Program Online

(คลิปข่าว) "รัฐบาลเฉพาะกาล" กับ "รัฐบาลแห่งชาติ"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(คลิปข่าว) "รัฐบาลเฉพาะกาล" กับ "รัฐบาลแห่งชาติ"

"บิ๊กเซอร์ไพรส์" ของพรรคไทยรักษาชาติ คอการเมืองบางส่วนมองว่าคือการปูทางไปสู่ "รัฐบาลแห่งชาติ" แต่เมื่อทุกอย่างต้องสะดุดหยุดสนิท กลับมี "พ่อใหญ่จิ๋ว" ออกมาจุดพลุ "รัฐบาลเฉพาะกาล" ขึ้นมาอีก ทั้งหมดนี้คือสัญญาณบอกอะไรในทางการเมือง ติดตามจากรายงานพิเศษช่วงเนชั่นอิเล็กชั่น 2019

ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ "พ่อใหญ่จิ๋ว" พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 22 วัย 87 ปี ออกมาเสนอตั้ง "รัฐบาลเฉพาะกาล"เพราะเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว "พ่อใหญ่จิ๋ว" ก็เพิ่งออกมาแถลงข่าวเรียกร้องให้ตั้ง "รัฐบาลเฉพาะกาล" โดยให้ "บิ๊กตู่" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ และให้ คสช.ยุติบทบาท แล้วตั้ง "รัฐบาลชั่วคราว" มาทำหน้าที่แทนช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การเลือกตั้ง"รัฐบาลเฉพาะกาล" คืออะไร ทำไมคนระดับอดีตนายกฯต้องออกมาเรียกร้องบ่อยๆ ถือว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจในทางรัฐศาสตร์ "รัฐบาลเฉพาะกาล" หรือเรียกง่ายๆ ว่า "รัฐบาลเฉพาะกิจ" เป็นรัฐบาลที่ตั้งขึ้นมาชั่วคราว อาจโดยอำนาจพิเศษ หรือความยินยอมพร้อมใจของประชาชนก็ได้ มีเป้าหมายเพื่อให้เข้ามาบริหารประเทศในช่วงวิกฤติ หรือช่วงเปลี่ยนผ่าน เช่น ในช่วงที่บ้านเมืองวุ่นวาย ทหารเข้าควบคุมสถานการณ์ กดดันให้รัฐบาลชุดเก่าออกไป แล้วตั้ง "รัฐบาลชั่วคราว" ขึ้นมา เพื่อดูแลประเทศช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การเลือกตั้งใหม่ ให้ได้รัฐบาลใหม่ โดยทหารไม่ได้เข้ามาบริหารเอง แบบนี้คือรูปแบบของ "รัฐบาลเฉพาะกาล" รูปแบบหนึ่งแต่คีย์เวิร์ดที่สำคัญก็คือ "รัฐบาลเฉพาะกาล" ต้องเข้ามาบริหารประเทศในระยะเวลาไม่นานนัก เพราะถ้าอยู่นานข้ามปีหรือหลายๆ ปี ย่อมไม่ใช่รัฐบาลเฉพาะกิจ เฉพาะกาลสำหรับประเทศไทย นักรัฐศาสตร์มองว่าเคยมีรัฐบาลที่อาจเข้าข่ายเป็น "รัฐบาลเฉพาะกาล" มาแล้ว ก็คือรัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน สมัยที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ มีการตั้งรัฐบาลนายอานันท์เข้ามาจัดการบ้านเมือง ปรับแก้กติกา และเดินหน้าสู่เลือกตั้ง โดยใช้ระยะเวลาเพียงสั้นๆ เพียงไม่กี่เดือนนอกจาก "รัฐบาลเฉพาะกาล" แล้ว ยังมีอีกวลีหนึ่งที่ถูกพูดถึงบ่อยๆ รวมทั้งจาก "พ่อใหญ่จิ๋ว" ด้วย ก็คือ "รัฐบาลแห่งชาติ" แต่ในทางรัฐศาสตร์ "รัฐบาลเฉพาะกาล" มีความหมายคนละอย่างกับ "รัฐบาลแห่งชาติ"โดย "รัฐบาลแห่งชาติ" มีความหมายกว้างกว่า "รัฐบาลเฉพาะกาล" คือเป็นรัฐบาลที่ทุกพรรคการเมืองมาร่วมกันบริหารประเทศ ไม่มีฝ่ายค้าน ระยะเวลาการบริหารอาจจะสั้นหรือยาวก็ได้ ขึ้นกับสถานการณ์ ฉะนั้นรัฐบาลแห่งชาติบางรัฐบาลก็อาจเป็น "รัฐบาลเฉพาะกาล" ได้ด้วยเหมือนกันแต่คีย์เวิร์ดสำคัญคือ ต้องดึงทุกพรรคการเมืองมาร่วมกันบริหาร โดยไม่มีฝ่ายค้าน เพื่อนำพาประเทศฝ่าวิกฤติขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง แล้วพรรคการเมืองเห็นพ้องต้องกันที่จะจับมือกันแก้ไขปัญหาโดยไม่แยกพวกแยกฝ่ายอีกต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์การเมืองไทยยังไม่เคยมี "รัฐบาลแห่งชาติ"สถานการณ์ที่จะทำให้เกิด "รัฐบาลแห่งชาติ" ต้องวิกฤติจริงๆ เช่น เกิดสงครามขนาดใหญ่ จึงพักการแข่งขันทางการเมืองเอาไว้ก่อน แล้วตั้งรัฐบาลร่วมกันเพื่อบริหารประเทศ หรือสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง โมเดล "รัฐบาลแห่งชาติ" ก็ช่วยได้เช่นกัน นอกจากนั้นยังมี "รัฐบาลแห่งชาติ" ที่เกิดจากผลของรัฐธรรมนูญ เช่น ในบางประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา รัฐธรรมนูญจะเขียนบังคับให้การตั้งรัฐบาลต้องใช้เสียงข้างมากเป็นพิเศษ เพื่อดึงพรรคการเมืองที่เป็นพรรคเชื้อชาติเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ป้องกันความแตกแยก รัฐบาลแห่งชาติแบบนี้ เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของเบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์

(คลิปข่าว) "รัฐบาลเฉพาะกาล" กับ "รัฐบาลแห่งชาติ"

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ