Program Online

(คลิปข่าว) สนามกีฬานราธิวาส "ร้าง-พัง-สร้างไม่เสร็จ"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(คลิปข่าว) สนามกีฬานราธิวาส "ร้าง-พัง-สร้างไม่เสร็จ"

การสัมมนาร่วมกันระหว่างองค์กรตรวจสอบหลายองค์กรเกี่ยวกับปัญหาการก่อสร้างสนามกีฬาจังหวัดนราธิวาสที่สร้างมานาน หมดงบไปเยอะแล้ว แต่ยังไม่เสร็จเสียที ข่าวนี้ไม่ค่อยมีใครขยายมากนัก เพราะมีข่าวศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 70 ปี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนในนราธิวาสเหมือนกัน โกงงบค่าอาหารกลางวันเด็ก เป็นข่าวใหญ่กว่า

สาเหตุที่องค์กรตรวจสอบหลายองค์กร ทั้ง ป.ป.ช.ภาค 9 ป.ป.ช.จังหวัด ต้องถึงขั้นจัดสัมมนาในเรื่องนี้ เพราะโครงการก่อสร้างสนามกีฬาจังหวัดนราธิวาส เป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างสนามกีฬา 7 แห่งใน 7 จังหวัดของการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. งบประมาณรวมสูงถึง 1,200 ล้านบาท แต่กลับพบปัญหามากมาย โครงการเริ่มตั้งแต่ปี 54 ถึงปี 59 แต่ป่านนี้ปี 61 ก็ยังไม่แล้วเสร็จ แถมยังเจอปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงานอีกด้วยนี่คือสภาพจริงของสนามกีฬาจังหวัดนราธิวาส เป็นภาพวันนี้เลย เราส่ง "ทีมข่าว" ไปถ่ายมาให้ดูกันชัดๆ จะเห็นว่าสภาพรวมๆ ถูกทิ้งร้าง สิ่งปลูกสร้างที่สร้างมาก่อนหน้านี้ก็พังเสียหาย บางจุดเหมือนกำลังพยายามก่อสร้างต่อปัญหาเท่าที่สรุปได้จากวงสัมมนาก็คือ1.กกท.หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย เจ้าของโครงการ แทนที่จะเปิดประมูลหาบริษัทผู้รับเหมาผู้เชี่ยวชาญมารับงาน แต่กลับไปทำบันทึกข้อตกลง หรือ "เอ็มโอยู" กับกรมทางหลวง ให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสนามกีฬาในจังหวัดต่างๆ ซึ่งจริงๆ แล้วมีมากกว่า 7 จังหวัด งบประมาณรวมสูงกว่า 2 หมื่นล้านบาท / โดยในส่วนของ 7 จังหวัดที่รวมนราธิวาสด้วยนี้ อยู่ในความรับผิดชอบของ "ศูนย์สร้างทางลำปาง" ทั้งๆ ที่ "กรมทางหลวง" มีภารกิจหลักคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ไม่ใช่สร้างสนามกีฬาสำหรับ "ศูนย์การทางลำปาง" ซึ่งอยู่ภาคเหนือ จริงๆ แล้วรับผิดชอบก่อสร้างสนามกีฬา 8 แห่ง คือที่ จังหวัดมหาสารคาม สระแก้ว สมุทรปราการ อำนาจเจริญ สกลนคร เพชรบูรณ์ นราธิวาส และศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ จังหวัดสระบุรี วงเงินรวมกว่า 1,200 ล้านบาท ทั้งหมดนี้สร้างเสร็จเพียงแห่งเดียว คือ ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ สระบุรี ที่เหลือสร้างไม่เสร็จ รวมทั้งที่นราธิวาสด้วยโครงการนี้เคยถูก สตง. หรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบและสรุปเรื่องให้รัฐมนตรีว่ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในยุคก่อนหน้านี้แก้ไขปัญหามาแล้ว เพราะส่อว่าเป็นการดำเนินโครงการที่ทำให้ราชการเสียหาย และประชาชนเสียประโยชน์คุณสนั่น ทองจีน ผู้ช่วยเลขาธิการ ป.ป.ช.ภาค 9 บอกว่า สนามกีฬาจังหวัดนราธิวาส เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ โครงการลักษณะนี้ ยิ่งขนาดใหญ่ ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะทุจริต เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก และมีวิธีดำเนินการที่ซับซ้อน อีกทั้งการดำเนินโครงการก็ยาวนาน การตรวจสอบจึงทำได้ยากปัจจุบันงานก่อสร้างอยู่ในความรับผิดชอบของ บริษัท ไทยพารากอน คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งประมูลงานได้ 3 สัญญา งบประมาณ 57 ล้านบาท เป็นการเข้าไปรับงานต่อจากผู้รับเหมารายเดิมที่ทิ้งงาน แต่ก็พบปัญหาใหม่คือ บริษัท ไทยพารากอนฯ ไม่ได้รับเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างเดิมที่ผู้รับเหมารายเก่าสร้างไว้ จึงไม่สามารถเข้าไปรื้อหรือต่อเติมใหม่ได้ เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะหากโครงสร้างอาคารเดิมไม่ได้มาตรฐานพอ หรือไม่สามารถรับน้ำหนักได้ หากฝืนเข้าไปทำงานต่อ ก็จะเกิดอันตราย ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานไหนรับรองได้เลยว่าอาคารที่สร้างไปบางส่วนแล้ว มีมาตรฐานถูกต้องและสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ ทำให้การก่อสร้างในส่วนของบริษัทฯ ต้องล่าช้า แต่ทางบริษัทฯก็จะพยายามต่อไป เพื่อไม่ให้ถูกขึ้นบัญชีดำ หรือ แบล็คลิสต์ จากส่วนราชการนี่คืออีก 1 มหากาพย์โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ออกแบบและคิดโครงการเอาไว้อย่างสวยหรู แต่สุดท้ายก็ต้องล้มไป เพราะปัญหาความไม่โปร่งใสและการทุจริต

(คลิปข่าว) สนามกีฬานราธิวาส "ร้าง-พัง-สร้างไม่เสร็จ" (คลิปข่าว) สนามกีฬานราธิวาส "ร้าง-พัง-สร้างไม่เสร็จ" (คลิปข่าว) สนามกีฬานราธิวาส "ร้าง-พัง-สร้างไม่เสร็จ"

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ