ข่าว

ใต้ผืนน้ำแข็งดาวพลูโต... มีของเหลวซ่อนอยู่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บนดาวเคราะห์น้อยที่ชื่อว่า "พลูโต" อาจจะมีความลับซุกซ่อนอยู่อีกมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบหนึ่งในความลับที่ว่า ใต้ผิวน้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่นั้นมีของเหลวอยู่

ใต้ผืนน้ำแข็งดาวพลูโต... มีของเหลวซ่อนอยู่   ใต้ผืนน้ำแข็งดาวพลูโต... มีของเหลวซ่อนอยู่

   แม้ดาวพลูโตจะถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยจักรวาลในการประชุมสหภันธ์ดาราศาสตร์สากล เมื่อปี 2548 และลดระดับให้ดาวดวงนี้เป็นเพียงดาวเคราะห์แคระในแถบดาวเคราะห์น้อยไคเปอร์

  แต่การสำรวจดาวเคราะห์แคระดวงนี้ก็ไม่ได้สิ้นสุดลงไปด้วย โดยนักวิทยาศาสตร์ยังคงค้นหาความลับของดาวดวงนี้อยู่ต่อไป และทำให้เราได้รับรู้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับอดีตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 แห่งระบบสุริยจักรวาลว่ามีสันฐานหลักคือน้ำแข็งและก้อนหิน

   และข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจดาวพลูโตยังพบด้วยว่าพื้นผิวของดาวเคราะห์แคระดวงนี้ประกอบไปด้วยมหาสมุทรของเหลวขนาดใหญ่ที่ยังไม่ได้จับตัวเป็นน้ำแข็ง

   ผลการศึกษาของนายโนอาห์ แฮมมอนด์ และ มาร์ค เพรอ์เมนเทียร์ แห่งมหาวิทยาลับยบราวน์ และ เอมี่ บาร์ แห่งสถาบันดาวเคราะห์วิทยา ที่ร่วมกันวิจัยผลภาพถ่ายดาวพลูโตจากยานอวกาศ นิว ฮอไรซันส์ ที่มีหน้าที่หลักคือการสำรวจดาวพลูโต และดาวบริวารทั้ง 5 ดวง ทำให้นักดาราศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อมั่นว่านอกจากน้ำแข็งและก้อนหินแล้ว บนพื้นผิวของดาวเคราะห์แคระที่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากถึง 7,400 ล้านกิโลเมตรจากดวงอาทิตย์นั้น ยังมี “ของเหลว” ปรากฏอยู่ด้วยเช่นกัน

ใต้ผืนน้ำแข็งดาวพลูโต... มีของเหลวซ่อนอยู่

    ในโมเดลการศึกษาที่นายแฮมมอนด์นำเสนอนั้นทำให้เชื่อได้ว่าใต้ก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่บนพื้นผิวดาวพลูโตที่หนาวเย็นถึงระดับ -229 องศาเซลเซียสนัั้นมีของเหลวที่ก่อตัวเป็นผลึกลอยอยู่ และของเหลวเหล่านั้นอยุ่ภายใต้แรงกดดันมหาศาลจากน้ำหนักของก้อนน้ำแข็งด้านบน และ แรงดึงดูดที่ดาวเคราะห์แคระดวงนี้กระทำต่อมวลของมันเอง โดยเฉพาะก๊าซไนโตรเจน มีเธนคาร์บอน และคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปกคลุมพื้นผิวส่วนใหญ่ของดาวเคราะห์แคระดวงนี้

    ซึ่งด้วยสันฐานเช่นนี้ทำให้ดาวพูโตเกิดการหดตัวอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน

    นักดาราศาสตร์เรียกผลึกที่เกิดจากของเหลวใต้ก้อนน้ำแข็งนี้ว่า ice II (ไอซ์ ทู) และทำให้ประเมินความหนาของพื้นผิวดาวที่เป็นของแข็งเสียใหม่ว่าน่าจะมีความหนาอยู่ที่ 190 ไมล์ จึงจะเพียงพอที่จะสร้างแรงกดดันต่อมวลของดวงดาว และ ทำให้ของเหลวที่อยู่ใต้ชั้นน้ำแข็งนี้ไม่เปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็งตามพื้นผิวรอบนอกของดวงดาวที่กุมความลับของตัวเองไว้ได้อย่างลึกลับมาโดยตลอด

    ซึ่งหากการวิเคราะห์ของกลุ่มนักดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ และ สถาบันดาวเคราะห์วิทยานี้ถูกต้อง จะเป็นการเปิดขอบเขตใหม่แห่งการค้นหาและศึกษาวัตถุห่างไกลโลก รวมทั้งดาวเคราะห์แคระ และ เทหวัตถุต่างๆที่ลอยอยู่ในแถบไคเบอร์ ที่ทั้งหนาวเย็น และ ห่างไกล จนแสงจากดวงอาทิตย์ต้องใช้เวลานานกว่า 5 ชั่วโมงครึ่ง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ