Lifestyle

"ขัวแตะคนยอง"บ้านป่าตาลศิลปะร่วมสมัยเพื่อชุมชน 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รายงาน...

 

          ปัจจุบันมุมมองที่มีต่องานศิลปะมีความหมายอย่างกว้างขวางไม่จำกัดอยู่ในผลงานด้าน จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ศิลปะการแสดง ดนตรี และวรรณศิลป์เท่านั้น หากแต่มีงานประยุกต์ศิลป์ที่สอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนมาช้านานอย่างมีคุณค่า ความสำคัญและได้รับการพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นอัตลักษณ์ในงานเทศกาลศิลปะต่างๆ ที่มีส่วนเชื่อมโยงและขับเคลื่อนกิจกรรมที่ส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในชุมชนให้แพร่หลายกลายเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในระดับสากล


   

"ขัวแตะคนยอง"บ้านป่าตาลศิลปะร่วมสมัยเพื่อชุมชน 

 

 

          วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สศร.เข้าไปสนับสนุนโครงการศิลปร่วมสมัยระดับชุมชนและพัฒนาองค์ความรู้ที่มีอยู่เพื่อเติมความคิดสร้างสรรค์ลงไป โดยระวังไม่ให้ทำลายคุณค่าเดิมของสิ่งที่มีอยู่ซึ่งจะช่วยให้เกิดความยั่งยืนต่อไป ดังเช่นโครงการประติมากรรมหุ่นฟางร่วมสมัย “ขัวแตะคนยอง” บ้านป่าตาล จ.เชียงใหม่ และโครงการเทศกาลศิลปะและวัฒนธรรมณ ศูนย์ศิลปะวิถี จ.ตรัง ซึ่งมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆ นี้ กำลังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เดินทางไปเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก
   

 

"ขัวแตะคนยอง"บ้านป่าตาลศิลปะร่วมสมัยเพื่อชุมชน 

 

          ล่าสุด สศร. ได้ดำเนินการโครงการเทศกาลศิลปะร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งเป็นการนำศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยมาเป็นทุนทางวัฒนธรรมในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงและนานาชาติโดยการส่งเสริมอัตลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกันของพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำโขง 4 จังหวัด ได้แก่ จ.นครพนม จ.หนองคาย จ.มุกดาหาร และ จ.บึงกาฬ โดยจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการและทักษะฝีมือด้านวิชาชีพต่างๆ เพื่อให้ศิลปินและเครือข่ายตลอดจนองค์กรชุมชนได้มีพื้นที่ในการจัดแสดงและจำหน่ายงานศิลปะ เพื่อนำรายกลับคืนสู่ท้องถิ่น เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นำศิลปะมาช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ความยั่งยืนจึงเกิดขึ้นท่ามกลางศิลปะที่ดำรงอยู่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ดีขึ้น
     

 

"ขัวแตะคนยอง"บ้านป่าตาลศิลปะร่วมสมัยเพื่อชุมชน 

 

          ลิปิกร มาแก้ว  หัวหน้าหลักสูตรทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการประติมากรรมหุ่นฟางร่วมสมัย ซึ่งจัดขึ้น ณ ขัวแตะชาวยอง ลานชุมชนนวัตวิถีบ้านป่าตาล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เกิดจากความต้องการของชุมชนโดยอ้างอิงจากตำนาน ประวัติศาสตร์เรื่องเล่าของชุมชน นำมาสร้างแบบร่างเป็นรูปแบบประติมากรรมผ่านการนำเสนอต่อชุมชนและพัฒนาจนเกิดเป็นงานประติมากรรมหุ่นฟาง 5 ชิ้น ขนาดความสูงประมาณ 4 เมตร เรียงรายเป็นแลนด์มาร์คดึงดูดชวนให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาสู่ชุมชน โดยวัสดุที่ใช้ได้มาจากงานเกษตรกรรมในท้องถิ่นเช่น ฟางข้าว ที่นำมาผสานกับโครงสร้างเหล็กเชื่อมเป็นรูปทรงต่างๆ สร้างพื้นผิวหุ้มโครงเหล็ก เป็นรูปช้าง พญานาค เป็นต้น
 

 

"ขัวแตะคนยอง"บ้านป่าตาลศิลปะร่วมสมัยเพื่อชุมชน 

 

          "นอกจากจะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทยอง ระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชน กลุ่มสล่า ศิลปิน ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคกระบวนการสร้างงานประติมากรรมหุ่นฟางร่วมสมัยสู่ชุมชนแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ยั่งยืนด้วยความรักความห่วงแหนท้องถิ่นและความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ ชาติพันธุ์ของตนเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน อาทิ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกระทรวงวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เฮินศิลป์ใจ๋ยอง พ่อครูสล่าเพชร วิริยะ บ้านจ๊างนักวัดป่าตาลบวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ รวมไปถึงผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการ สภาวัฒนธรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสันกำแพง
    

 

"ขัวแตะคนยอง"บ้านป่าตาลศิลปะร่วมสมัยเพื่อชุมชน 

 

          ตัวอย่างข้างต้น สศร. ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยการนำศิลปะร่วมสมัยผสมผสานมิติทางวัฒนธรรมมาใช้เสริมสร้างความเข้มแข็งในทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ