Program Online

'ศรีสุวรรณ' สวนกลับ 'บิ๊กแดง' ลั่นกฎหมายเปิดช่องถอดถอนได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เจ้าของฉายา "นักร้อง" ศรีสุวรรณ จรรยา สวนกลับ "บิ๊กแดง" ผบ.ทบ. ลั่น กฎหมายเปิดช่องถอดถอนได้

สำหรับการล่าชื่อถอดถอน ผบ.ทบ.ออกจากตำแหน่ง หลายเป็นประเด็นโต้เถียงกันว่าทำได้หรือไม่ได้ เพราะเมื่อวานตัว พล.อ.อภิรัชต์ เองก็เปรยในที่ประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก หรือ นขต.ทบ. ว่าตำแหน่งของตนไม่อยู่ในข่ายถูกถอดถอนได้ตามกฎหมาย

 

เรื่องนี้มีมุมมองที่แตกต่างจากเจ้าของฉายา "นักร้อง" นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ที่บอกว่า ท่าทีของผู้นำกองทัพส่อให้เห็นถึงความไม่รู้หรือไม่เข้าใจบริบทของกฎหมายอย่างแท้จริง เพราะการล่าชื่อหรือเข้าชื่อถอดถอนนั้น ปัจจุบันนี้กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ทำได้แต่เฉพาะนักการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่สามารถทำได้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน ซึ่งตำแหน่ง ผบ.ทบ.ก็อยู่ในข่ายนี้ด้วย ประเด็นนี้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 234 (2) เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. ระบุว่า ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม เพื่อดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือ กฎหมาย ป.ป.ช. เมื่อตามไปดูกฎหมาย ป.ป.ช. จะพบว่าเขียนรองรับเรื่องนี้ไว้ในมาตรา 28 และมาตรา 32 ชัดเจนว่า ป.ป.ช.มีอำนาจหน้าที่ในการไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐใด กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ประชาชนสามารถร้องเรียนเพื่อให้ ป.ป.ช.ไต่สวนได้ เพื่อนำไปสู่การเสนอมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ให้ปรับปรุงการปฏิบัติราชการของหน่วยงานนั้น

กรณีนี้ก็คือกระทรวงกลาโหมและกองทัพบก ซึ่งในความเข้าใจของนายศรีสุวรรณ เห็นว่า ป.ป.ช.จะเสนอให้โยกย้าย ผบ.ทบ.ออกจากตำแหน่งเสียก็ได้นายศรีสุวรรณ บอกด้วยว่า ผบ.ทบ.ต้องยอมรับความจริงว่าได้ใช้วาทกรรมที่อาจสร้างความไม่พอใจของประชาชนบางส่วนมาหลายต่อหลายครั้ง ทั้งๆ ที่วาทกรรมเหล่านั้นอาจไม่ใช่หน้าที่ในตำแหน่งราชการของ ผบ.ทบ. ตามระบุไว้ในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ.2552 ฉะนั้นประชาชนจึงมีสิทธิ์ล่ารายชื่อเพื่อนำไปสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมว่า การถอดถอนในความหมายที่ผู้นำกองทัพและประชาชนบางส่วนเข้าใจ คือการล่าชื่อส่งให้ ป.ป.ช.ไต่สวนในความผิดฐานทุจริต ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ถ้ามีมูลความผิดจริง ก็ส่งให้วุฒิสภาลงมติถอดถอนออกจากตำแหน่ง ซึ่งน่าจะทำได้เฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น / แต่กรณีที่นายศรีสุวรรณและกลุ่มที่รณรงค์ล่าชื่อพูดถึง คือการเสนอให้ ป.ป.ช.ไต่สวนพฤติกรรมของ ผบ.ทบ.ที่อาจเข้าข่ายขัดต่อกฎหมาย ซึ่งหากมีความผิดจริง ป.ป.ช.ก็จะส่งเรื่องให้ต้นสังกัดถอดถอนออกจากตำแหน่ง แต่ฐานความผิดน่าจะเป็นเฉพาะเรื่องทุจริตต่อหน้าที่ และไม่มีขั้นตอนการส่งวุฒิสภาให้ลงมติถอดถอนจากตำแหน่ง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ