ข่าว

ลูกพี่ลูกน้องต่อสู้ขอสิทธิแต่งงานในรัฐบ้านเกิด 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จากลูกพี่ลูกน้องสู่คู่รักและสามีภรรยา ข้ามไปแต่งงานในรัฐอื่นเพราะรัฐบ้านเกิดไม่อนุญาต 

 

ไมเคิล กับ แองจี ลี ชาวอเมริกันในรัฐยูทาห์ ข้ามไปจดทะเบียนแต่งงานในรัฐโคโลราโด เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพราะไม่สามารถแต่งงานในรัฐบ้านเกิดได้ เนื่องจากทั้งสองเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน  

 

 

แต่เมื่อกลับมาบ้านเกิด การแต่งงานของทั้งคู่ก็ไร้ผลในแง่กฎหมาย เพราะตามกฎหมายรัฐยูทาห์ ลูกพี่ลูกน้องสายตรง ไม่อาจแต่งงานกันได้ ด้วยเหตุผลความเกี่ยวพันทางสายเลือด  เว้นแต่อายุ 65 ปี หรืออายุ 55 ปีหากมีหลักฐานยืนยันว่าไม่สามารถมีบุตรได้ 

แต่ไมเคิลกับแองจี ซึ่งพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายเป็นพี่น้องกัน กล่าวว่า กฎหมายนี้ล้าสมัย ไม่มีเหตุผลที่จะปิดกั้นอีกต่อไป และได้ทำคำร้องออนไลน์รวบรวมรายชื่อผ่าน เวบไซต์ Care2 หวังแก้ไขกฎหมาย รวมถึงเปิดเพจ เฟซบุ๊ก The Michael and Angie Foundation  เพื่อระดมเสียงสนับสนุนจากคนที่มีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน 

พ่อของแองจี เป็นพี่คนโตของพี่น้อง 12 คน ส่วนแม่ของไมเคิล เป็นลูกคนที่ 5 และมักรวมตัวเวลาไปเที่ยวกันทั้งครอบครัว 

ทั้งสองเริ่มหลงรักกันตั้งแต่เกรด 2  

ไมเคิล เล่าว่า เขาจำได้ว่าเคยไปบอกกับป้า แม่ของแองจีว่า จะแต่งงานกับแองจี แต่อีกฝ่ายกล่าวว่าไม่ได้ แต่เป็นเพื่อนกันได้ 

“นี่เป็นเรื่องที่ผมติดใจอย่างมาก ว่าชีวิตไม่ยุติธรรม ทำไมคนที่ผมอยากอยู่ด้วยมากที่สุด คนมีแรงดึงดูดต่อกันมากที่สุด และมีความรู้สึกตามธรรมชาติมากที่สุด ทำไมต้องเป็นลูกพี่น้องลูกน้องของผม” ไมเคิล ลี กล่าว 

ด้วยบรรทัดฐานสังคม ทำให้คู่รักลูกพี่ลูกน้องต้องแยกจากกันไปนาน 10 ปี ต่างฝ่ายต่างไปมีครอบครัวของตัวเอง แต่เพิ่งเป็นโสดเมื่อไม่นานมานี้ และเมื่อกลับมาเจอกันอีกครั้ง แองจี แม่ลูกสาม กับลูกพี่ลูกน้องคนนี้ ก็พร้อมยกระดับความสัมพันธ์กันใหม่โดยไม่สนเสียงครหาและความเสี่ยงใดๆ เดินทางไปจดทะเบียนสมรสในโคโลราโด ที่มีกฎหมายรองรับ 

แองจี ลี ยอมรับว่า มันเป็นเรื่องบ้าๆ แต่เราเป็นผู้ใหญ่ และเป็นโสดแล้ว เราก็แค่จะเดินหน้า ไม่สนแล้วว่าครอบครัวของเราจะคิดอย่างไร 

 

ลูกพี่ลูกน้องต่อสู้ขอสิทธิแต่งงานในรัฐบ้านเกิด 

ผลศึกษาของนักวิจัยมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ระบุว่า ลูกพี่ลูกน้องสายตรง มีดีเอ็นเอร่วมกัน 12.5% หากมีลูก ก็มีโอกาสเพียง 4 – 7 % เท่านั้นที่เด็กจะมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ขณะที่คู่รักทั่วไป มีโอกาสที่เด็กจะผิดปกติทางพันธุกรรม 3-4 % 

ด้วยเหตุนี้ ไมเคิล ลี จึงกล่าวว่า ผลกระทบทางพันธุกรรมและชีวภาพ ถือว่าเล็กน้อยมาก แต่เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่อาจคิดและพูดกันไปมากกว่า 

ในสหรัฐอเมริกา มี 24 รัฐที่ห้ามแต่งงานระหว่างลูกพี่ลูกน้อง และมี 6 รัฐที่อนุญาตให้แต่งงานได้ในบางเงื่อนไข 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ