ข่าว

เพนตากอนทดลองบินฝูงโดรนผึ้ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดรน อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจหรือน่าตื่นเต้นอีกต่อไปแล้ว เพราะมีการใช้งานกันดาษดื่น แต่โดรนฝูงผึ้งที่เพนาตากอนเพิ่งทดลองสำเร็จนั้นไม่เหมือนใครด้วย "สมอง"

  โดรน อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจหรือน่าตื่นเต้นอีกต่อไปแล้ว เพราะมีการใช้งานกันดาษดื่น ตามสื่อโทรทัศน์ ช่างภาพที่ตามเก็บภาพทางอากาศ หรือในสถานที่ที่ยากจะเข้าถึง แต่นอกจากโดรนทางการพาณิชย์ หรือ เพื่อการพักผ่อนทำกิจกรรมสันทนาการแล้ว ยังมีโดรนอีกประเภทหนึ่งซึ่งเรายังไม่ค่อยคุ้นเคยกันสักเท่าไหร่เพราะถูกเก็บเป็นความลับจากสายตาประชาชนทั่วไป

  นั่นคือโดรนทางการทหาร ที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบทั้งยานบินไร้คนขับทางอากาศ และยานดำน้ำไร้คนขับขนาดเล็กที่สามารซอกซอนไปสืบข่าวยังสถานที่เป้าหมายของศัตรูได้โดยยากที่จะถูกตรวจจับ

  พัฒนาของโดรนทางการทหารที่ดูเหมือนจะมีการอวดอ้างความสำเร็จมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกองทัพอเมริกัน ที่มักจะมีข่าวการทดลองโดรนชนิดนั้นชนิดนี้ออกมา ตั้งแต่โดรนลาดตระเวณ โดรนติดอาวุธสังหารที่สามารถยิงจรวดเข้าใส่เป้าหมายได้อย่างแม่นยำ

  ล่าสุดกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ประกาศความสำเร็จในการทดลองโดรนอัจฉริยะที่สามารถบินเกาะกลุ่มกันเป็นฝูง ราวกับฝูงผึ้งเพื่อปฏิบัติภารกิจต่างๆ โดยโดรนชนิดนี้จะมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันเพื่อบอกตำแหน่งแห่งที่ ระยะห่างจากโดรนลำอื่น เพื่อรักษาแนวการบิน หลีกเลี่ยงการชนกัน รวมทั้งดำเนินภารกิจตามลำดับที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้

  เพนตากอนเรียกโดรนชนิดนี้ว่า “เพอร์ดิกซ์” และเพิ่งทำการทดสอบปล่อยโดรนขนาด 6 นิ้ว เหล่านี้จากกระเปาะบรรจุบนเครื่องบินรบรุ่นเอฟ/เอ 18 ซุปเปอร์ ฮอร์เน็ทจำนวน 3 ลำ เมื่อเดือนตุลาคม 2559 ที่เขตฐานทัพในรัฐแคลิฟอร์เนีย

  เพอร์ดิกซ์แต่ละตัวจะมีระบบปัญญาประดิษฐ์ฝังอยู่ในตัว ทำให้มี “ตรรกะ” พื้นฐานในการตัดสินใจ และทำตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ให้ประสบความสำเร็จ โดยในการทดลองครั้งนี้ เพนตากอนกำหนดให้โดรนทั้ง 103 ลำ บินเกาะกลุ่มในท่าทางต่างๆ ทั้งในแนวเส้นตรงรูปครึ่งวงกลม และรูปวงกลม ณ เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเพอร์ดิกซ์ทุกลำสามารถบินเกาะหมู่กันได้เป็นอย่างดี และ ถูกต้องตามโปรแกรมที่ตั้งไว้

  วิลเลียม โรเปอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานประสิทธิภาพทางยุทธศาสตร์แห่งกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา อธิบายว่า ในการทดลองครั้งนี้ โดรนเพอร์ดิกซ์นั้นไม่ได้รับการตั้งโปรแกรมให้บินตามกันเป็นขบวนมาก่อน แต่พวกมันทำการสื่อสารระหว่างการ เก็บข้อมูลตำแหน่งของโดรนลำอื่น และแลกเปลี่ยน “ความคิด” ถึงทิศทางการบินระหว่างกันเพื่อสร้าง “ฝูงบิน” คล้ายกับสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติขึ้นมา ฝูงบินเพอร์ดิกซ์ไม่มีผู้นำ และมีความยืดหยุ่นในการเข้า และ ออกจากฝูงของโดรนแต่ละลำอย่างมาก

  เพอร์ดิกซ์ เป็นผลงานการพัฒนาของนักศึกษาวิศวกรรมแผนกการบินและยานอวกาศแห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซทส์ (เอ็มไอที)และกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เข้าตากระทรวงเพนตากอนจึงนำมาปรับใช้เข้ากับกิจการทางการทหารโดยห้องปฏิบัติการลินคอล์น ของเอ็มไอที ตั้งแต่ปี 2556

  ก่อนหน้านี้ก็มีการทดสอบการบินโดรนเพอร์ดิกซ์ โดยปล่อยจากกระเปาะใต้ปีกเครื่องบินเอฟ 16 ที่ฐานทัพอากาศเอดเวิร์ด ในปี 2557 แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จที่จะทำให้ฝูงโดรน  อัจฉริยะเกิดขึ้นมา จนเมื่อปี 2558 กองทัพก็สามารถตั้งฝุงโดรนอัจฉริยะขึ้นมาได้ระหว่างการทดสอบบินในรัฐอลาสกา โดยมีโดรนในฝูงเพียง 20 ลำ

  ลองคิดถึงการทำสงครามโดยยานบินไร้คนขับขนาดเล็กที่เข้าโจมตีเป้าหมายแบบเดียวกับฝูงผึ้งที่กำลังโกรธขึ้ง ที่ระดมต่อยศัตรูทีละตัวๆ หรือ ทีละหลายๆตัว แต่แทนที่ศัตรูถูกทำร้ายด้วยเหล็กไนของผึ้ง กลับถูกระดมโจมตีด้วยกระสุนปืน หรือ จรวดขนาดเล็กที่เล็งเป้าหมายไ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ