ข่าว

วงการวิทย์ฯระอุ กำเนิดเด็กจากยีนพ่อแม่ 3 คน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทารกที่มียีนจากพ่อแม่สามคน ถือกำเนิดเป็นคนแรกของโลกในเม็กซิโก โดยเป็นผลงานของทีมแพทย์จากสหรัฐอเมริกา ที่ช่วยเหลือครอบครัวชาวจอร์แดนเลี่ยงยีนอันตรายถึงชีวิตจากมา

    เว็บไซต์ นิวไซแอนทิสท์ รายงานเมื่อวันอังคาร (27 ก.ย.) ว่าทารกที่มีสายพันธุกรรม (ยีน)จากพ่อแม่สามคมคนแรกของโลกที่ปัจจุบันอายุ 5 เดือน มีสุขภาพที่ดี และ สามารถหลีกเลี่ยงยีนที่เป็นต้นเหตุของโรคลีห์ (Leigh syndrome) ที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อระบบประสาท ที่แพทย์พบในร่างกายของมารดาชาวจอร์แดน เป็นผลสำเร็จ

   โรค ลีห์ เกิดจากยีนที่บรรจุอยู่ในเซลล์ของร่างกายสั่งการให้ไมโตคอนเดรีย (mitochondria)  ที่ถือว่าเป็นแบตเตอรี่ของร่างกายทำงานผิดปกติ ทั้งยังสามารถถ่ายทอดพันธุกรรมด้อยไปยังลูกได้

 

วงการวิทย์ฯระอุ กำเนิดเด็กจากยีนพ่อแม่ 3 คน

นายแพทย์ จอห์น จาง กับทารก 3 ยีน     

  ครอบครัวชาวจอร์แดนคู่นี้ พยายามมีลูกด้วยวิธีกรรมชาติมาแล้ว แต่ปรากฏว่าลูกทั้งสองคนที่คลอดออกมาก่อนหน้านี้ มีภาวะของโรคลีห์ และ เสียชีวิตไปทั้งสองคน ทำให้ครอบครัวชาวจอร์แดนพยายามค้นหาความช่วยเหลือจากแพทย์ และพบทีมแพทย์นำโดยนายแพทย์ จอห์น จาง แห่งศูนย์ภาวะเจริญพันธุ์ นิวโฮป ในรัฐนิวยอร์ค ที่ตกลงช่วยเหลือครอบครัวชาวจอร์แดนคู่นี้

 

วงการวิทย์ฯระอุ กำเนิดเด็กจากยีนพ่อแม่ 3 คน

   ทีมแพทย์ใช้วิธีการนำยีนบริจาคจากหญิงคนที่สองที่ไม่มีความผิดปกติิใดๆ มาใช้ทดแทนยีนของมารดาตัวจริงด้วยเทคนิคที่เรียกว่า mitochondrial DNAtransfer นำมาใส่ในไข่ 5 ใบของมาดาตัวจริงที่ผ่านกระบวนการถอดไมโตคอนเดรียออกจากเซลล์แล้ว และนำอสุจิของบิดาตัวจริงมาผสมกับไข่ทั้งหมด โดยมีไข่เพียงใบเดียวที่เกิดการปฏิสนธิขึ้น ทำให้ทีมแพทย์นำเอาไข่ที่ปฏิสนธิแล้วกลับไปใส่ในมดลูกของมารดาตัวจริง

   ปัจจุบันมีเพียงอังกฤษประเทศเดียวที่กฏหมายรับรองให้ดำเนินการแก้ไขยีนที่มีความบกพร่องในไข่ของมารดาและนำยีนปกติจากหญิงคนที่สองมาใส่แทน ส่วนเม็กซิโก เป็นประเทศที่ไม่มีกฏหมายใดๆมาปิดกั้นกระบวนการนี้ ทำให้ทีมงานของนายแพทย์จาง เดินทางไปยังเม็กซิโกเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือครอบครัวชาวจอร์แดนคู่นี้

   นักวิทยาศาสตร์ในศาสตร์ด้านพันะุกรรมต่างยินดีต่อความก้าวหน้าของทีมแพทย์จากสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ แต่ก็แสดงความกังวลด้วยว่าการปฏิบัติการคัดเลือกยีนสำหรับลูกนั้นเกิดขึ้นในประเทศที่มีความเข้มงวดในการควบคุมน้อยมากอย่างเม็กซิโก

  นายแพทย์ดัสโก อิลลิค ผู้เชี่ยวชาญด้านเซลล์ต้นกำเนิดแห่งคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน กล่าวว่า ความสำเร็จครั้งนี้นับเป็นข่าวดี และ เป็นเรื่องสำคัญในฐานะการปฏิวัติในวงการวิทยาศาสตร์ ทั้งยังเปิดเผยด้วยว่าในอีกไม่นานโลกจะได้พบกับทารกคนแรกในอังกฤษที่กำเนิดมาจากการถ่ายทอดไมโตคอนเดรียของผู้บริจาค

  ในอีกด้านหนึ่งดอกเตอร์ เดวิด คิง ผู้อำนวยการองค์กรฮิวแมน จีเนทิค อะเลิร์ท โจมตีการวิจัยในเม็กซิโกอย่างรุนแรงว่า “ไร้จริยธรรมและไร้ความรับผิดชอบ” การปฏิบัติการดังกล่าวเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงการระวังป้องกันของหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอเมริกา จึงข้ามดินแดนไปปฏิบัติการยังเม็กซิโก และกล่าวว่า “นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ใช้เทคนิคการทดลองที่นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากถือว่าเป็นเรื่องไม่ปลอดภัยในการสร้างสิ่งใหม่ๆครั้งแรกของโลก ”

  อย่างไรก็ตามมีการประเมินกันว่าประชากรโลก 1 ใน 4,000 คน มีปัญหาที่ยีนด้อยที่จะถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก และต้องการทางออกในลักษณะนี้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ