บันเทิง

ย้อนอดีตรำวงชาวบ้านลูกหลานรำวงดัง"ดาราน้อย”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ย้อนอดีตรำวงชาวบ้านลูกหลานรำวงดัง"ดาราน้อย” : ลูกทุ่ง

 

          เมื่อบ่ายวันเสาร์ที่ผ่านมา ชมรมหัวใจสีขาว ได้จัดคอนเสิร์ตการกุศล “รวมใจรณรงค์ต้านภัยเอดส์” ร่วมกับกลุ่มนักร้องลูกทุ่ง เพื่อนำรายได้มอบให้แก่วัดพระบาทน้ำพุ ที่หอประชุมใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

          การแสดงปิดท้ายที่น่าตื่นตาตื่นใจคือ รำวงชาวบ้าน ซึ่งมาร่วมเวที 2 คณะจากลพบุรี และชลบุรี ซึ่งหนึ่งในคณะนั้นคือ รำวงชาวบ้าน-ย้อนยุค ต.บ้านเซิด อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ที่แตกยอดมาจากรำวง "ดาราน้อย” ชื่อดังในอดีตนั่นเอง

 

ย้อนอดีตรำวงชาวบ้านลูกหลานรำวงดัง"ดาราน้อย”

          แสงดาว ศรีล่าเฮ้า หนึ่งในทีมงานนางรำของรำวงชาวบ้าน-ย้อนยุค ต.บ้านเซิด เล่าถึงความเป็นมาของวงเท่าที่จำได้ว่า
          “วงรำวงเรา ว่าไปแล้ว ในอดีตไม่มีเครื่องเสียง เขาจะมีกลองทอม ลูกซัด ฉิ่งฉับ กรับ และเขาจะร้องกันเองสดๆ พอมีงานใหญ่ต้องใช้เครื่องเสียงช่วย เราสืบทอดเชื้อสายมาจากวง "ดาราน้อย” แต่ไม่ใช้ชื่อดาราน้อย เพราะรุ่นดาราน้อยหมดไปแล้ว ถือว่ารุ่นนี้เป็นรุ่นหลานเหลนแล้ว นางรำมีตั้งแต่ 27-56 ปี มีครูบ้าง อสม. บ้าง ผู้ปกครองเด็กบ้าง รับงานเป็นกิจจะลักษณะ แต่เรามีอาชีพหลักกัน บางคนทำงานบริษัท เป็นครู ทำงานโรงงาน ถึงเวลาก็รวมตัวกัน ซ้อมกัน ออกกำลังกายกัน เคยเต้นตั้งแต่บ่ายถึงเที่ยงคืน งานสงกรานต์ยังมีเรี่ยวแรงกัน อายุ 50 กว่าก็จริงๆ แต่ออกกำลังกาย ว่างๆ เราก็มาเต้นออกกำลังกายกัน หรือวัดไหนเขามีงานรำ��่นเพลง ”พวงมะนาว” ต้นฉบับเขาเป็นรุมบ้า แต่ตามงานต่างๆ เขาจะเล่นเพลงนี้เป็นสามช่า พี่ๆ เคยไปเต้นรำวงที่อื่นๆ เด็กแดนเซอร์รุ่นใหม่ เขาไม่เคยเห็น เราก็ไปคล้องแขนสอนเขาเต้น เขาก็ดีใจ มีความสุขค่ะ เขาจะชอบกลุ่มบ้านเซิดมาเขาจะดีใจ นักร้องเก่าๆ ก็ดีใจที่เจอพวกเรา”

 

ย้อนอดีตรำวงชาวบ้านลูกหลานรำวงดัง"ดาราน้อย”

 

          นางรำคนสวย แห่งพนัสนิคม ชลบุรี กล่าวทิ้งท้ายฝากไว้ว่า
          “การรับงานของวงเรา รับทั่วประเทศ ที่ชัยภูมิก็เคยไป ศรีสะเกษ นางรำจะมี 12-14 คน อยากให้คนสมัยนี้ย้อนยุคกลับไป ทั้งการการแสดง และการเต้นรำบนเวที เพราะการรำวงทำให้จิตใจมีความสุข อย่างจังหวะโซลเต้นแล้วจะมีความสุข ใครจะติดต่องานพวกเรา เข้าไปที่เฟซบุ๊ก “รำวงชาวบ้าน-ย้อนยุค ตำบลบ้านเซิด อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี” ค่ะ”

.......................................

          ผู้ที่ใช้ชื่อว่า Nudsikan Kaewjai ได้เขียนประวัติรำวงไว้อย่างน่าสนใจ ในยูทูบว่า “รำวง ในช่วงแรกมักนิยมเล่นเพลงปลุกใจ ประกอบจังหวะรำวงโดยใช้กลอง และเครื่องประกอบจังหวะ โดยใช้ลูกซัด ฉิ่งฉับ ฯลฯ และมีนางรำ นักร้อง เพลงเชียร์รำวงเพลงเก่าๆ ที่นิยมใช้ร้องกันแต่โบราณก็มี เพลง ตาแก่อยากมีเมียสาว ป๊อกช่าป๊อก เพลงหวานใจ ฯลฯ เพลงที่นิยมจนถึงปัจจุบัน คือ เพลงดาวพระศุกร์ ต่อมาได้เกิดกระแสนิยมใช้เครื่องดนตรีต่างประเทศ ประเภทเครื่องเป่ามาบรรเลง เช่น แซกโซโฟน ทรัมเป็ต หีบเพลงชัก ฯลฯ จังหวะรำวงจึงมีความเป็นสากลมากขึ้น เช่น จังหวะสามช่า ม้าย่อง กัวราช่า บีกิน เป็นต้น เพลงที่ใช้ร้องเป็นเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงสากล ทำให้รำวงสมัยก่อนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย มีการตั้งคณะรำวงรับจ้างไปแสดงในงานทั่ว ๆ ไป ในงานวัด งานรื่นเริง

 

ย้อนอดีตรำวงชาวบ้านลูกหลานรำวงดัง"ดาราน้อย”

 

          จ.ชลบุรีมีคณะรำวงที่มีชื่อเสียงไปแสดงทั่วประเทศ ได้แก่ เรียม ดาราน้อย ชาตรี ศรีชล บุปผา สายชล เป็นต้น อ.ศรีราชา ก็มีคณะรำวง “คณะสงวนชล” อยู่ที่อ่าวอุดมรำวงคณะหนึ่งประกอบด้วย นางรำอย่างน้อย 20-30 คน โดยตั้งเวทียกสูงประมาณ 1-1.50 เมตร กำหนดเป็นรอบ รอบละ ประมาณ 8-10 นาที ก่อนรำวงจะมีการรำถวายมือ เพื่อเป็นการคารวะครูบาอาจารย์ เจ้าที่เจ้าทาง ถือเป็นการโชว์ตัวนางรำไปด้วย รำวงจะมีที่จำหน่ายตั๋ว แรกๆ ราคา 1-2 บาท อย่างสูงไม่เกิน 5 บาท ผู้รำก็จะขึ้นไปรำกับนางรำที่ตนพอใจหมายตาไว้ และหยุดรำ ต่อเมื่อได้ยินสัญญาณนกหวีด และบางครั้งก็มีการเหมารอบเฉพาะพรรคพวกก็มี การสูญหายของรำวง จุดเด่นของรำวงอยู่ที่นางรำซึ่งเป็นจุดสนใจให้บรรดาผู้ชมซื้อตั๋วเข้ามารำวงกับคณะนางรำที่มีรูปร่างหน้าตาดี และมีการติดตามคณะรำวงที่ตนสนใจไปตามงานต่างๆ ทำให้เกิดการเขม่นกับทางเจ้าถิ่น ด้วยสาเหตุนี้ทำให้เกิดการแย่ง “นางรำ” กันขึ้น จนเป็นสาเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทจนยากแก่การควบคุม ทำให้ทางราชการต้องสั่งยกเลิก ห้ามมีการแสดงรำวงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา”

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ