Program Online

มหัศจรรย์น้ำมันกัญชารักษาโรคพาร์กินสัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มหัศจรรย์น้ำมันกัญชารักษาโรคพาร์กินสัน

ชายสูงอายุได้รับการหยดน้ำมันกัญชาลงบริเวณใต้ลิ้น อาการมือสั่นจากโรคพาร์กินสันก็ทุเลาลงทันที ใครไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่ากัญชาออกฤทธิ์เร็วทันตาเห็น มากไปนั้นขาที่ขยับยากก็ยกขึ้นก้าวเท้าได้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ หมดเงินไปกับการรักษาโรคหลายแสนบาท หนึ่งในตัวอย่างของผู้ป่วยที่ใช้น้ำมันกัญชา ที่กลายเป็นความหวันของคนมีโรคหลายล้านคน

กัญชา กลายเป็นพืชที่สร้างประเด็นถกเถียง ว่าแท้จริงเป็นยาเสพติดหรือยารักษาโรค แม้จะถูกกฎหมายในบางประเทศ แต่อีกหลายประเทศ ก็ยังไม่สามารถใช้ได้อย่างถูกต้องสารที่มีอยู่ในกัญชาอย่าง THC และ CBD เป็นสารที่รักษาได้สารพัดโรค ข้อแตกต่างคือ THC จะทำให้เกิดอาการเมา แต่ CBD ไม่เมา อาการเจ็บป่วยหลายๆ แบบนั้นสามารถบรรเทาได้ด้วยทั้ง THC และ CBD โดยอาการที่เฉพาะสาร THC ช่วยได้ เช่น อาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อกระตุกส่วนอาการที่เฉพาะ CBD ช่วยบรรเท่าได้ ได้แก่ ไมเกรน ซึมเศร้า การอักเสบของกล้ามเนื้อ ต้อหิน ลมชัก และอาการทางจิต และอาการที่สารทั้ง 2 ช่วยได้เหมือนกัน เช่น ความเจ็บป่วย ความวิตกกังวลเนื่องจากในกัญชา จะมี THC ประกอบอยู่ถึง 12% และมี CBD เพียงไม่ถึง 0.30% เท่านั้นการสูบโดยตรงเพื่อรักษาโรคที่ CBD ทำได้นั้น ล้วนแต่ทำให้ร่างกายได้รับแต่ THC มากเกินไปการจะใช้งาน CBD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยการสกัดมันออกมาจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีกัญชา หรือ ต้นกัญชาโดยตั้งใจใช้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและเป็นยารักษาโรค

ในทางเภสัชวิทยา องค์ประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลักของกัญชา คือ เตตระไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ซึ่งเป็นสารประกอบหนึ่งจาก 483 ชนิดที่ทราบว่าพบในต้นกัญชา

ซึ่งสารอื่นที่พบมีแคนนาบินอยด์อีกอย่างน้อย 84 ชนิด เช่น แคนนาบิไดออล (CBD) แคนนาบินอล (CBN) เตตระไฮโดรแคนนาบิวาริน (THCV และ แคนนาบิเจอรอล (CBG)มนุษย์มักบริโภคกัญชาเพื่อผลที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและสรีรวิทยาของมัน ซึ่งรวมถึงภาวะเคลิ้มสุข ความผ่อนคลาย และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ผลข้างเคียงไม่พึงปรารถนาบางครั้งรวมถึงความจำระยะสั้นลดลง ปากแห้ง ทักษะการเคลื่อนไหวบกพร่อง ตาแดง และรู้สึกหวาดระแวงหรือวิตกกังวลปัจจุบันกัญชาใช้เป็นยานันทนาการหรือยารักษาโรค และเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนาหรือวิญญาณ มีบันทึกการใช้กัญชาครั้งแรกตั้งแต่สหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล นับแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 กัญชาถูกจำกัดตามกฎหมาย

โดยปัจจุบันการครอบครอง การใช้หรือการขายการเตรียมกัญชาปรุงสำเร็จซึ่งมีแคนนาบินอยด์ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทผิดกฎหมายในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก สหประชาชาติแถลงว่า กัญชาเป็นยาผิดกฎหมายที่ใช้มากที่สุดในโลก ในปี 2547 สหประชาชาติประมาณการบริโภคกัญชาทั่วโลกชี้ว่าประมาณ 4% ของประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลก (162 ล้านคน) ใช้กัญชาทุกปี และประมาณ 0.6% (22.5) ใช้ทุกวัน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ