Program Online

(คลิปข่าว) กฟผ.ดันโซลาร์ลอยน้ำในเขื่อน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(คลิปข่าว) กฟผ.ดันโซลาร์ลอยน้ำในเขื่อน โครงการไฮบริดใหญ่สุดในโลก

กฟผ.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนลงทุนระบบผลิตไฟฟ้าผสมผสานระหว่างพลังน้ำจากเขื่อนและพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ลอยน้ำบนเขื่อน จะนำร่องติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำที่เขื่อนสิรินธร มูลค่าโครงการประมาณ 2 พันล้านบาท ถือเป็นโครงการไฮบริดแห่งแรกที่มีขนาดใหญ่สุดในโลก

รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ระบุ กฟผ.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนลงทุนระบบผลิตไฟฟ้าผสมผสานระหว่างพลังน้ำจากเขื่อนและพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ลอยน้ำบนเขื่อน หรือ Hydro-Floating Solar Hybrid โดยจะนำร่องติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี กำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการประมาณ 2 พันล้านบาท ถือเป็นโครงการไฮบริดแห่งแรกที่มีขนาดใหญ่สุดในโลกหากได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี กฟผ.จะเร่งเปิดประมูลหาผู้ดำเนินการติดตั้ง(EPC) ภายใน 1-2 เดือนนี้ เพื่อให้เสร็จทันกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์(COD) ในปี 2563 ภายใต้ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ปี 2561-2580 หรือแผนพีดีพี ฉบับใหม่ ซึ่งโครงการนี้จะใช้รูปแบบเปิดประมูลประกวดราคานานาชาติ แผนพีดีพีฉบับใหม่กำหนดสัดส่วนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ อยู่ที่ 2,725 เมกะวัตต์ ซึ่ง กฟผ.มีศักยภาพลงทุนทั้งหมด เพราะมีความพร้อมทั้งบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานโดย กฟผ.ได้จัดทำแผนลงทุนระบบ Hydro-Floating Solar Hybrid ใน 9 เขื่อน คือ เขื่อนสิรินธร เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนบางลาง เขื่อนรัชชประภา และเขื่อนสิริกิติ์ กำลังผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเริ่มทยอยเข้าระบบตั้งแต่ปี 2563-2580 ตามแผนพีดีพีใหม่ในส่วนของพลังงานหมุนเวียน กฟผ.จะได้สิทธิ์ดำเนินการแค่โครงการโซลาร์ลอยน้ำในเขื่อนเท่านั้น และเมื่อรวมกับลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่ในพีดีพี สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.ในปี2580 จะลดลงเหลือ 24% จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 34% ซึ่งยังถือว่าน้อยในแง่ของการดูแลความมั่นคงของระบบ

(คลิปข่าว) กฟผ.ดันโซลาร์ลอยน้ำในเขื่อน

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ