Lifestyle

ภาพใหม่การศึกษาไทยต้องตอบโจทย์งานยุคใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย...  หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ [email protected] -

 


 
          ภาคีเพื่อการศึกษาไทย (TEP : Thailand Education Partnership) เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันขององค์กรและเครือข่ายคนทำงานด้านการศึกษาที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของประเทศไทยที่มุ่งการพัฒนาศักยภาพคน โดยเชื่อว่าการศึกษาที่ดีเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนทุกคนในสังคม

 

 

          ปีนี้ขับเคลื่อนต่อเนื่อง “ภาพใหม่การศึกษาไทย” TEP Forum 2019 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ต้องมีการสร้างเป้าหมายร่วมกันให้คนในทุกภาคส่วนมาร่วมกันตั้งเป้าหมายและร่วมคิดกระบวนการเปลี่ยนแปลง  โดยมี ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ จะเป็นตัวแทนของ TEP ที่จะนำเสนอภาพใหม่ของการศึกษาไทยในมุมมองของเครือข่าย TEP ว่าทำไมต้องเปลี่ยน และเปลี่ยนอย่างไร และ TEP Group discussion จะแยกเป็น 7 ห้องเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับฟังและเสนอความคิดเห็นนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะเด็กไทย 

 

 

 

ภาพใหม่การศึกษาไทยต้องตอบโจทย์งานยุคใหม่

นรินทร์ จิตต์ปราณีชัย

 


          ไฮไลท์กันที่ ปฐมวัย ฐานรากภาพใหม่การศึกษาเริ่มที่การพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน พัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ “Whole school transform” ครู ปรับระบบการผลิตที่ไม่เน้นเรื่องเนื้อหา แต่เน้นที่สมรรถนะ (Competency) หลักสูตรการศึกษา เป็นหลักสูตรอิงสมรรถนะ (Competency base curriculum) การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ปรับวิธีการเรียนการสอนของอาชีวะ และมหาวิทยาลัยและการเรียนแบบใหม่ (BETCH) (หลักสูระยะสั้นเพื่อการทำงาน) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรียนรู้การสร้าง sandbox จากพื้นที่ที่ทำจริง
 

          ภาพใหม่การศึกษาไทย ระดมสมองเพื่อร่วมกันมองภาพใหม่ของระบบการศึกษาทั้งระบบ


          “อภิษฎา ทองสอาด” ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา สถาบันอาศรมศิลป์ กล่าวในฐานะหนึ่งในภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดงานครั้งนี้ ว่าการจัดงานครั้งนี้ มีการเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ที่อยากเห็นการเปลี่ยนการศึกษาได้มาเล่าแนวคิดและวิธีการทำงาน เพื่อให้คนรุ่นใหม่คนอื่นๆ ได้เรียนรู้ และเกิดแรงบันดาลใจในการลุกขึ้นมาทำ โดยครั้งนี้มี 13 องค์กรของคนรุ่นใหม่ ที่อาสาร่วมเปลี่ยนการศึกษาไทย แบบไหนที่ตอบโจทย์โลกการทำงานยุคใหม่ที่เชื่อว่าจะมีคำตอบให้น้องๆ นัักศึกษาที่กำลังเข้าสู่มหาวิทยาลัยหรือบัณฑิตที่กำลังมองหางานทำ 




          Talk “EdTech landscape in SEA and APAC: Challenges and Opportunities” กับ เรืองโรจน์ พูนผล (กระทิง) บริษัท สตอร์มเบรกเกอร์ เวนเจอร์ จำกัด ที่จะมาบอกว่า Edtech Ecosystem ไทยยังคงอยู่ในขั้นเริ่มตั้งไข่ จึงยังมีโอกาสอีกมาก เพราะตลาดการลงทุนใน Edtech มีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด 


          ส่วน นัททินี แซ่โฮ (ดอร่า) จาก EdAbler Head of Studio/ EdAbler จะมาทอล์ก “Technology กับการศึกษา การพัฒนาทั้งคุณภาพและความเท่าเทียม  เทคโนโลยีช่วยเรื่องความเท่าเทียมและคุณภาพของการศึกษาได้ยังไง และกำลังถูกใช้ยังไงเพื่อที่จะช่วยเรื่องการศึกษา ประเทศไทยมีการใช้ เทคโนโลยีมากน้อยขนาดไหน 
   

 

 

ภาพใหม่การศึกษาไทยต้องตอบโจทย์งานยุคใหม่

พริมา เพชราภิรัชต์

 

 

          เพราะ “ชีวิตคือการเดินทาง เราพร้อมที่จะใช้ชีวิตอย่างเต็มที่หรือยัง "ทอล์กกับ พริมา เพชราภิรัชต์ (พริม)  บริษัม เอ็ดไวซอรี่ จำกัด ที่จะมาไขปัญหาการว่างงานในเด็กจบใหม่ การที่ทักษะและองค์ความรู้ไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ภาวะเครียดและซึมเศร้าในวัยรุ่นไทย ซึ่งปัญหาต่างๆ ส่วนหนึ่งมาจากการที่เด็กไทยไม่รู้จักตนเอง ไม่มีการวางแผนชีวิตที่เหมาะสม
  

          ขณะที่ ร่มเกล้า ช้างน้อย (ครูกั๊ก) จาก insKru ครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ ร.ร.มัธยมวัดดุสิตาราม  จะมาทอล์ก “ภาระแห่งความสุข” โดยบอกเล่าวิธีการการเปลี่ยนภาระที่ครูเจอในโรงเรียนให้กลายเป็นความสุข พร้อมตัวอย่างเป็นแผนได้รับความช่วยเหลือจาก inskru จนสามารถทำให้เก็บข้อมูลปัญหาเผยแพร่จนมีคนนำไปใช้ได้จริง
 

          ส่วน นรุตม์ วสุนธรามาศ (ป๊อป) จาก Anacoach by Tact Co-founders Tact social consulting  จะมาทอล์ก  “ทำได้ หรือได้ทำ”


          การพัฒนาการศึกษาด้วยการสร้าง Grit และ Growth Mindset ในน้องๆ ระดับชั้นม.ปลาย ได้กล้าคิด กล้าทำ เพื่อนำไปสู่การที่ทำได้ดีที่สุดในเรื่องที่ตัวเองเชื่อ และนำความมั่นใจไปประยุกต์ใช้ในเรื่องการศึกษาในหลักสูตรได้ต่อไปรวมถึงแผนการและเป้าหมายในอนาคต
  

          และทอล์ก “เมื่อเราเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความสามารถ และเชื่อในพลังของการมีส่วนร่วมของทุกคนในสังคม” กับ สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร (ยีราฟ)  ผู้ก่อตั้ง Saturday School ที่เน้นการทำให้เด็กกล้าแสดงศักยภาพ 
    

 

 

ภาพใหม่การศึกษาไทยต้องตอบโจทย์งานยุคใหม่

อาจารย์อภิษฎา  ทองสอาด 

 

 

          ที่สำคัญ  “ทำยังไงเราถึงจะเจออาชีพที่ใช่ ชีวิตที่ชอบ" ที่  นรินทร์ จิตต์ปราณีชัย (วิน) ผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจเพื่อสังคม a-chieve (อ่านว่า “อาชีฟ”) จะมาทอล์กทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และ Journey การค้นพบตนเองและเป้าหมาย


          ส่วนการ “เตรียมความพร้อมเด็กไทยวันนี้ สำหรับวันพรุ่งนี้”  ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร จาก Starfish Education Foundation CEO, Starfish Education Foundation (USA)  จะมาอธิบายภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมีผลต่อการใช้ชีวิตส่วนตัว การทำงาน และการเรียน ข้อมูลและความรู้ใหม่เกิดขึ้นทุกๆ วินาที เด็ก 65% ที่เข้าชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในวันนี้ จะประกอบอาชีพที่ยังไม่เคยมีมาก่อน


          การ “เปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นพื้นที่ปล่อยของ by TED Club” กับ พิริยะ กุลกาญจนาชีวิน (พิ) จาก TEDxBangkok


          License holder : TEDxBangkok สรุปองค์ความรู้สำคัญของเวทีแรงบันดาลใจระดับโลกอย่าง TEDx ที่เรียกว่าศาสตร์ Curation หรือการฟัง-เฟ้น-ฟีดแบ็กและนำเสนอไอเดียอย่างสร้างสรรค์


          “โครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับระบบการศึกษาไทย”  โดย ธนิต แคล้วโยธา (เอ็ม) จาก Teach For Thailand ที่จะมาไขปัญหาการศึกษาของประเทศไทยในกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสเป็นรากลึกที่ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ โครงสร้างเศรษฐกิจสังคม ระบบการศึกษา และความเชื่อ ซึ่งหากต้องการแก้ไขให้สำเร็จต้องพัฒนาทั้ง 3 ปัจจัยไปด้วยกัน

 

 

 

ภาพใหม่การศึกษาไทยต้องตอบโจทย์งานยุคใหม่

 


          และที่ปฏิเสธไม่ได้คือ “เกม บนจุดตัดของการเรียนรู้” ที่  วรุตม์ นิมิตยนต์ (เทอร์โบ) และแดนไท สุขกำเนิด (แดนไท) จะมาเล่าเรื่องจุดตั้งต้นของที่มาของ Deschooling Game และการนำเกมไปสร้างพื้นที่เพื่อการพูดคุยถกเถียง แลกเปลี่ยน ที่มากไปกว่าแค่ห้องเรียน
 

          ที่สำคัญ “Changemaker Skills ทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21” ที่ ธุวรักษ์ ปัญญางาม (เกด) จาก School of Changemakers Partnership Director ที่จะมาบอกว่า 60% ของงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่มีอยู่ ณ วันนี้ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครู ต้องช่วยกันสร้างทักษะให้พวกเขาตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
   

           ปิดท้ายกันที่ พฤหัส พหลกุลบุตร (ก๋วย) “ก่อการครู :สร้างครูบันดาลใจจุดไฟการเรียนรู้” กับครูตัวเล็กๆ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในระบบการศึกษาใหญ่ๆ สร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5,000 คน จากครูทั้งหมด 500,000 คนทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 5 ปี (2) สร้างพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ คล้ายกับชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (professional learning community-PLC) ทำให้พื้นที่นี้มีชีวิตชีวา เพื่อให้ครูมาพบเจอ และเติมพลังซึ่งกันและกัน (3) ให้แนวทางการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นหนึ่งในทางเลือกแก่การศึกษาไทย 8-9 มิถุนายนนี้ ที่หอประชุมมหิศร ธ.ไทยพาณิชย์  

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ