Program Online

ประชาธิปัตย์....ส่อแววเข้าร่วมรัฐบาลพลังประชารัฐ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประชาธิปัตย์....ส่อแววเข้าร่วมรัฐบาลพลังประชารัฐ แต่โหวตไม่ครบ

การก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่ 8 ของ คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ทำให้คอการเมืองคาดการณ์ว่า การรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลของพรรคพลังประชารัฐจะยากลำบากขึ้น และจะส่งผลให้การสานฝัน "บิ๊กตู่" เป็นนายกฯ สมัย 2 ไม่ง่ายอย่างที่คิด

สาเหตุสำคัญเป็นเพราะคุณจุรินทร์ไม่เคยแสดงท่าทีชัดเจนว่าจะร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ แตกต่างจากผู้ท้าชิงหัวหน้าพรรคบางคนที่เปิดตัวชัดเจน หนำซ้ำคุณจุรินทร์ยังได้รับแรงสนับสนุนจาก "ผู้ใหญ่ในพรรค" นำโดย คุณชวน หลีกภัย และ คุณบัญญัติ บรรทัดฐาน ด้วย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าคุณชวนไม่ได้สนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์โดดร่วมรัฐบาลโดยไม่ดูกระแสสังคม ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ สาเหตุที่ทำให้คุณจุรินทร์ชนะคู่แข่งแบบขาดลอย เป็นเพราะมีคะแนน ส.ส.11 เสียงของกลุ่มคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โหวตสนับสนุน โดยแม้คุณอภิสิทธิ์ จะสนิทสนมกับ คุณกรณ์ จาติกวณิช ผู้ท้าชิงหัวหน้าพรรคอีกคน ในฐานะเพื่อนนักเรียนอังกฤษด้วยกัน แต่ถ้าเทคะแนนให้คุณกรณ์ ก็ยังเสี่ยงที่จะพ่ายแพ้ จึงหันไปเทคะแนนให้คุณจุรินทร์ เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายยึดพรรค ขณะที่เสียง ส.ส. 1 เสียง มีน้ำหนักถึง 70% ทำให้คะแนนของคุณจุรินทร์ทิ้งห่าง และต้องไม่ลืมว่า คุณอภิสิทธิ์คือผู้ที่ประกาศไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจของ "บิ๊กตู่" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และกลุ่มคุณอภิสิทธิ์ยังเห็นด้วยกับแนวทาง "ฝ่ายค้านอิสระ ด้วย แต่ผู้ที่มีสิทธิ์ตัดสินใจว่าจะร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาล คือที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค ร่วมกับ ส.ส.การวิเคราะห์แนวโน้ม จึงต้องพิจารณาจากตัวเลขผู้มีสิทธิ์โหวตตัดสินใจ พบว่าใช้เสียงกรรมการบริหารพรรค 41 เสียง กับเสียง ส.ส.อีก 52 เสียง แต่ผลการเลือกกรรมการบริหารพรรคเมื่อวาน ปรากฏว่ามีกรรมการบริหารพรรค 7 คนเป็น ส.ส.ด้วย ฉะนั้นคะแนนโหวตรวมก็จะหายไป ไม่ใช่เอา 41+52 เป็น 93 เสียง แต่เสียงซ้ำซ้อนต้องตัดออกไป คือจะเหลือเสียงที่จะโหวตได้จริงๆ แค่ 86 เสียงเมื่อแยกแยะออกมาชัดๆ ระหว่างคะแนน ส.ส. กับคะแนนกรรมการบริหารพรรค โดยเอาคะแนนกรรมการบริหารพรรคเป็นหลัก จะพบว่า เสียง ส.ส. 52 เสียง ซ้ำซ้อน 7 เสียง ก็จะเหลือ 45 เสียง ในจำนวน ส.ส.ทั้งหมด เป็น ส.ส.เขต 33 คน น่าจะโหวตร่วมรัฐบาลกับพลังประชารัฐทั้งหมด ขณะที่เสียงกรรมการบริหาพรรค 41 เสียง ส่วนใหญ่เป็นสายคุณชวน และคุณอภิสิทธิ์ งานนี้คนในพรรคเองยังยอมรับว่า เสียงก้ำกึ่งกันมากจริงๆ แนวทางที่เป็นไปได้มี 3 แนวทาง คือ 1.โหวตเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ แต่เสียงก้ำกึ่งกัน สุดท้ายเมื่อถึงเวลาโหวตเลือกนายกฯ อาจมี ส.ส.บางคน เช่น คุณอภิสิทธิ์ งดออกเสียง เพื่อรักษาจุดยืนพรรคและจุดยืนของตัวเอง 2.โหวตไม่เข้าร่วมรัฐบาล เป็นฝ่ายค้านอิสระ แต่แน่นอนว่าเมื่อเสียงก้ำกึ่งกัน อาจมี ส.ส.บางส่วนเป็น "งูเห่า" หรือ 3. ปล่อยฟรีโหวต โดยอ้างว่าการโหวตเลือกนายกฯเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส.มติพรรคบังคับไม่ได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาก็คือเงื่อนไขการร่วมรัฐบาลจะอ่อนลงไป จากการสอบถามแกนนำพรรคหลายคน ยืนยันตรงกันว่า แนวทางที่พรรคจะออกมติ "เป็นฝ่ายค้านอิสระ" มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยที่สุด โอกาสที่มากกว่าคือมติร่วมรัฐบาล แล้วแกนนำบางคนงดออกเสียง เรื่องการตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาลนั้น มีข่าวอีกกระแสหนึ่งจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ระบุว่า ก่อนหน้านี้ผู้ใหญ่ระดับสูงสุดพรรค ได้คุยสายตรงกับ "บิ๊กป้อม" พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้จัดการรัฐบาลชุดต่อไปแล้ว และผู้ใหญ่ในพรรคได้ยืนยันกับ พลเอกประวิตร ว่าจะเข้าร่วมรัฐบาลอย่างแน่นอน แต่ขอให้คนนอกพรรค โดยเฉพาะทหาร อย่าเข้ามาแทรกแซงกระบวนการคัดเลือกหัวหน้าพรรค และการกำหนดจุดยืนทางการเมือง โดยขอให้คนในพรรคจัดการกันเองทั้งหมดนี้คือแนวโน้มท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งวิเคราะห์แล้วโอกาสสูงสุดคือเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ แต่เสียงโหวตสนับสนุนของ ส.ส.อาจไม่ครบ 52 เสียง ฉะนั้นหากพรรคพลังประชารัฐต้องการความแน่นอน โดยเฉพาะการชิงเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็อาจต้องหา "งูเห่า" จากขั้วเพื่อไทยมาเติม เพื่อการันตีว่าจะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภาอย่างแน่นอน คอการเมืองจึงเชื่อว่างานนี้ต้องมี "งูเห่า" อย่างน้อยๆ 20 เสียงเลยทีเดียว 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ