ข่าว

รถไฟความเร็วสูง รฟท. อย่า "ตุกติก" ช่วยซีพี!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ยื้อมา 4 รอบในการต่อรองกับกลุ่มบริษัทร่วมค้าที่นำโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ที่ยื่นเสนอราคาเพื่อรับก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ที่นี่ไม่มีความลับ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3440 หน้า 16 ระหว่างวันที่ 31 ม.ค.-2 ก.พ.2562 โดย...เอราวัณ

 

รถไฟความเร็วสูง

รฟท. อย่า "ตุกติก" ช่วยซีพี!

 

 

          ยื้อมา 4 รอบในการต่อรองกับกลุ่มบริษัทร่วมค้าที่นำโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ของ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ที่ยื่นเสนอราคาเพื่อรับก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2561 และมีการเปิดซองครบทั้ง 4 ซองของเอกชนทุกรายที่ยื่นข้อเสนอ ซึ่งพบว่าราคาของกลุ่ม ซีพี ต่ำสุด จึงเรียกกลุ่ม ซีพี มาเจรจา แต่เจรจาไป 4 รอบ ก็ยังไม่จบ เนื่องจากข้อเสนอประกอบการยื่นที่ “ปิดลับ” (แต่ไม่ลับ) เป็นข้อเสนอที่กรรมการพิจารณาคัดเลือกยากจะทำใจรับได้ เพราะมันออกจะเกินเลย TOR การประมูล ตามที่ประกาศเชิญชวนเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561

          มีการเปิดซองการยื่นข้อเสนอครบทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2562 แต่ไม่สามารถประกาศให้กลุ่ม ซีพี ชนะการประกวดราคาได้ เพราะเงื่อนไขที่ส่งมาทั้งเรื่อง การประกันอัตราดอกเบี้ย, การประกันกำไรขั้นต้น และการจ่ายงวดเงินที่รัฐต้องจ่ายให้เอกชนที่ก่อสร้างเสร็จ ไม่ต่างกับที่กำหนดไว้ใน TOR บางข้อเรียกร้องไม่มีอยู่ในเงื่อนไข ทำให้กรรมการคัดเลือก “มึน” ไม่เชื่อลองไปถาม วรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก็น่าจะรู้ดี             

          มีเสียงกระซิบบอกว่าที่เลื่อนสรุปกันมาถึง 4 รอบ จากวันที่ 24 ธันวาคม 2561 เป็น 4 มกราคม 2562 และเลื่อนเป็น 18 มกราคม 2562 เลื่ิอนอีกเป็น 28 มกราคม 2562 เจรจากัน 4 หน กับเอกชนรายเดียวแต่ไร้ข้อสรุป จึงมีกรรมการบางคนคิด “ผ่าทางตัน” โยนไปให้คณะกรรมการ EEC ที่มี ลุงตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินเอง กรรมการพิจารณาคัดเลือกจะได้พ้น “ความเสี่ยง” ในเลขหมาย 157 แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิด

          องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน โดย ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ ตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ว่า ในเมื่อ TOR ก่อนการประกวดราคา เขียนทุกอย่างไว้อย่างชัดเจน ทำไมต้องเจรจากับเอกชนหลายรอบ เป็นเรื่องที่น่าสงสัยถึงความตรงไปตรงมา       

          ตามวิธีปฏิบัติ หากคนที่ได้รับคัดเลือกให้เจรจารายที่ 1 ผิดเงื่อนไขใน TOR ต้องหยุดเจรจากับรายนั้น แล้วต้องเลื่อนรายถัดไปเข้ามาเจรจา แต่เหตุไฉน ถึงเจรจากับกลุ่มเอกชนรายนี้ถึง 4 รอบ ยังไม่มีข้อยุติ ยังนัดเจรจาอีก จะไม่ให้คนทั่วไปมองว่า ไม่มี “ตุกติก” กันได้อย่างไร

          อย่าให้เป็นไปตามข่าวลือตั้งแต่ตอนต้นรัฐบาล คสช. ว่ารถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกมี “ทุนใหญ่” รายหนึ่งของประเทศจองไว้แล้ว แบ่งเค้กกับ “ทุนใหญ่” อีกราย ที่จองสายใต้ (กรุงเทพฯ-หัวหิน) เพราะทุนใหญ่ทั้ง 2 รายกว้านซื้อที่ดินไว้ในครอบครองหลายหมื่นไร่ เพราะหวังว่าจะได้ประโยชน์จาก “ฮุบ” รถไฟความเร็วสูงทั้ง 2 ราย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ