Program Online

(คลิปข่าว) สปท.ทดสอบนำโดรนแก้ปัญหา PM 2.5

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(คลิปข่าว) สปท.ทดสอบนำโดรนแก้ปัญหา PM 2.5

มาตการการแก้ปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลในขณะนี้ หลายมาตรการดำเนินการไปแล้ว ล่าสุดสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศได้มีการทดสอบบินโดรนในการพ่นละอองน้ำผสมสารดักจับฝุ่นขนาดเล็ก เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการแก้ปัญหานี้ บรรยากาศสดตอนนี้เป็นอย่างไร ติดตามกับชุตินันท์ เพชรากานต์

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่กลับมารุนแรงขึ้น จึงทำให้วันนี้ทางสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป.ทดสอบนำโดรนทั้งหมด 12 ลำมาฉีดพ่นละอองน้ำผสมสารดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กเพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอนภาพท่าอากาศยานไร้คนขับที่ขึ้นบินสูงจากพื้นดินประมาณ 25 เมตร ในการฉีดพ่นละอองน้ำผสมสารดักจับฝุ่นขนาดเล็กที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ใช้เวลาในการบินต่อครั้งประมาณ 42 นาที และใช้น้ำต่อลำในครั้งละ 10 ลิตร สามารถปล่อยต่อเนื่อง 190 ลิตรต่อการบิน 1 ชั่วโมงวันนี้ถือว่าเป็นการทดลองครั้งที่ 5 ที่จะนำอากาศยานไร้คนขับขึ้นบินเพื่อฉีดพ่นละอองน้ำผสมสารดักจับฝุ่นขนาดเล็กที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ของภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งการทดสอบครั้งนี้ทดสอบที่สวนรถไฟที่มีเนื้อที่ 3,200 ตารางเมตร หรือประมาณ 2 ไร่การตรวจสอบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จะมีหน่วยตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบเคลื่อนที่ กรมควบคุมมลพิษค่อยตรวจสอบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กซึ่งต้องใช้เวลาหลังจากบินเสร็จประมาณ1ชั่วโมงจึงจะทราบผล ด้านนักบินบริษัทใส่ใจ๑๙ สุเมธ. กุลทะโชติ บอกว่า ทางบริษัทได้นำท่าอากาศยานไร้คนขับมา 2 ลำมาช่วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพ่นน้ำผสมสารดักจับฝุ่นขนาดเล็กและหวังว่าจะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ไม่มากก็น้อยสำหรับการทดสอบ 4 ครั้งที่ผ่านมาค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ลดลงประมาณ 10 ไมโครกรัม จะลดน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ แต่วันนี้การทดสอบครั้งที่ 5 วัดจากการบินโดรนขึ้นจากสภาพอากาศแบบเรียลไทม์จาก 54 ไมโครกรัมลดลงเหลือ 49 ไมโครกรัมสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กตอนนี้ที่สวนรถไฟดีขึ้นกว่าเมื่อวาน ซึ่งการทดสอบนำโดรนขึ้นพ่นละอองน้ำผสมสารดักจับฝุ่นขนาดเล็กในครั้งนี้ทำให้หลายหน่วยงานหวังเป็นอย่างยิ่งจะสามารถช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้

(คลิปข่าว) สปท.ทดสอบนำโดรนแก้ปัญหา PM 2.5

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ