Program Online

"ห้ามถือหุ้นสื่อ" กฎเหล็กในศาลรัฐธรรมนูญ - กฎหมายลูก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ความสำคัญของการถือครองหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชน เป็นลักษณะต้องห้ามของการเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ความสำคัญของการถือครองหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชน เป็นลักษณะต้องห้ามของการเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเป็นหลักการที่่วางไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งมานานแล้ว ไม่ได้เริ่มมีบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นครั้งแรก

โดยในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 บัญญัติไว้ในมาตรา 48 ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม และเขียนย้ำไว้ในมาตรา 265-268 ว่าด้วยการกระทำอันเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ โดยระบุห้ามทั้ง ส.ส. , ส.ว. , และรัฐมนตรี ถือหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชนแต่ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 กำหนดให้ผู้ที่จะต้องดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ ส.ส. ส.ว. และรัฐมนตรี จัดการเรื่องหุ้นกิจการสื่อให้เรียบร้อยก่อนเข้าดำรงตำแหน่งเท่านั้น ไม่ได้ห้ามตั้งแต่ลงสมัคร ส.ส. และหาก "องค์กรตรวจสอบ" พบว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนใดยังมีหุ้นในกิจการสื่ออยู่ระหวางดำรงตำแหน่ง ก็จะเป็นเหตุให้ขาดจากสมาชิกภาพการดำรงตำแหน่ง โดยผู้ชี้ขาดคือศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นได้ว่าเรื่องนี้บัญญัติมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 แล้วส่วนในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ 2560

 

คือฉบับปัจจุบัน ยกระดับ "ลักษณะต้องห้ามการถือครองหุ้นสื่อ" เป็นลักษณะต้องห้ามตั้งแต่การสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัครรับการสรรหาเป็น ส.ว. และต้องห้ามสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีด้วย / คือต้องห้ามถือหุ้นกิจการสื่อก่อนสมัครรับเลือกตั้งเลย โดยรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ที่มาตรา 98(3) "ห้ามเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ" / และข้อความเดียวกันนี้ยังบัญญัติอยู่ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 42(3) ด้วย เป็นลักษณะต้องห้ามการสมัครรับเลือกตั้ง จึงต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อนไปยื่นใบสมัครนอกจากนี้ ผู้ที่ฝ่าฝืนยังมีโทษด้วย บัญญัติอยู่ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 151 คือรู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิ์สมัคร หรือมีลักษณะต้องห้ามในการสมัคร ส.ส. แต่ยังฝืนสมัคร / มีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 2 หมื่นถึง 2 แสนบาท และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งเป็นเวลา 20 ปีสาเหตุที่รัฐธรรมนูญต้องบัญญัติเรื่องนี้ เป็นไปตามหลักสากลเรื่องเสรีภาพสื่อ ไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเกี่ยวข้องทางการเมือง เข้าไปแทรกแซง ครอบงำสื่อมวลชนได้ เนื่องจากจะสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบในทางการเมืองแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ ผู้สมัคร ส.ส. และว่าที่ ส.ส.จากบางพรรคการเมืองที่ถูกยื่นตรวจสอบการถือครองหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชน ซึ่งบางคนถูกศาลฎีกาสั่งเพิกถอนสิทธิ์การสมัครไปแล้วด้วย อ้างว่าบริษัทที่ตนเองถือหุ้นนั้น ไม่ได้ประกอบกิจการเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน เพียงแต่ตอนยื่นจดแจ้งก่อตั้งบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์ จะมีแบบฟอร์มมาให้กรอกเกี่ยวกับรูปแบบกิจการที่จะทำธุรกิจ ซึ่งมีถึง 23 รูปแบบ รวมทั้งกิจการสื่อสารมวลชนด้วย  

โดยมากทนายที่ปรึกษาการเปิดบริษัทจะแนะนำให้ผู้ที่จะก่อตั้งบริษัท แจ้งรูปแบบการประกอบกิจการให้ครอบจักรวาลเอาไว้ก่อน เพื่อที่ว่าในอนาคตจะได้ไม่ต้องขออนุญาตเพิ่มเติมอีก ทำให้มีการตีความจากผู้สมัครหลายคนว่า หากกิจการที่ตนประกอบการจริงๆ ไม่ได้เป็นกิจการสื่อสารมวลชน ก็ไม่ต้องโอนหรือขายหุ้นให้บุคคลอื่น ยังสามารถถือครองหุ้นต่อไปได้ประเด็นนี้ทำให้หลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้ศาลหรือองค์กรอิสระที่รับผิดชอบวางบรรทัดฐานให้ชัดเจนว่า การถือครองหุ้นกิจการสื่อสารมวลชน ต้องเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการสื่อสารมวลชนจริงๆ เท่านั้นหรือไม่ เพราะหากพิจารณาเฉพาะรูปแบบกิจการตามเอกสารของกระทรวงพาณิชย์ น่าจะกระทบผู้สมัครจำนวนมาก

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ