Program Online

อ.เจษฎา "โครงการธนาคารน้ำ 5 พันล้านอาจเสียค่าโง่กว่า GT200"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ท่าทางเราจะได้เห็นโครงการรัฐ ที่เป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลก ขนาดใหญ่กว่า GT200 ก็คราวนี้แหละครับ"

กรณีข่าวที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้มีการหารือกับกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อของบประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการธนาคารน้ำ เพื่อนำน้ำใต้ดินมาให้เกษตรกรใช้ในฤดูแล้งนั้น
 

 

 

 

 

ขณะเดียวกัน ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวระบุว่า "ท่าทางเราจะได้เห็นโครงการรัฐ ที่เป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลก ขนาดใหญ่กว่า GT200 ก็คราวนี้แหละครับ"

ดร.เจษฎา อธิบายว่า สำหรับโครงการธนาคารน้ำใต้ดินที่หลายพื้นที่ในไทยกำลังรณรงค์ให้ทำ อาจจะหลงทาง หากจะยึดต้นแบบจากอินเดียนั้น จะต้องทำหลุมขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตรขึ้นไป และลึก 2-3 เมตรหรือจนถึงระดับที่ดินมีรูพรุน เช่นเป็นชั้นหินทราย ตัวหลุมเองก็ต้องทำด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น หิน กรวด ทราย แต่เท่าที่เห็นในไทย พบว่ามีการทำหลุมเล็ก ๆ แล้วใช้ทั้งยางรถยนต์ ขวดพลาสติก ลงไปทำเป็นหลุม ซึ่งเมื่อสลายตัว ก็จะเป็นการส่งสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายลงไปในน้ำด้วย

นอกจากนั้น การทำธนาคารน้ำใต้ดิน ยังต้องผ่านการทดสอบวิเคราะห์ก่อนว่า น้ำผิวดินที่จะลงไปในหลุม เป็นน้ำที่สะอาดจริง ไม่ได้มีสารเคมีที่เป็นอันตราย ทั้งปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และน้ำเสียอื่น ๆ ลงไปด้วยเพราะจะยิ่งลงไปสะสมในชั้นน้ำบาดาล และเมื่อสูบขึ้นมาใช้ ก็จะเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้

 

 

ขณะทีี่เพจ วิทยาศาสตร์ทันโลก และภัยพิบัติในไทย ก็ได้เขียนอธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องธนาคารน้ำใต้ดิน เกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย รวมไปถึงบทเรียนในต่างประเทศ ที่ทำก่อนไทย โดยยกตัวอย่างประเทศอินเดีย ที่มีการใช้ธนาคารน้ำใต้ดิน ในหลายพื้นที่ และได้พบปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของสารปนเปื้อน อาทิ ไนเตรต เหล็ก หรือสารหนู ซึ่งมีความเสี่ยงมาก ๆ หากร่างกายคนเราได้รับสารเหล่านี้เข้าไป 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : Jessada Denduangboripant , วิทยาศาสตร์ทันโลก และภัยพิบัติในไทย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ