามารถทำได้เฉพาะผู้ป่วยที่ตรวจพบในระยะแรกเริ่มเท่านั้น
               ปัจจุบันโรงพยาบาลสมิติเวชมีคนไข้ชาวญี่ปุ่นมาใช้บริการส่องกล้องทางเดินอาหารคิดเป็น 25% ของคนไข้ทั้งหมด ขณะที่คนไข้ชาวไทยมีราว 50% ที่เหลือเป็นชาวต่างชาติประเทศอื่นๆ โดยปี 2016 มีผู้มาใช้บริการส่องกล้องทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้น 20% แสดงให้เห็นว่าคนไทยใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น และมีการสร้างความตระหนักปัญหามะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น

 

ส่องกล้องตัด'ก้อนเนื้อ'ไม่ต้องเปิดหน้าท้อง

 


               สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ กลุ่มที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมีประวัติการขับถ่ายผิดปกติ อย่างอาการท้องผูก หรือถ่ายเป็นเลือด
               โรงพยาบาลซาโน ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ.2431 ในเขตคันไซ ประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นโรงพยาบาลขนาด 160 เตียง และมีความเชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องเพื่อตรวจและรักษา และได้ก่อตั้งศูนย์ระบบทางเดินอาหารในปี 2550 มีความเชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคกระเพาะอาหาร เนื้องอกในมดลูก โดยใช้การผ่าตัดส่องกล้องซึ่งได้รับการยอมรับทั่วประเทศญี่ปุ่น ในปี 2556 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลซาโนได้ผ่าตัดรักษาด้วยการส่องกล้องให้แก่ผู้ป่วยมากกว่า 5,000 ราย


นพ.นิธิวัฒน์ กิจศรีอุไร

ผู้อำนวยการ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท

ศ.นพ.ยาซูชิ ซาโน

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลซาโน

และผู้อำนวยการสถาบันการผ่าตัดส่องกล้องจากประเทศญี่ปุ่น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ