บันเทิง

ฉากขึ้นศาลใน‘ดวงใจพิสุทธิ์’ผิดจริงหรือ?‘ชุดาภา’ผู้จัดมีคำตอบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ชุ” ชุดาภา ผู้จัด ชี้แจงอย่างละเอียด ถึงดราม่าในฉากขึ้นศาลตอนจบของละคร “ดวงใจพิสุทธิ์” ว่าการสืบพยานเด็กต้องแยกห้องพิจารณาหรือไม่ รวมถึงเรื่องการคุ้มครองเด็ก!

        ฉากขึ้นศาลใน‘ดวงใจพิสุทธิ์’ผิดจริงหรือ?‘ชุดาภา’ผู้จัดมีคำตอบ

ชุ - ชุดาภา ผู้จัดละคร

 

         เรียกว่าเป็นละครครอบครัว “น้ำดี” หนึ่งเรื่อง ที่ทำได้สนุก เข้มข้น ให้แง่คิด ทำดีมาตลอดทั้งเรื่อง จนถึงตอนจบ โดยเฉพาะฉากว่าความในศาล ที่ละครเรื่องนี้ทำได้ สนุกและน่าติดตาม แต่ปรากฏว่าในฉากว่าความตอนสุดท้าย กลับมีความคิดเห็นของชาวโซเชียลมีเดียคนหนึ่งจวกด้วยใจความว่า “เป็นฉากที่เลวร้ายที่สุด เพราะเด็กในกระบวนการยุติธรรมต้องได้รับความคุ้มครอง” จนเพจดังนำข้อความดังกล่าวไปแชร์ ต่อจนมีการวิพากษ์วิจารณ์โต้เถียงกันว่า ละครทำถูกหรือผิด การสืบพยานเด็ก จริงๆ แล้วต้องแยกห้องสืบพยานหรือไม่ กระทั่งผู้จัดอย่าง “ชุ” ชุดาภา ออกมาแสดงความรับผิดชอบ ชี้แจงและอธิบายในอินสตาแกรมส่วนตัว ไปรอบหนึ่งแล้วว่า ละครทำถูกต้องทุกอย่าง เพราะในเรื่องเป็น “คดีแพ่ง” ไม่ใช่ “คดีอาญา” ล่าสุด “บันเทิง คมชัดลึก” มีโอกาสเจอตัวผู้จัดละครชื่อดังทั้งที ได้รับการชี้แจงโดยละเอียดดังนี้

 

ฉากขึ้นศาลใน‘ดวงใจพิสุทธิ์’ผิดจริงหรือ?‘ชุดาภา’ผู้จัดมีคำตอบ

ข้อความจากเฟซบุ๊กที่แชร์ต่อๆ กันไป จนเกิดดราม่า

 

ฉากขึ้นศาลใน‘ดวงใจพิสุทธิ์’ผิดจริงหรือ?‘ชุดาภา’ผู้จัดมีคำตอบ

         คำชี้แจงจาก "ชุ - ชุดาภา" ผู้จัด ในอินสตาแกรม 

 

         จริงๆ แล้ว เราทำถูกต้องทุกอย่างกับการขึ้นศาลครั้งสุดท้าย โดยตั้งแต่เริ่มแรกการขึ้นศาลครั้งแรกคือ "คดีฟ้องร้องขอเป็นผู้ปกครองเด็ก" ซึ่งเป็น "คดีแพ่ง" และคดีแพ่งเด็กสามารถเข้าไปในศาลได้ โดยที่ไม่ต้องแยกห้องสืบพยาน ผ่านจอมอนิเตอร์ นักจิตวทยา และนักสังคมสงเคาระห์ เพราะว่าคดีแพ่งจะมีมาตรา 112 (2) จะระบุว่า เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่ต้องสาบานตน นี่คือข้อกฏหมายเลย เพราะฉะนั้นเราทำตามข้อกฏหมาย แต่ถ้าเป็น "คดีอาญา" จะไม่ได้  เพราะฉะนั้นบางทีคนโดยทั่วไปอาจจะไม่ทราบ ทราบแต่ว่าเด็กเล็ก ทำไมถึงไม่แยกห้องสอบสวน จริงๆ เราทำตามขั้นตอนกฏหมายเลย

         ทีมงานหาข้อมูล

         เราทำการบ้านหนักมาก เพราะเรารู้ว่าเราจะต้องทำเรื่องเกี่ยวกับการขึ้นศาล เพราะฉะนั้นการทำการบ้านของเรา เราทำละเอียดรอบคอบ เพราะอย่างที่บอก เราสามารถอ้างอิงโดยการยกมาตรากฏหมายขึ้นมาประกอบได้ สมมุติว่าเราทำเรื่องในศาล แล้วเราทำผิดพลาดในยุคนี้ มันไม่ได้เลยนะ เพราะฉะนั้นเรายืนยันว่าเราทำถูกต้อง อย่างฉากว่าความ จะเห็นว่ามีคนที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ 4 คน จะเป็นผู้พิพากษา 2 คน และเป็นผู้พิพากษาสมทบอีก 2 คน กฏข้อบังคับคือ อย่างน้อยจะต้องมีผู้พิพากษาผู้หญิง 1 คน ของเรามีผู้หญิง 2 คน ถือว่าถูกต้อง และขั้นตอนทุกอย่างเราทำถูกต้อง

 

ฉากขึ้นศาลใน‘ดวงใจพิสุทธิ์’ผิดจริงหรือ?‘ชุดาภา’ผู้จัดมีคำตอบ ฉากในละคร 

 

          สิ่งที่เราทำไป ขั้นตอนตามกฏหมาย ตั้งแต่ศาลที่ 1 ศาลที่ 2 ศาลที่ 3 เราทำถูกต้อง ในขณะเดียวกัน การว่าความในศาลครั้งที่ 3 เราต้องรักษาและคงไว้ซึ่งบทประพันธ์ด้วย ซึ่งในข้อกฏหมายตามมาตรา 112 (2) ในคดีแพ่ง ข้อกฏหมายกำหนดว่า เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่ต้องสาบานตน หมายความว่าจะคิดเป็นกรณีไปว่า เด็กสามารถจะมาอยู่ในคอกของการสืบพยานได้ ในขณะเดียวกันเราก็รักษาตามบทประพันธ์เอาไว้ด้วย

         ซึ่งผู้ชมบางท่านอาจจะไม่เข้าใจ หรือบางท่านได้ดูแค่วันสุดท้าย แล้วออกมาว่าเราเลย พอถึงเวลาเราชี้แจงกลับไป คนที่ออกมาว่าเรา เขาก็หยุดไปเลย ซึ่งเราเข้าใจ ไม่ได้หมายความว่าจะตำหนิเราไม่ได้ แต่ก่อนที่จะว่า อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่าเราทำผิดจริงหรือเปล่า ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่ามาด่าเราในสิ่งที่เราไม่ได้ทำผิด ซึ่งเรามีรู้สึกบ้าง เลยต้องชี้แจงในในอินสตาแกรมไป เพราะเราทำตามขั้นตอนตามกหลักกฏหมายถูกต้อง ไม่อย่างนั้นต่อไปใครจะกล้าทำ ในเมื่อทำถูกก็โดนว่า

 

ฉากขึ้นศาลใน‘ดวงใจพิสุทธิ์’ผิดจริงหรือ?‘ชุดาภา’ผู้จัดมีคำตอบ

ฉากในละคร

 

         บางคนอาจจะท้วงในเรื่องกฏหมายคุ้มครองเด็กหรืออะไรก็ตาม แต่นั่นคือกรณีของ "คดีอาญา" หมายถึงว่า เด็กต้องแยกห้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และสืบพยานผ่านมอนิเตอร์เลย ซึ่งบทประพันธ์ของ "กิ่งฉัตร" เรื่องนี้เป็นนวนิยายที่ดีมาก 20 ปีที่แล้ว เป็นอย่างไร เราก็ทำเป๊ะๆ ตาม แต่อาจจะมีข้อแตกต่างบ้าง เพราะปัจุุบันจะมีศาลไกล่เกลี่ยแล้ว เพื่อลดทอนคดีที่ไปกองอยู่ที่ศาล แต่เมื่อ 20 ปีที่แล้วอาจจะไม่มี พอเรามาทำในยุคปัจจุบัน เราก็จะต้องทำศาลไกล่เกลี่ยด้วย

         เสียกำลังใจมั้ย ในฐานะผู้จัดที่เราทำถูกต้อง ทำดีมาทั้งเรื่องแต่ถูกว่าในตอนจบ

         ไม่เสียกำลังใจเลย เพราะถ้าเราทำสิ่งที่ถูกต้อง เราต้องเชื่อมั่น ในเรื่องนี้เราหาข้อมูลหนักมาก ในเรื่องของศาล และปรึกษาผู้ใหญ่ ทั้งผู้พิพากษา ทนายความ หลายท่านเลย กรองแล้ว กรองอีก แต่ละคำ แต่ละศัพท์ของการว่าความ อย่างการขึ้นศาลในศาลที่ 2 ตามบทประพันธ์ไม่มี เราต้องเขียนบทขึ้นมาเอง ต้องหาแง่มุม แต่การหักมุมของเรื่องราวให้ได้ การยื่นบัญชีเพิ่มเติม เราก็ต้องทำตามขั้นตอน ในเรื่องของข้อกฏหมายเราคงไว้เป๊ะๆ เลย จริงๆ แล้วเราเข้าใจนะ เวลาที่คนดูบางส่วนไม่เข้าใจ หรืออาจจะเข้าใจผิดมาว่าเราในโซเชียล ใครที่ไม่รู้ก็อาจจะว่าตามกันไป แต่พอมีการท้วงติง และโต้แย้งชี้แจงไป เขาก็หยุด และไม่ได้มีประเด็นอะไรที่เราจะต้องชี้แจงใหญ่โต มีความเห็นหลายท่านที่เป็นทนายความก็มาบอกว่า จริงๆ มีกรณีที่เด็กสามารถเป็นพยานได้ และต้องมาตอบต่อหน้าผู้พิพากษาว่าจะต้องเลือกอยู่กับใคร

 

ฉากขึ้นศาลใน‘ดวงใจพิสุทธิ์’ผิดจริงหรือ?‘ชุดาภา’ผู้จัดมีคำตอบ

         นอกจากเสียงติติง ก็มีเสียงชื่นชม

         เสียงติติงที่เกิดขึ้น เราเข้าใจ เราเข้าใจว่าอาจจะต้องมีคนไม่เข้าใจแน่ๆ ซึ่งเราทำถูกต้องแล้ว เรารีเช็คข้อกฏหมายเรียบร้อย เราใช้เวลาเช็คข้อกฏหมายในการทำเรื่องนี้หลายเดือนมาก เพราะมันคือทุกประโยคเลยในการว่าความในศาล ทุกขั้นตอน เราต้องศึกษาว่าตำแหน่งหน้าบัลลังก์ เจ้าหน้าที่ทำอะไรบ้าง ตอนที่เขียนบทต้องมีทั้งทนายความ ผู้พิพากษามาช่วยเรา ซึ่งไม่ได้มีแค่คนเดียว แต่มีหลายคนมาก เราทำการบ้านหนัก เราต้องการให้มีช่องโหว่น้อยที่สุด

         เรตติ้งตอนจบได้ 7.8 ถือว่าดีมาก สำหรับละครครอบครัว

         ชื่นใจ กับเสียงตอบรับอย่างดี เพราะเราตั้งใจมากเลย กับงานสะท้อนสังคมของครอบครัว เมื่อเวลาที่ดูละครจบ ทำให้ผู้ชมและคนดูได้อะไรกลับไปว่า ถ้าเกิดกรณีแบบนี้ในสังคม เรานิ่งเฉยไม่ได้ เพราะสถาบันครอบครัวสำคัญ ไม่น่าเชื่อว่าเด็กคนหนึ่งที่โดนอะไรมากระทบจิตใจ เด็กเขาฝังใจนะ เพราะฉะนั้นพอดูละครจบ มีบางคนขอบคุณละครของเรา ซึ่งตรงนั้นเราซึ้งในมาก เหมือนเขารู้สึกไปกับเรา บางคนก็มีมาบอกว่า ตัวเขามีปัญหาเรื่องจิตและเรื่องอารมณ์นะ แต่พอเขาดูละครเรื่องนี้ เขามีกำลังใจและเข้าใจมากขึ้น เรารู้สึกดีใจมากที่เราเป็นส่วนเล็กๆ ที่ได้ช่วยสังคม เพราะตอนแรกเรากังวลว่า น้องๆ ที่มาเล่นเป็นเด็กน่ารัก 2 คน คือน้องมาเรีย (ทิพย์รดา ไมเออร์) กับน้องรถบัส (ภคพล ตัณฑ์พาณิชย์) เขาจะทำได้มั้ย

 

ฉากขึ้นศาลใน‘ดวงใจพิสุทธิ์’ผิดจริงหรือ?‘ชุดาภา’ผู้จัดมีคำตอบ

รถบัส - มาเรีย 

 

         อย่างตัวน้องมาเรีย ช่วงแรกเรากังวลว่าเขาจะเล่นได้มั้ย เพราะในขณะที่ถ่ายทำ เราจะช่วยเซฟน้องมากๆ อธิบายให้เขาฟังว่า การแสดงคือการแสดงนะลูก ถ้าอยากจะรู้ว่าน้องมาเรียเข้าใจตัวละครขนาดไหน ให้ดู 2 วันสุดท้ายของละคร เพราะเขาสามารถแยกอารมณ์ได้เป็น สเต็ปๆ เลย เขาเข้าใจบทหมดทุกอย่าง และพอสั่งคัตปุ๊บ เขาหยุดความรู้สึกตรงนั้นได้ คือเขาแยกเป็น และเขาก็ยิ้มร่าเริงปกติ จากช่วงเริ่มต้นที่คัดเลือกแคสติ้งเด็ก 300 คน น้องมาเรียจะขี้เขิน แต่พอเข้าได้มาเล่น ได้มาทำงาน เขาจะมั่นใจขึ้น แต่เราต้องสอนเขาว่า หนูคือนักแสดงนะ แต่หนูยังเป็นเด็ก มีหน้าที่ต้องเรียนหนังสือ และบอกให้คุณแม่สอนเขาว่า เดี๋ยวลูกจะมีชื่อเสียง แต่ต้องให้ลูกแยกแยะว่าชื่อเสียงคือเรื่องงาน แต่หน้าที่ของหนูคือเรียนหนังสือ เพราะก่อนที่จะเลือกเด็กมาเล่น เราต้องดูพอแม่ด้วยว่า พ่อแม่มีความพร้อมแค่ไหน เพราะเราทำเรื่องของเด็กมาเยอะ เราปั้นมาหลายคน ตั้งแต่น้องอันดา (กุลฑีรา ยอดช่าง)เราจะโทรไปบอกคุณพ่อคุณแม่เขาก่อนเลยว่า เดี๋ยวละครออนแอร์ น้องจะมีชื่อเสียงนะ ให้อธิบายให้น้องฟังด้วย เพราะเด็กเขาต้องปรับตัวตามสถานการณ์เหมือนกัน เดี๋ยวเด็กจะปรับตัวไม่ได้ ต้องให้เขาแยกแยะว่านั่นคืองาน คนดูเขาชื่นชมในตัวละครของหนูนะ แต่คุณแม่ของน้องทั้งคู่น่ารักมาก

 

ฉากขึ้นศาลใน‘ดวงใจพิสุทธิ์’ผิดจริงหรือ?‘ชุดาภา’ผู้จัดมีคำตอบ

 

         มีละครเรื่องใหม่งวางให้ น้องมาเรีย หรือยัง

         อยากหาให้เล่นนะ เพราะว่าน้องเก่งมาก แต่น้องอาจจะไม่ได้เล่นละครตลอด เพราะว่าน้องต้องเรียนหนังสือ แต่มีบอกกับคุณแม่ไปแล้วว่า อีก 10 ปี ข้างหน้ามาเป็นนางเอกกับเรานะ(หัวเราะ)เรารอได้ และถ้าช่วงเด็กๆ เขาอาจจะไม่ได้มีงานต่อเนื่อง เพราะเขาต้องเรียนหนังสือ พอเขาโตอีกพักหนึ่ง อาจจะมีช่วงวัยที่กึ่งเด็ก กึ่งโต เขาอาจจะต้องเว้นไปช่วงหนึ่ง แต่ถ้าเป็นสาวเมื่อไหร่ เราจองตัวไว้แล้ว เขาเป็นเด็กเก่ง จริงๆ เก่งทั้งคู่ทั้ง มาเรีย และ รถบัส มีสมาธิดีมาก อาจจะมากกว่าผู้ใหญ่ด้วยซ้ำ มีความเข้าใจตัวละครอย่างมาเรีย เวลาคุณแม่อ่านบทให้ฟัง เขาพูดขึ้นมาเลยว่า สงสารปุ๊กกี้ (ตัวละครเรื่องดวงในพิสุทธิ์) เพราะเขาเข้าใจตัวละคร

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ