Program Online

(คลิปข่าว) เส้นทาง "บิ๊กตู่" สู่ "นายกฯคนใน"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(คลิปข่าว) เส้นทาง "บิ๊กตู่" สู่ "นายกฯคนใน"

ยังวิจารณ์กันไม่จบ หลัง "บิ๊กตู่" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยอมประกาศแบบชัดๆ ว่า "สนใจงานการเมือง" โดย "บิ๊กตู่" ให้เหตุผลว่า ท่านรักชาติรักแผ่นดิน และอยากติดตามดูว่าสิ่งที่ท่านทำมานานกว่า 4 ปีนั้น จะประสบความสำเร็จมรรคผลสักแค่ไหน คำประกาศนี้ทำให้หลายคนคาดการณ์ว่า "บิ๊กตู่" กำลังเตรียมแต่งตัวรอเป็น "นายกฯคนใน" หลังเลือกตั้ง ส่วนจะอยู่พรรคพลังประชารัฐหรือไม่นั้น อาจจะต้องรอถึงเดือนธันวาฯ จึงจะมีความชัดเจน แต่เส้นทางสู่เก้าอี้ "นายกฯคนใน" ถึงนาทีนี้ต้องบอกว่าสดใสแวววาว

การเป็น "นายกฯคนใน" หมายถึงการเป็นนายกฯที่สมาชิกรัฐสภาโหวตเลือกจากบัญชีพรรคการเมืองที่เปิดให้เสนอได้พรรคละ 3 ชื่อ โดย "บิ๊กตู่" ไม่จำเป็นต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไหนเลย และไม่ต้องลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 88 เปิดช่องให้พรรคการเมืองเสนอชื่อบุคคลที่พรรคเห็นสมควรสนับสนุนเป็นนายกรัฐมนตรีได้ พรรคละไม่เกิน 3 ชื่อ โดยเสนอรายชื่อต่อ กกต. หรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง ก่อนปิดการรับสมัครเลือกตั้ง จากนั้นพรรคการเมืองก็สามารถนำรายชื่อนั้นไปรณรงค์หาเสียงได้ฉะนั้น ความชัดเจนของ "บิ๊กตู่" ว่าจะได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองใด เป็นพรรคพลังประชารัฐตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์หรือไม่ ต้องรอดูหลังจาก กกต.ประกาศพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ราวๆ เดือนธันวาคมทีนี้มันจะมีปัญหาตามมาหรือเปล่า เพราะต้องยอมรับว่า "บิ๊กตู่" มีคะแนนนิยมส่วนตัวของท่านเองไม่น้อยทีเดียว โพลล์หลายสำนักก็ชี้ชัดตรงกันว่าคะแนนนิยมสูง ถ้ามีพรรคการเมืองหลายพรรคสนใจเสนอชื่อ "บิ๊กตู่" เป็นนายกฯ จะทำอย่างไร สมมติว่าพรรคพลังประชารัฐก็เสนอชื่อ แล้วยังมีพรรคประชาชนปฏิรูป ของคุณไพบูลย์ นิติตะวัน อยากจะเสนอด้วย แบบนี้รัฐธรรมนูญมาตรา 89 เขียนหลักเกณฑ์เอาไว้ชัดเจนว่า "บิ๊กตู่" ต้องเลือกเอาพรรคใดพรรคหนึ่งเพียงพรรคเดียวเท่านั้น และต้องทำหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยที่น่าสนใจก็คือ การยินยอมรับข้อเสนอจากพรรคการเมืองที่จะเสนอชื่อตนเองเป็นนายกฯนั้น "บิ๊กตู่" ไม่จำเป็นต้องสมัครเข้าพรรคการเมืองไหนเลย คือไม่ต้องเป็นสมาชิกพรรคไหนทั้งสิ้น เพราะคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 ซึ่งก็คือคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย ไม่ได้เขียนเอาไว้ว่าการเป็นนายกฯ ต้องเป็น ส.ส. หรือเป็นสมาชิกพรรคการเมืองแต่ความเสี่ยงก็คือ พรรคที่จะเสนอชื่อนายกฯตามบัญชีให้สมาชิกรัฐสภาโหวตเป็นนายกรัฐมนตรีได้ พรรคการเมืองนั้นต้องมี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 25 ที่นั่งในสภา ฉะนั้น "บิ๊กตู่" ก็ต้องเลือกให้ดีๆ ว่าจะรับข้อเสนอจากพรรคไหน เพราะถ้าไปเลือกพรรคเล็กเกินไป เผลอๆ ได้ ส.ส.มาไม่ถึง 25 ที่นั่ง ก็จะวืดลุ้นเป็นนายกฯจากบัญชีพรรคการเมือง หรือที่เรียกว่า "นายกฯคนใน" นั่นเองสำหรับโอกาสการเป็น "นายกฯคนใน" มีมากกว่าและง่ายกว่าการเป็น "นายกฯคนนอก" เนื่องจากการเป็นนายกฯจากบัญชีพรรคการเมือง อาศัยเสียงเบื้องต้นแค่ 376 เสียง จากสมาชิกรัฐสภา 750 เสียง คิดง่ายๆ ว่าถ้า ส.ว.หรือสมาชิกวุฒิสภา 250 คนที่ คสช.ตั้งเองกับมือ โหวตสนับสนุน "บิ๊กตู่" แน่นอน ก็เท่ากับมีเสียงตุนในกระเป๋าแล้ว 250 เสียง จากนั้นก็หา ส.ส.อีก 126 เสียง ก็จะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง เป็นนายกรัฐมนตรีได้ จากนั้นก็ค่อยหาพรรคร่วมรัฐบาล ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใดแต่ถ้าจะเป็น "นายกฯคนนอก" คือนอกบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอ จะต้องมีเสียงจากรัฐสภา 500 เสียงก่อน เพื่ออนุมัติให้เลือกนายกฯจากคนนอกบัญชีพรรคการเมืองได้ ซึ่งแน่นอนว่าเสียง 500 เสียง ย่อมรวบรวมยากกว่า 376 เสียง เพราะต้องใช้เสียง ส.ส.ถึง 250 เสียงขึ้นไปอย่างที่ "ล่าความจริง" เคยไล่เรียงให้ดูกันไปแล้วก่อนหน้านี้ ว่าหากใช้สูตร "นายกฯคนนอก" แล้วเกิด 2 พรรคการเมืองใหญ่ได้เสียง ส.ส.รวมกันเกิน 250 เสียง ก็อาจเล่นเกม "ปิดประตูตีแมว" คือไม่ยอมโหวตให้รัฐสภาเลือกนายกฯคนนอกได้ ซึ่งสุ่มเสี่ยงทำให้การเมืองติดล็อค กลายเป็นสุญญากาศ จนพรรคการเมืองเกี้ยเซี้ยกัน หานายกฯจากคนของพรรคการเมืองเอง จุดนี้ทำให้ คสช. "กำจัดจุดอ่อน" ด้วยการชู "บิ๊กตู่" เป็นนายกฯจากบัญชีพรรคการเมือง และนี่เองที่น่าจะเป็นสาเหตุของการปลุกปั้นพรรคพลังประชารัฐ

(คลิปข่าว) เส้นทาง "บิ๊กตู่" สู่ "นายกฯคนใน" (คลิปข่าว) เส้นทาง "บิ๊กตู่" สู่ "นายกฯคนใน" (คลิปข่าว) เส้นทาง "บิ๊กตู่" สู่ "นายกฯคนใน" (คลิปข่าว) เส้นทาง "บิ๊กตู่" สู่ "นายกฯคนใน" (คลิปข่าว) เส้นทาง "บิ๊กตู่" สู่ "นายกฯคนใน"

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ