ข่าว

นักวิชาการ ชี้ นโยบาย ‘เงินดิจิทัล 10,000’ ทำ ‘เศรษฐา’ สุ่มเสี่ยงผิดกม.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักวิชาการ ม.เชียงใหม่ ชี้ นโยบาย ‘เงินดิจิทัล 10,000 ’ เพื่อไทย ต่างจากประชานิยมยุคเมื่อ 20 ปีก่อน เพราะปัจจุบัน มี พ.ร.บ.ว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง 2561 เตือนหากใช้ผิดวัตถุประสงค์ อาจส่งผลถึงตำแหน่งนายกฯ ‘เศรษฐา’ สุ่มเสี่ยงทำผิดกฏหมาย

“เศรษฐา ทวีสิน” เข้ารับพิธีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง “นายกรัฐมนตรี” ที่พรรคเพื่อไทย ช่วงเย็นวันนี้ (23ส.ค.2566) เป็นนายกฯคนที่ 30 ของประเทศไทย และเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียง โดยเฉพาะนโยบาย "เงินดิจิทัล 10,000" การขึ้นค่าแรง 600 บาท, วุฒิปริญญาตรี 25,000 บาท เพื่อฟื้นเศรษฐกิจประเทศ

เนายศรษฐา ทวีสิน

แต่ ผศ.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่า ปัจจุบัน บริบท และโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด 19 ระบบเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้น และการเก็บภาษีของรัฐบาลเชื่อว่าอนาคตจะดีขึ้น และสิ่งที่เราเห็นล่าสุดหลังจากโหวตนายกรัฐตรีสำเร็จ ตลาดหุ้นก็ปรับตัวขึ้น ในแง่ของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น 

 

 

การผลักดัน นโยบาย "เงินดิจิทัล 10,000" ของพรรคเพื่อไทย หวังจะกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อุปสรรคสำคัญของการนำนโยบายประชานิยมมาใช้ มันต่างจากนโยบายประชานิยม ยุคเมื่อ 20 ปีก่อน เพราะปัจจุบัน มี พ.ร.บ.ว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง พ.ศ. 2561 เข้ามาเกี่ยวข้อง 

 

 ผศ.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“ฉะนั้นการใช้เงินในปัจจุบัน รัฐบาลใหม่ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะหากใช้ผิดวัตถุประสงค์ นั้นหมายถึง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ โอกาสยั่งยืนของรัฐบาลก็ไปได้ไม่ไกล”

 

 

ส่วนนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท เงินเดือนวุฒิปริญญาตรี 25,000 บาท จะต้องขึ้นอยู่กับการเจรจากับภาคเอกชน ถ้าเศรษฐกิจไปได้ดี รายได้ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น การที่จะเพิ่มค่าแรงก็เป็นไปได้ 

 

 

นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยก็ชูนโยบายของการปราบปรามยาเสพติด ในปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดยังเพิ่มขึ้น และ นโยบายของรัฐบาลเดิมก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ขึ้นอยู่กับพรรคเพื่อไทย จะชูนโยบายแบบไหน ในการปราบปรามยาเสพติด แม้ในอดีตเคยทำได้ ในยุครัฐบาลพรรค ไทยรักไทยจึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อย

 

 

อย่างไรก็ตาม การกลับไทยของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 23  สะท้อนว่า ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี มา ความขัดแย้งด้านการเมืองไทย ความขัดแย้งของกลุ่มคนชั้นนำ ตกลงกันได้ หมายความว่า สถานการณ์การเมืองที่ไม่ปกติ กลับมาสู่สภาวะปกติ เพราะฉะนั้น กำลังพิสูจน์ว่า ความขัดแย้งของกลุ่มการเมือง ชนชั้นนำ ส่งผลกระทบกับการพัฒนาประเทศสูงมาก ในปัจจุบัน

 

 

แม้ว่า ทักษิณ กลับไทยเพื่อรับโทษ จะส่งผลสั่นคลอน กับระบบกระบวนการยุติธรรม ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องออกมาตอบคำถาม โดยเฉพาะหลักการไม่เลือกปฏิบัติ เช่นการบังคับใช้กฎหมาย การอยู่ในความควบคุมของกรมราชทัณฑ์ ทำให้กรณี คุณทักษิณ จะเกิดคำถามจากสังคมถึงการเลือกปฏิบัติ แม้ว่าจะอยู่ในสถานะ สร้างความสมานฉันท์ทางการเมือง แต่ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถให้ อภิสิทธิ์ สิทธิพิเศษ จนเกินเลย 

 

 

และในอนาคต หากมีคดีลักษณะเดียวกันเพิ่มขึ้น มันจะมีผลเรื่องของการเมืองด้วย เพราะอย่าลืมความ ความสมานฉันท์ทางด้านการเมือง เกิด เฉพาะ ชนชั้นนำ แต่กลุ่มนักโทษด้านการเมือง ในคดีอื่นๆ ที่ถูก ปฏิบัติที่แตกต่างกัน จึงเป็นโจทย์ใหญ่ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องตอบคำถาม

 

นักวิชาการ ชี้ นโยบาย ‘เงินดิจิทัล 10,000’ ทำ ‘เศรษฐา’ สุ่มเสี่ยงผิดกม.

 

โดย วสันต์ ปัญญาเรือน ศูนย์เหนือ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ