Program Online

(คลิปข่าว) ผ่าวงจร "เด็กชายขายน้ำ" ยุคดิจิทัล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(คลิปข่าว) ผ่าวงจร "เด็กชายขายน้ำ" ยุคดิจิทัล

จากการจับกุมขบวนการขายบริการทางเพศเด็กชาย ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และผู้ที่เป็นธุระจัดหา ซึ่งปรากฏว่ามีคนมีชื่อเสียงระดับอาจารย์มหาวิทยาลัย และคนในแวดวงไฮโซรวมอยู่ด้วย รวมไปถึงข่าวล่าสุดเรื่องกลุ่มชายรักชาย มีเพศสัมพันธ์กันอย่างโจ๋งครึ่มในสวนสาธารณะ ปรากฏการณ์เหล่านี้สะท้อนว่า การซื้อ-ขายบริการทางเพศในกลุ่มชายรักชาย โดยเฉพาะการซื้อบริการ "เด็กชาย" ไม่ใช่รื่องใหม่ แต่เป็นปัญหาที่ซุกอยู่ใต้พรมมานาน และมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งเรื่องการปรับตัวตามกระแสเทคโนโลยี มีแง่มุมที่น่าสนใจจากงานวิจัยเรื่อง "เด็กชายขายน้ำ : วาทกรรมทางเพศที่ซ้อนเร้น" ซึ่งศึกษาโดย รองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ พิทักษ์ ศิริวงศ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

อาจารย์พิทักษ์ เล่าว่า การขายบริการทางเพศของเด็กชาย โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นประเด็นที่น่าาสนใจศึกษา เนื่องจากการซื้อบริการเด็กชายกลุ่มนี้ ตามกฎหมายถือว่าเป็นความผิด และมีโทษสูงมาก คือทั้งจำ ทั้งปรับ แถมยังเข้าข่าย พ.ร.บ.ค้ามนุษย์ ด้วย แต่ทำไมการซื้อบริการทางเพศเด็กชายกลับยังคงมีอยู่ แถมระบาดหนักขึ้น ซึ่ง อาจารย์พิทักษ์ สรุปสมมติฐานในเบื้องต้นว่า เกิดจากความต้องการทางเพศของคนที่รักคนเพศเดียวกัน และตัวเด็กเองก็ต้องการได้เงิน ขณะที่เงินจากการขายบริการทางเพศถือว่าหาง่าย และรายได้งาม จึงมีเด็กเข้าสู่วงจรนี้เป็นจำนวนมากสาเหตุของการเข้าสู่วงจรค้ากามของเด็กชาย เกิดจากความอยากได้ อยากมีของเด็กเอง เด็กอยากได้เงินเพื่อมาซื้อของฟุ่มเฟือย ใช้เพื่อเล่นการพนัน และซื้อยาเสพติด แม้ว่าหลายๆ คน ครอบครัวก็ไม่ได้ยากจน แต่เพราะขาดการดูแลเอาใจใส่ ทำให้เด็กเข้าสู่วงจรนี้ ฉะนั้นปัญหาความยากจนจึงไม่ใช่สาเหตุเสมอไปสำหรับรูปแบบการขายบริการ ในยุคแรก ๆ เด็กชายจะขายบริการตามสถานที่สาธารณะ ซึ่งแน่นอนว่าสวนสาธารณะก็อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย เกือบทุกกรณีต้องมีเครือข่าย มีนกต่อ หรือมีนายหน้าคอยหาลูกค้าให้ แต่เมื่อเริ่มมีการใช้อินเทอร์เน็ต รูปแบบการติดต่อซื้อขายก็เปลี่ยนไป จากที่ต้องผ่านนกต่อ หรือผู้ที่เป็นธุระจัดหา ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว เพราะมีสื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางการพบกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายโดยตรงสิ่งที่น่าวิตกไม่แพ้การติดต่อซื้อบริการกันง่ายๆ ไม่ต้องผ่านนายหน้า ก็คือ หลายกรณีมีการเผยแพร่ภาพการประกอบกิจกรรมทางเพศ และพบว่าเด็กหลายคนไม่ได้สวมถุยางอนามัย ซึ่งอันตรายมากจากเรื่องที่เคยซ่อนเร้น ปิดลับ ปัจจุบันกลับถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์อย่างชัดเจน โจ๋งครึ่ม อาจารย์พิทักษ์ ยอมรับว่า การขายบริการผ่านออนไลน์ ทำให้การป้องกันทำได้อย่างยากลำบาก อย่างคำที่ว่า "พี่ได้น้ำ น้องได้ตังค์ น้องก็มันส์ ฉันก็เพลิน" ในมุมมองของอาจารย์พิทักษ์ สิ่งที่หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายจะทำได้ คือการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ต้องมีระบบมอนิเตอร์ เฝ้าระวัง ป้องปราม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือสถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษา ที่ต้องดูแลเอาใจใส่เด็กอย่างใกล้ชิดจริงๆ

(คลิปข่าว) ผ่าวงจร "เด็กชายขายน้ำ" ยุคดิจิทัล (คลิปข่าว) ผ่าวงจร "เด็กชายขายน้ำ" ยุคดิจิทัล (คลิปข่าว) ผ่าวงจร "เด็กชายขายน้ำ" ยุคดิจิทัล

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ