บันเทิง

จอแก้ว ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ เรื่อง เรื่องเดียวกัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เรียนรู้เรื่องราวพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3 โครงการหลวง ได้แก่ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ, ฟาร์มโคนมพระราชทาน และการปลูกพืชเมืองหนาวทดแทนการปลูกฝิ่น

รับชมได้ในช่วง หนังสั้น เนชั่น ทีวี ช่อง 22 เวลา 11.30 น. และ 23.30 น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 23.00 น.

    โดย... (แก๊งผู้กำกับแฟนฉัน)  นิธิวัฒน์ ธราธร / ทรงยศ สุขมากอนันต์ / คมกฤษ ตรีวิมล / วิทยา ทองอยู่ยง /  วิชชพัชร์ โกจิ๋ว / อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม 
    นำแสดง … แน๊ก ชาลี ไตรรัตน์ รับบท ต่อ 
    ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ รับบท มิลค์
    รับชมได้ในช่วง หนังสั้น เนชั่น ทีวี ช่อง 22 เวลา 11.30 - 12.00 น. และ 23.30 - 24.00 น.

จอแก้ว ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ เรื่อง เรื่องเดียวกัน
    “ทุกคนรักในหลวง อยากทำโครงการนี้ เพราะนี่คือ สิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่อาชีพอย่างพวกเราจะทำได้ และจริงๆ ที่เรารักในหลวง ไม่ใช่เพราะว่าท่านเป็นสมมติเทพ แต่ ท่านสร้างอะไรให้เรามากมาย คนที่ทำอะไรให้เราขนาดนี้ ทำไมเราไม่รัก ทำไมถึงต้องรักในหลวง มันเป็นข้อสงสัย ที่ไม่น่าจะมี คือโชคดีที่เราโตกันในยุคสมัยของในหลวง พระองค์นี้ แต่ก็มีช่วงเวลาที่พลิก มีความไม่แน่ใจกัน เกิดขึ้นในคนประเทศนี้ได้ด้วยเหรอ ก็จะบอกว่าเรายังจะ อยู่ในช่วงสองบรรยากาศ สองอารมณ์นี้ แต่ว่าจะบอกแค่ว่า ที่เรารักในหลวงเพราะว่าท่านคือคนที่ทำอะไรให้เรา ขนาดนี้ รักเราขนาดนี้ แล้วก็สร้างอะไรให้แก่ประเทศชาติ ขนาดนี้ ไม่ต้องเป็นเทพ เป็นกษัตริย์ เราก็ควรจะรักท่าน นะครับ” 

เรื่องย่อ 
    เรื่องราว 4 เหตุการณ์ 4 ช่วงเวลา ถูกนำเสนอ ผ่านตัวละครวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตอย่างปกติสุขตามประสาเด็กนักเรียนทั่วๆ ไป แต่เขาเคยรู้หรือไม่ว่าสิ่งที่ตัวเอง มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า น้ำประปา นมที่ดื่ม หรือผลไม้ที่กิน ล้วนมี ที่มาจากจุดเริ่มต้นเดียวกัน นั่นคือ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2510 ชาวเขาสองคน ต่างไล่ล่ากันเพราะความโกรธแค้นที่ฝ่ายหนึ่งคิดว่าเพื่อนของตนทรยศไปเข้ากับทางการ และแอบบอก ที่ซ่อนของไร่ฝิ่น และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของการเปลยี่ นแปลงจากการทำไร่เ ลื่อนลอยและปลกู ฝิ่น ไปสู่ การมีอาชีพ ใหมข่ องชาวเขา คือการปลูกพืชเมืองหนาวจากพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงที่มีต่อกลุ่มคนบนที่สูง ทำให้ชุมชนแถบนั้นมีสภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถแกป้ ญั หายาเสพตดิ มอี าชพี ทมี่ นั่ คงและยงั่ ยนื สุดท้าย เพื่อนม้งก็ได้เข้าใจถึงสิ่งที่เพื่อนของตนทำว่าเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาอย่างไร
    ส่วนอีกเหตุการณ์หนึ่ง ณ จังหวัดสระบุรี พ.ศ.2520 ต้น เด็กชายร่างเล็ก เขาแอบชอบเพื่อนสนิทของเขา คือ มิลค์ สาวน้อยน่ารักที่มีรุ่นพี่หมายปองต้นหมั่นไปหามิลค์ที่บ้านซึ่งเป็นฟาร์มโคนม และได้มีโอกาสช่วยมิลค์ทำงาน ทำให้ทั้งสองได้สนิทสนมกันมากขึ้น แต่ต้นก็รู้ตัวดีว่าเขาเองนั้นไม่สูงและเท่เหมือนคนอื่นๆ ต้นจึงมุมานะในการกินนม เพราะ คิดว่าถ้าเขาสูงขึ้นแล้วมิลค์คงจะรับรักเขาสักวัน และแล้วต้นก็รวบรวมความกล้าสารภาพรัก ท้ายที่สุดแม้มิ้ลค์จะบอกว่าเธอชอบรุ่นพี่อีกคนหนึ่ง ต้นก็เข้าใจและยังรักมิลค์เป็นเพื่อนเหมือนเดิม พร้อมทั้ง ยังตั้งใจกินนมที่เขาคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อไป
    ณ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก พ.ศ. 2545 รายการสารคดีจากประเทศญี่ปุ่นได้มาถ่ายทำ สารคดีเกี่ยวกับการจัดการน้ำในเมืองไทย และได้สัมภาษณ์ “วิทยา” ผู้ที่ได้รับรางวัลเจ้าหน้าที่เขื่อนดีเด่น วิทยาเล่าว่า ที่ประเทศไทยมีน้ำใช้ และน้ำท่วม น้อยลง เพราะในหลวงทรงห่วงเรื่องน้ำมาก ท่านทำ โครงการหลายอย่าง ทั้งการช่วยรักษาป่าเพื่อรักษาแหล่งกำเนิดน้ำ ทำฝนหลวง ท่านมีพระราชดำริให้ สร้างเขื่อน ฝายทดน้ำ อ่างเก็บน้ำ เพื่อใช้ในการ กสิกรรม ปศุสัตว์ รวมทั้งได้พาทีมงานไปสัมภาษณ์ คุณยายที่อยู่มาก่อนเขื่อนจะถูกสร้างขึ้น
    หลังจากนั้น ทุกๆ เหตุการณ์ก็ได้ถูกนำมา เชื่อมโยงกับชีวิตของ ต่อ เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งที่กำลัง เล่นอินเทอร์เน็ต ดื่มนม และมีพ่อที่เป็นเจ้าหน้าที่ เขื่อนดีเด่น ซึ่งก็คือ ต้น ในวัยเด็กคนนั้น สุดท้าย สองพ่อลูกจึงได้ไปลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สถานีรถไฟฟ้าหน้าทางเข้า ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง

เบื้องหลังการถ่ายทำ
    ภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นผลงานของกลุ่มผู้กำกับ หนุ่มรุ่นใหม่ที่เคยฝากผลงานอันน่าประทับใจไว้เมื่อ ปี 2546 คงไม่มีแฟนภาพยนตร์ในประเทศไทยไม่รู้จัก ภาพยนตร์เรื่อง ‘แฟนฉัน’ ที่สร้างความสุขให้กับคนไทยไว้อย่างล้นเหลือ หลังจากผ่านไป7ปี  ชายหนุ่มทั้ง6คน ได้แก่ “ต้น” นิธิวัฒน์ ธราธร / “ย้ง” ทรงยศ สุขมากอนันต์ / “เอส” คมคมกฤษ ตรีวิมล / ‘บอล’ วิทยา ทองอยู่ยง / ‘เดียว’ วิชชพัชร์ โกจิ๋ว / ‘ปิ๊ง’ อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม  ทั้งหมดได้กลับมารวมตัวอีกครั้ง  หลังจากแยกย้ายไปสร้างสรรค์ผลงานตามเส้นทางของตนเอง นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้มาร่วมงานกันอย่าง พร้อมหน้าหลังจากภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน  เพื่อร่วมแรงร่วมใจถวายงานแด่พ่อหลวงที่พวกเขารัก ถึงแม้ว่าทุกคนจะมีงานยุ่งรัดตัวแค่ไหน เมื่อได้รับ การทาบทามมาร่วมโครงการนี้ก็ตอบตกลงทันทีทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าตัวเองจะมีเวลาหรือเปล่า
    วิทยา เล่าถึงการทำงานในครั้งนี้ว่า พวกเขาแบ่งงานกันทำคนละส่วน เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ ประกอบไปด้วยเรื่องราวสามส่วนที่ดูเหมือนจะ ไม่เกี่ยวกัน และมีอีกส่วนนึงที่จะนำทั้งสามเรื่องมา เชื่อมโยงกัน แล้วก็จะทำให้คนดูเข้าใจว่าเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวข้องกันอย่างไร ซึ่งเป็นใจความสำคัญ ของเรื่องว่าพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทยอย่างไร
    “โจทย์ของงานนี้ก็คือ ทำเพื่อสื่อสารให้วัยรุ่นดู เพราะว่าตอนนี้เด็กรุ่นใหม่โตไม่ทัน แต่ผมไม่อยากให้หนังเรื่องนี้เป็นเหมือนกับรายการสารคดีหลังข่าว เพราะว่าเราทำให้เด็กวัยรุ่นดู มันต้องมีสไตล์ ไม่ทำให้เขารู้สึกว่าถูกบังคับ พวกเราก็อยากให้หนังมันมีความซับซ้อนหน่อย ก็สรุปได้ว่าเราใช้เนื้อหาเกี่ยวกับ พระราชกรณียกิจของในหลวง 3 ประเด็น ก็คือ เรื่องการเปลี่ยนไร่ฝิ่นไปเป็นการปลูกพืชผักเมืองหนาวเพื่อช่วยแก้ปัญหายาเสพติดและการทำไร่เลื่อนลอย เรื่องการทำฟาร์มโคนม และเรื่องการจัดการน้ำ การสร้างเขื่อน ทั้งสามเรื่องมีความแตกต่างกัน แต่เราเอามาร้อยเรียง และแสดงให้เห็นว่ามันกระทบกับชีวิตของเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งในปัจจุบัน เราเล่นอินเทอร์เนต็ เล่นเฟซบุ๊ก กินขนม มีไฟฟ้าใช้ แต่เราไม่เคยคิดถึงจุดเริ่มต้นที่มาจากบุคคลคนเดียว เราตั้งใจว่าจะเล่าเรื่องผ่านภาพพระราชกรณียกิจของในหลวงจริงๆ ที่สอดคล้องกับเรื่องในหนัง ซึ่งก็เป็นที่มาของชื่อเรื่องคือ ‘เรื่องเดียวกัน’ เรารักท่านไม่ใช่เพราะท่านเป็นสมมติเทพ แต่รักเพราะท่านสร้างทุกสิ่งทุกอย่างมากมาย จริงๆ ตอนแรกพวกเราก็ศึกษาข้อมูลกัน เยอะมาก เลือกประเด็นมาเยอะมาก แล้วก็รู้สึก ว่าท่านคิดได้ยังไง เก่งมาก คิดว่ามันน่าจะเอามาเล่าเรื่องต่อเนื่องกันได้ ส่วนเรื่องหน้าที่การกำกับผมก็ตกลงกับเพื่อนๆ แล้วก็ได้มาถ่ายทำเนื้อหาเกี่ยวกับฟาร์มโคนม ซึ่งก็คือ ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ที่จังหวัดสระบุรี เนื้อหามันก็จะเป็นเรื่องความรักกุ๊กกิ๊กของเด็กวัยรุ่น แล้วเด็กพวกนี้เค้าก็จะมีบ้านอยู่ในฟาร์มโคนมนดูก็จะได้รู้เรื่องราวของนมวัวผ่านเด็กๆ เหล่านี้
    ส่วน “คมกฤษ” ได้เล่าถึงผลงานที่เขารับผิดชอบ ว่า ผมทำเรื่องเกี่ยวกับไร่ฝิ่น เราถ่ายทำกันสองวันซึ่งผมเองก็ไม่ได้อยู่ร่วมทั้งหมดของกระบวนการในหนังเรื่องนี้ แต่ก็รู้สึกว่าทุกครั้งที่เราถ่าย เรากำลังทำเพื่อในหลวง เรารู้สึกภาคภูมิใจทุกครั้ง จุดประสงค์ของเรื่องนี้คือทำเพื่อจะบอกคนว่าในหลวงท่านทำอะไรบ้าง เรื่องอื่นเราไม่ทราบ คือเรื่องนี้เราจะบอกวัยรุ่นปัจจุบันว่า ที่เขาไม่เคยเห็นในหลวงทำเนี่ยเพราะว่าตอนนี้ท่านอายุมากแล้วและพระพลานามัยท่านก็ไม่แข็งแรงเหมือนเมื่อก่อน แต่เราอยากจะบอกให้รู้ว่าสิ่งที่ท่านทำมาในอดีตมีอะไรบ้าง แล้วเกี่ยวข้องกับเขาอย่างไรบ้าง มันไม่ใช่ที่ว่ามีคนพูดว่าในหลวงไม่ได้ทำอะไรเลย แล้วเราก็เชื่อไปอย่างนั้นคือหมายความว่า เราไม่เคยเห็นต่างหาก ไม่ใช่มันไม่มีจริง แล้วเราก็จะทำหนังเรื่องนี้เพื่อส่งเสริมทุกครั้งที่ทำก็เพื่อต้องการจะบอกอย่างนี้ให้วัยรุ่นรู้เป็นหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา แล้วก็ภาคภูมิใจในหน้าที่ที่เขาเลือกให้เราทำ
    สำหรับ “ทรงยศ” ออกตัวก่อนเลยว่ามีส่วนร่วมกับงานนี้น้อยกว่าเพื่อนคนอื่น แต่เขาก็บอกอีกว่า ยังไงก็ไม่ยอมหลุดจากวงโคจรของโปรเจคนี้แน่นอน 
    “ผมสนใจประเด็นว่า เด็กวัยรุ่นสมัยนี้โตไม่ทันเห็นว่าพระองค์ ท่านทำอะไรให้กับประเทศไทยเราบ้างที่ผ่านมาเลยไม่รู้สึกซาบซึ้งในพระราชกรณียกิจของพระองค์ แต่สำหรับผม ผมรู้สึกว่ารักในหลวงมากแต่เวลาที่ใครพูดถึงในหลวงแบบแสดงความรู้สึกมากเกินไป ก็จะรู้สึกว่านี่แหละ ที่เรามีคนเริ่มต่อต้าสถาบันฯ ก็เพราะความรู้สึกที่แสดงออกมากเกินไปของคนที่รักในหลวงมากแบบนี้ อันนี้คือสิ่งที่ผมรู้สึกนะถามว่ารักในหลวงไหม ผมรัก แต่ถึงขนาดพูดตรงแล้วแรงว่า ใครไม่รักในหลวงก็ออกไปจากแผ่นดินแบบนี้ผมไม่เห็นด้วย ผมว่าคำนี้มันเป็นคำที่เหมือนไปแบ่งฝักแบ่งฝ่าย กีดกันกันเกินไป ผมรู้สึกว่าเราควรจะรักในหลวงแบบไม่เบียดเบียนใครน่ะครับ คือสำหรับพวกผม การที่เรารักในหลวงไม่ใช่ว่าท่านมาทำอะไรให้เราครั้งนึงแล้วเราก็รักท่าน มันเป็นความผูกพันที่เรารู้สึกว่าเราเติบโตกับสิ่งที่ท่านทำให้เรามาตลอด เหมือนเรารักพ่อ เราเองก็ไม่ได้ไปลงนามถวายพระพรทุกครั้ง แต่ทุกครั้งที่มีข่าวว่าในหลวงทรงพระประชวร เราก็มองข่าวนั้นด้วยความรู้สึกเป็นห่วง น้ำตาจะไหล ซึ่งมันเป็นความรู้สึกผูกพันรักท่านแบบคนเป็นพ่อแบบคนเป็นแม่เรา เพราะเราเห็นว่าท่านรักประชาชน ท่านรักพวกเรา

จอแก้ว ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ เรื่อง เรื่องเดียวกัน
    อดิสรณ์ ผู้กำกับหนุ่มเจ้าของผลงานภาพยนตร์ขวัญใจสาวๆ อย่างเรื่อง รถไฟฟ้ามาหานะเธอ เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำ ซึ่งเป็นครั้งแรกในชีวิตของเขาที่ได้เดินทางไปที่เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
    “ของผมจะเป็นข้อมูลเรื่องน้ำ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการน้ำและเขื่อนทั่วประเทศ คือเขื่อนการผลิตไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้ แต่หลักการจริงๆ คือเรื่องการเกษตร คือสร้างประโยชน์ให้แก่คน อย่างเขื่อนภูมิพลสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าให้ประเทศนี้ได้ครึ่งประเทศเลยนะครับ เราก็พยายามคิดว่าจะทำยังไงดี ถ้าจะมาเดินพูดให้ข้อมูลก็เลยคิดว่าต้องเป็นการเล่าผ่านการถ่ายทำสารคดี ก็เลยคิดได้เป็นรูปแบบที่มีพิธีกรมาพูดเพื่อให้คนดูรู้สึกว่ามีสีสันขึ้นแต่คราวนี้พอพิธีกรพูดแล้วสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เขื่อนมันก็จะดูเหมือนรายการทีวี ดูไม่เป็นหนัง ก็เลยทำเป็นหนังที่เล่าถึงเรื่องของทีมงานสารคดีชาวญี่ปุ่นที่มาถ่ายทำรายการที่เขื่อนภูมิพล แต่ข้อมูลที่เราจะบอกกับคนดูก็คือ ระหว่างที่พิธีกรซึ่งเป็นตัวเดินเรื่องคุยกับเจ้าหน้าที่ แต่ว่ากล้องยังไม่ถ่าย แต่พอเค้าคุยกันเสร็จแล้วเราก็ เอ้า มาถ่ายกันเถอะ ส่วนที่ต้องเป็นคนต่างชาติก็เพราะว่า ถ้าเราเอาเรื่องแบบนี้มาเล่าให้คนไทยด้วยกันฟัง คนดูอาจจะรู้สึกว่า ใครๆ ก็รู้อยู่แล้ว แต่พอเป็นชาวต่าตอนผมไปถ่ายทำ ได้ไปเขื่อนภูมิพลครั้งแรกก็ยังนึกว่า ถ้าไม่ใช่ในหลวง ก็ไม่มีทางถูกสร้างขึ้นมาได้เพราะว่าการสร้างเขื่อนใหญ่ขนาดนี้มันสร้างความขัดแย้งให้กับชุมชนสูงมาก คือถ้าท่านไม่ทำ ก็ไม่มีใครทำได้ นักการเมืองก็ไม่มีใครทำได้แต่ผมจะไม่เล่าว่าเขื่อนนี้ดีอย่างไร สร้างมาอย่างไรมีประโยชน์มาอย่างไรมันเป็นข้อมูลที่หาที่ไหนก็ได้ แต่สิ่งที่เราตั้งใจจะทำให้ออกมาดีที่สุดคืออยากให้คนดูเข้าใจว่านี่คือสิ่งที่ในหลวงสร้างเพื่อคนไทยเพื่อให้คนไทยได้รับประโยชน์จากทรัพยากรนี้ร่วมกัน
    “นิธิวัฒน” เจ้าของผลงานสบายๆ สไตล์วัยรุ่นเช่น Season Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยหรือ หนีตามกาลิเลโอ เป็นผู้รับหน้าที่เล่าเรื่องในส่วนของการเชื่อมต่อประเด็นทุกอย่างในภาพยนตร์เรื่องนี้
    “ถ้าในส่วนของผมแล้ว ผมก็เป็นส่วนเชื่อมเรื่องราวสามเรื่องนี้อยู่ เพียงแต่ว่ามันเป็นจุดตอนเริ่มต้นและตอนจบเรื่อง คือเรื่องนี้เล่าถึงเด็กผู้ชายคนหนึ่ง เหมือนเป็นตัวแทนวัยรุ่นไทยในปัจจุบันที่วันๆ อาจจะไม่เคยได้รับรู้เรื่องราวบางอย่างเกี่ยวกับในหลวงด้วยซ้ำก็เป็นเด็กคนนึงที่อาจจะโตมาในเจเนอเรชันนี้ วันนึงที่เหมือนกับเหตุการณ์เริ่มต้นที่ว่า เด็กคนนี้เล่นคอมพิวเตอร์อยู่นิ่งๆ สุดท้ายไฟดับ เหตุการณ์ไฟดับอันนั้นก็จะเป็นตัวเชื่อม ส่งต่อไปถึงเรื่องของเอส ที่พูดถึงเรื่องของโครงการในพระราชดำริ เป็นตัวเชื่อมว่าวันนึงที่คุณขาดไฟฟ้า จริงๆ แล้วชีวิตของคุณเด็กคนนึงที่นั่งเล่นคอมพิวเตอร์อยู่ที่บ้าน มาเกี่ยวข้องอะไรกับชาวเขาที่ปลูกฝิ่นด้วยหรือ หรือเกี่ยวข้องกับนมได้ยังไง หรือว่าเกี่ยวข้องกับคนทีทำฟาร์มโคนมยังไง แม้กระทั่งเรื่องราวของเขื่อน คือทั้งสามเรื่องนี้เป็นโครงการในพระราชดำริ ที่บางคนไม่รับรู้ด้วยซ้ำว่าเกี่ยวข้องกับเราอ้อมๆ จริงๆ แล้วมันเกี่ยวข้องกับทุกคนด้วย เพียงแต่คุณอาจจะไม่เคยรู้ตัว ความจริงทุกอย่างเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น เช่น หนึ่ง คุณต้องใช้ไฟแน่ๆ ไฟมาจากน้ำ น้ำมาจากฝน ทุกอย่างมาจากเขื่อน ทุกคนกินนม นมมาจากโครงการในพระราชดำรินะ คุณรู้หรือเปล่า หรือคุณคิดว่าคุณไปซื้อมากินเฉยๆ แม้กระทั่งเรื่องของยาเสพตดิ เรื่องของผลไม้ ที่การเปลี่ยนแปลงไร่ฝิ่นให้เป็นการปลูกพืชเมืองหนาว ทำให้เราได้กินสตรอว์เบอร์รี่ เราก็ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามันเกิดจากอะไร เราก็คิดว่ามันเป็นแค่ผลไม้
    เมื่อถามถึงสิ่งที่คนดูจะได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้ วิชชพัชร์ ผู้รับหน้าที่ตัดต่อทั้งหมดเล่าว่า คนดูจะได้เห็นภาพฟุตเทจจริงๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงาน เกี่ยวกับเรื่องราวที่อยู่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เมื่อถามถึงความผูกพันของเหล่าผู้กำกับทั้งหกที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของทั้งหกคนเมื่อครั้งที่ยังเป็นนิสิตที่คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ผมคิดว่าการเป็นกษัตริย์ในประเทศไทย เป็นกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นเรื่องยากมาก แล้วก็เป็นเรื่องที่น่าอึดอัดเหมือนกัน ท่านเองก็ไม่ได้เลือกที่จะต้องมาเป็นกษัตริย์ การที่ท่านเป็นกษัตริย์แบบนี้ภาระของพระองค์ท่านหนักมาก แล้วสาเหตุหนึ่งที่ท่านรู้สึกว่าต้องทำหน้าที่นี้ เพราะท่านรู้สึกว่าท่านละทิ้งประชาชนไม่ได้ ซึ่งหลายๆ ครั้งท่านก็ทำให้รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ ว่าท่านไม่เคยละทิ้งประชาชนของท่านแล้วรู้สึกว่าด้วยภาระที่หนัก และบทบาทที่น่าอึดอัดแบบนี้ ในสังคมแบบนี้ ผมถือว่าพระองค์ท่านทำได้ดีแล้วก็สร้างบุญคุณให้แก่ประเทศนี้ แค่เรารู้สึกส่วนตัวเองน่ะ ตัวเราคนเดียวชดใช้พระคุณที่ท่านทำให้แก่ประเทศเรา ต่อให้ตายเกิดชาติหน้าอีกชาตินึงก็ชดใช้ไม่หมด อันนี้คือเป็นความรู้สึกส่วนตัวนะ เพราะฉะนั้นคนอื่นจะรู้สึกอย่างไรก็ไม่รู้ เดี๋ยวนี้อินเทอร์เน็ตมีเยอะแยะ ถ้าตั้งสติแล้วกลับไปหาข้อมูลดูก็ได้กลับไปรู้เรื่องราวจริงๆ ว่าท่านทำอะไรให้แก่ประเทศมาบ้าง แล้วจะรู้สึกว่าสิ่งที่ท่านทำ สิ่งที่พระองค์ท่านเป็นทุกวันนี้ ผมว่าดีที่สุดแล้วเท่าที่ประเทศเราจะได้รับจากพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่ง
    เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อง ‘เรื่องเดียวกัน’ 2,285 เมตรคือระดับความสูงของดอยฟ้าห่มปก (ชื่อเดิมคือดอยผ้าห่มปก) ซึ่งสูงเป็นอันดับสองของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำฉากการปลูกฝิ่นและพืชเมืองหนาวระหว่างเดินทางลงจากดอยฟ้าห่มปก รถยนต์ของทีมงานถ่ายทำเกิดยางแตก แต่สุดท้ายทุกคนก็สามารถลงจากดอยได้อย่างปลอดภัย 30 กันยายน 2553 เป็นวันถ่ายทำฉากการทำฟาร์มโคนม และเป็นวันครบรอบวันเกิดอายุ 18 ปีของน้องใบเฟิร์น-พิมพ์ชนก ผู้รับบทมิลค์ ทำให้เธอได้ฉลองวันเกิดด้วยการทำงานเพื่อในหลวงที่เธอบอกว่ารักมากที่สุดในโลก
    นักแสดงที่รับบทเป็นชาวม้งนั้น เป็นดารานักบู๊ชาวม้งจริงๆ ทำให้เราได้ทราบว่าชาวม้งก็มีการผลิตภาพยนตร์ส่งออกไปให้ชาวม้งด้วยกันเองที่อยู่ต่างประเทศ และทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นักแสดงมืออาชีพชาวม้งมาฝากผลงานไว้ให้คนไทยทั่วไปได้ดู
ผู้กำกับ ปิ้ง-อดิสรณ์ บอกว่าไม่เคยไปเขื่อนภูมิพลมาก่อนและได้รับเลือกให้กำกับในส่วนของการนำเสนอเรื่องราวของการจัดการน้ำ ทำให้เขาได้ไปเขื่อนภูมิพลเป็นครั้งแรกในชีวิต

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ