บันเทิง

วิถีอีสาน Gen Z"ให้เคอรี่มาส่งได้บ่"สูตรสำเร็จการตลาด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์...  คมเคียวคมปากกา   โดย...  บรรณวัชร 

 

 

 

 

          40 ล้านกว่าวิว สำหรับเพลง “ให้เคอรี่มาส่งได้บ่” ที่ส่งให้ “เบลล์ นิภาดา” น้องใหม่แห่งค่ายแกรมมี่โกลด์แจ้งเกิดเต็มตัว


          “เป็นตาฮักปานนี่ ให้เคอรี่มาส่งได้บ่ สั่งซื้อไสหนอ ยี่ห้ออีหยัง..” เนื้อเพลงท่อนนี้ติดหูแฟนๆ ไปแล้ว

 

 

          จะว่าไปแล้วเพลงให้เคอรี่มาส่งได้บ่ ก็ออกแนวทางการปั้นเพลงบนกระดานตามสูตรของแกรมมี่โกลด์ซึ่งจับปรากฏการณ์ทางสังคมมาเขียนเพลง 


          ปัจจุบันการซื้อขายออนไลน์แพร่ระบาดเข้าไปถึงทุกซอกทุกมุมของประเทศไทย บริษัทเคอร์รี่ได้เข้ามาทำธุรกิจส่งของแข่งกับไปรษณีย์ไทย คนทั่วไปจึงรู้จักพนักงานส่งของเคอร์รี่ 


          จุดเริ่มต้นของเพลงนี้เริ่มจาก “เบลล์” ร้องไกด์ลงยูทูบและเฟซบุ๊ก ปรากฏว่ามีคนเข้ามาชมเยอะ จึงทำให้ผู้ใหญ่ค่ายแกรมมี่โกลด์ เดินหน้าดันเพลงเร็วให้เธอร้องทันที


          “ใบปอ รัตติยา” ราชีนีรถแห่ เป็นคนแรกๆ ที่คัฟเวอร์เพลงนี้ มีการอัพขึ้นยูทูบในเวอร์ชั่นรถแห่ แถมแกรมมี่โกลด์ยังส่งน้องเบลล์ขึ้นรถแห่ด้วย

 

 

 

วิถีอีสาน Gen Z"ให้เคอรี่มาส่งได้บ่"สูตรสำเร็จการตลาด

 


          อย่างที่รู้กันยุคสมัยรถแห่ครองเมือง เพลงไหนดัง เพลงไหนดับ วัดได้จากรถแห่ หากนักร้องรถแห่หยิบเพลงใดเพลงหนึ่งมาร้องบ่อยๆ ก็ให้รู้เถิดว่า เพลงนั้นติดตลาดแล้ว แกรมมี่จึงขอโหนรถแห่กับเขาบ้าง 


          เส้นทางชีวิตนักร้องของ “เบลล์ นิภาดา” ก็ไม่ต่างจากนักร้องสาวแนวป๊อปอีสานอีกหลายๆ คน ที่อาศัยเฟซบุ๊กและยูทูบเป็นใบเบิกทาง


          “เบลล์ นิภาดา” อาศัยอยู่ที่ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น เธออาศัยอยู่กับพ่อแม่ในบ้านหลังเล็กๆ ใช้คันนาเป็นเวทีฝึกร้องเพลง 



          น้องเบลล์ใช้ความสามารถการร้องเพลงช่วยเหลือค่าใช้จ่ายครอบครัว ด้วยการเข้าร่วมงานประกวดต่างๆ ตั้งแต่สมัยชั้นประถม หากชนะได้เงินรางวัล เธอจะนำมาให้แม่เสมอ


          ด้วยความเพียรพยายามทำให้น้องเบลล์ได้เข้าร่วมวงโปงลางแสนเมืองของโรงเรียนหนองเรือวิทยา และเป็นหนึ่งในนักร้องนำของวง ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันประกวดวงโปงลางชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ 3 ปีก่อน

 

 

 

วิถีอีสาน Gen Z"ให้เคอรี่มาส่งได้บ่"สูตรสำเร็จการตลาด

 


          อาจารย์ในโรงเรียนหนองเรือเห็นความสามารถของเด็กจึงแชร์ความสามารถในการร้องเพลงของน้องเบลล์ให้สาธารณชนได้รับรู้ ทั้งทางยูทูบและเฟซบุ๊ก ตั้งแต่ ม.1-ม.3 


          ผลงานการคัฟเวอร์มากมายที่สาวน้อยผู้นี้ถ่ายทอดออกมาให้ทุกคนได้รับชม รับฟัง ไม่ว่าจะเป็นเพลงภาวะแทรกซ้อน, ผู้สาวขี้เหล้า, คู่คอง, คนตอบบ่อยู่, รำคาญกะบอกกันเด้อ, ขอฮักอ้ายต่อไปได้บ่ ฯลฯ ระหว่างนั้นอาจารย์ได้ทำซิงเกิลเพลงให้เธอร้อง 3 เพลง 


          ปลายปี 2561 “เบลล์ นิภาดา” ได้รับโอกาสเซ็นสัญญากับบ้านหลังใหญ่แกรมมี่ โกลด์ และน้องเบลล์ก็ถูกผลักเข้าสู่ภารกิจพิเศษกับโครงการ THE MISSION ตามฝันด้วยเสียงเพลง ทางผู้ใหญ่แกรมมี่โกลด์จึงให้เธอแต่งเพลงเองเพื่อให้ตัวเองร้องครั้งแรก เพลงนั้นคือ “ถอยใจ” ซิงเกิลแรกในชีวิตของเบลล์


          เบลล์มาจากเส้นทางนักร้องประกวด ร้องเพลงช้าเพลงหวานเป็นหลัก เมื่อเปลี่ยนแนวมาร้องเพลงเร็วเพลงแรกก็ได้รับความนิยมเกินคาด


          วิถีของเบลล์ไม่ต่างจากเด็กยุคเจน Z ซึ่งคนรุ่นนี้จะเกิดหลังปี 2550 เป็นกลุ่มคนที่เกิดมาพร้อมดิจิทัลและโซเชียล

 

 

 

วิถีอีสาน Gen Z"ให้เคอรี่มาส่งได้บ่"สูตรสำเร็จการตลาด

 


          วิถีนักร้องจากโลกโซเชียลยังมีอีกมากมาย สุดแท้แต่ใครจะได้มีโอกาสโชว์ผลงาน และประสบความสำเร็จ

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ